สุจิตต์ วงษ์เทศ : ร.5 เสด็จบ้านเมืองอาณานิคมรอบสยาม เพื่อเรียนรู้การปฏิรูปประเทศสู่ความทันสมัย

รูปหมู่เมื่อคราวที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จอินเดีย เมื่อพ.ศ.2414 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ร.5 เสด็จต่างแดนรอบๆบ้านของสยามที่เป็นอาณานิคมของฮอลันดาและอังกฤษคือสิงคโปร์ (ชาว พม่า) และอินเดีย มีความสำคัญยิ่งยวด

และจะทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์การเมืองกรปกครองของไทยสมัยนั้น

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มีคำนำเสนอ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2546) ในหนังสือยุวกษัตริย์ รัชกาลที่ 5 เสด็จอินเดีย จะคัดสรุปมาดังนี้

รูปแบบของการปกครองของเจ้าอาณานิคม เป็นสิ่งที่ ร.5 รวมทั้งเจ้านายและขุนนางสยามให้ความสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่เห็นชัดใกล้ตัว มีผลกระทบต่อบ้านเมืองของสยามโดยตรง ก่อนที่ชนชั้นนำไทยจะเดินทางไปไกลถึงศูนย์กลางของมหาอำนาจใหม่ที่กรุงลอนดอน กรุงปารีส กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก หรือบางเมืองหลวงของประเทศในยุโรปในอีกสองสามทศวรรษต่อไปข้างหน้า

Advertisement
  1. การเสด็จต่างประเทศในสมัยต้นรัชกาล เมื่อยังเป็นยุวกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างการเสด็จเมืองขึ้นของอังกฤษคือ สิงคโปร์ (และชวาของฮอลันดา) พ.ศ. 2413 และการเสด็จอินเดีย (กับพม่า) ในปี พ.ศ. 2414 มีความสำคัญยิ่งยวดต่อการ “ปฏิรูป” และนโยบายของราชสำนักสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อๆมาในสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 (จนถึงก่อนการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475)
  2. การปฏิรูปดังกล่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้สยามได้กลายเป็น “รัฐราชวงศ์” หรือ dynastic state ที่มีการ “โยงอำนาจเข้าศูนย์กลางที่องค์พระมหากษัตริย์” กลายเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือ absolutism มากกว่าการเป็น “รัฐชาติ” หรือ “รัฐประชาชาติ” อันเป็นรูปแบบของรัฐสมัยใหม่นับแต่การปฏิวัติประชาธิปไตยของการปฏิวัติอเมริกัน 1776 (พ.ศ. 2319 ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี-ตากสิน) หรือการปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 (พ.ศ.2332 ตรงกับสมัย รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์)
  3. เริ่มกลุ่มสยามหนุ่ม ซึ่งประกอบด้วยเจ้านายและขุนนางรุ่นใหม่ ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปเข้าสู่ขบวนการทันสมัยอย่างรวดเร็ว เช่น จัดระบบเก็บภาษีอากร, จัดองค์กรใหม่ทางการเมืองการปกครอง, เลิกประเพณีล้าสมัย (เช่น เลิกทาส, เลิกหมอบคลาน) ฯลฯ
    ก่อนหน้านี้ หนังสือประวัติศาสตร์ หรือตำราเรียนที่เกี่ยวกับการเสด็จต่างประเทศของรัชกาลที่ 5 มักจะเน้นเรื่องของการเสด็จยุโรปทั้ง 2 ครั้ง คือ พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 44 พรรษา และ 54 พรรษา ตามลำดับ และโดยทั่วไปอีกเช่นกัน การศึกษาประวัติศาสตร์ว่าด้วยการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 มักจะเน้นให้ความสำคัญกับการที่ได้เสด็จไปเห็นแบบอย่างของ “นานาอารยประเทศ” ในยุโรป และทรงนำมาดัดแปลงใช้ในสยามประเทศ  แต่ชาญวิทย์เห็นว่าการเสด็จเยือนอาณานิคมของอังกฤษและฮอลันดารอบๆสยามประเทศ เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 18 และ 19 พรรษา ตามลำดับ และการที่ได้ทรงพบเห็นและเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งสองครั้งนั้น น่าจะมีผลต่อการดำเนินงานด้านการปฏิรูปประเทศอย่างมาก เท่าๆกับกรณีของยุโรปหรือมากกว่าด้วยซ้ำไป
ยุวกษัตริย์ รัชกาลที่ 5 เสด็จอินเดีย (INDIA IN 1872 : As Seen by the Siamese) ของสัจฉิทานันท สหาย แปลโดย กัณฐิกา ศรีอุดม ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : คำนำเสนอ สำนักพิมพ์ มติชน พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง 2559)
ยุวกษัตริย์ รัชกาลที่ 5 เสด็จอินเดีย (INDIA IN 1872 : As Seen by the Siamese) ของสัจฉิทานันท สหาย แปลโดย กัณฐิกา ศรีอุดม ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : คำนำเสนอ สำนักพิมพ์ มติชน พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง 2559)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image