เบื้องหลังของเพลง The Sound of Silence (เสียงแห่งความเงียบ)

เพลง The Sound of Silence เป็นเพลงประเภทเพลงพื้นบ้านที่ยอดเยี่ยม (folk song) ของวงดนตรี ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล เป็นบทเพลงที่ออกมาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2507 แต่ประสบความล้มเหลวถึงขนาด นายพอล ไซมอน และ นายอาร์ท การ์ฟังเกล นักดนตรีหลัก 2 คน ต้องแยกวงกันต่างคนต่างไปเลยทีเดียว แต่อีก 1 ปีต่อมา นายทอม วิลสัน โปรดิวเซอร์ที่ดูแลผลงานของศิลปินทั้ง 2 นั่นเองเห็นว่าบทเพลงโฟล์กร็อกที่ผสานดนตรีในแบบเสียงธรรมชาติ (Acoustic) รวมกันเข้ากับดนตรีแบบใช้เสียงจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) ที่กำลังโด่งดังเป็นกระแส นายทอม วิลสัน จึงนำเพลง The Sound of Silence กลับมาผสมผสานดนตรีไฟฟ้าเข้าด้วยกันแล้วนำมาสู่ตลาดนักเพลงอีกครั้งทำให้บทเพลงที่เงียบงันกลับดังกระหึ่มอีกครั้ง
ไต่อันดับขึ้นติดอันดับ 1 Billboard Chart ต้อนรับวันปีใหม่ พ.ศ.2510 ทำให้ทั้งพอล ไซมอนและ
การ์ฟังเกลหวนคืนกลับมาร่วมวงกันอีกครั้งหนึ่ง

นายไมค์ นิโคลส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ประทับใจในเพลง The Sound of Silence มากจึงนำไปประกอบภาพเรื่อง The Graduate ที่บรรยายเรื่องของเด็กหนุ่มผู้ยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตที่ถูกสังคมของผู้ใหญ่กดทับจนต้องระเบิดออกมาซึ่งกลายเป็นภาพยนตร์แห่งยุคบริโภคนิยม-ฮิปปี้ของสหรัฐอเมริกาจนได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และเป็นกระบอกเสียงของหนุ่มสาวที่โหยหาอิสรภาพและต้องการปลดแอกจากพันธนาการที่สังคมยุคเก่าเข้าครอบงำ และ The Sound of Silence ก็ประกอบอย่างลงตัวในซีนสุดท้ายของภาพยนตร์ที่เผยให้เห็นความเงียบงันในตอนจบของชะตากรรมพระเอกนางเอกบนทางที่ทอดยาวที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะลงเอยอย่างไรได้อย่างยอดเยี่ยมและเป็นที่จดจำตราบนานเท่านาน (ผู้เขียนได้ชมภาพยนตร์เรื่อง The Graduate มาแล้ว 55 ปี ยังจำได้ดี)

เพลง The Sound of Silence เริ่มต้นว่า

“สวัสดีความมืดมิด เพื่อนเก่าของฉัน และแล้วฉันก็กลับมาหาเธออีก เพราะว่าในความฝันขณะที่นอนหลับอยู่ทำให้ฉันเกิดมีวิสัยทัศน์ (เป้าหมายในชีวิต) ในเสียงแห่งความเงียบ” Hello darkness, my old friend I’ve come to talk with you again Because a vision softly creeping Left its seeds while I was sleeping And the vision that was planted in my brain Still remains Within the sound of silence.

Advertisement

ในส่วนที่ 2 เริ่มด้วยการเล่าความฝันว่า

ฉันเดินอยู่ตามลำพังในความฝันอันว้าวุ่นบนถนนแคบๆ ที่ปูด้วยก้อนหินกลมๆ ภายใต้แสงไฟฟ้าจากโคมไฟถนน ฉันต้องยกปกเสื้อกระชับกับคอเพราะมันหนาวและชื้น เมื่อแสงไฟนีออนแวบเข้าตาอย่างจังเหมือนสายฟ้าแลบและสัมผัสแห่งความเงียบงัน ในแสงสว่างจ้าที่ฉันเห็นคนนับหมื่นหรือมากกว่านั้นพวกเขาพูดคุยกันโดยปราศจากเสียง พวกเขาได้ยินโดยไม่ต้องฟัง พวกเขาสร้างสรรค์บทเพลงโดยไม่ต้องขับร้องและไม่มีใครกล้ารบกวนเสียงแห่งความเงียบ

“คนโง่ทั้งหลายเอ๋ย” ฉันพูดขึ้น พวกเธอไม่รู้หรือว่า …ความเงียบนั้นแผ่กว้างคืบคลานเหมือนมะเร็งร้าย ฟังคำพูดฉันอาจจะสอนพวกเธอได้ จงจับแขนฉันไว้ ฉันจะได้เข้าถึงพวกเธอได้ แต่ถ้อยคำของฉันเหมือนดั่งหยาดฝนที่ตกลงมาโดยปราศจากเสียงแล้วสะท้อนก้องอยู่ในบ่อน้ำแห่งความเงียบ

Advertisement

ผู้คนโค้งคำนับและสวดอ้อนวอนอยู่กับพระเจ้าที่ประดับแสงไฟนีออนที่พวกเขาสร้างขึ้นและป้ายสัญญาณแสงไฟที่มีข้อความเตือนว่า “คำสั่งของศาสดาพยากรณ์ถูกเขียนไว้บนกำแพงของรถไฟใต้ดินและตามตึกแถว กระซิบผ่านมายังโลกแห่งความเงียบ” In restless dreams I walked alone Narrow streets of cobblestone ‘Neath the halo of a street lamp I turned my collar to the cold and damp When my eyes were stabbed by the flash of a neon light That split the night And touched the sound of silence And in the naked light I saw Ten thousand people, maybe more People talking without speaking People hearing without listening People writing songs that voices never shared And no one dared Disturb the sound of silence “Fools” said I, “You do not know Silence like a cancer grows Hear my words that I might teach you Take my arms that I might reach you” But my words like silent raindrops fell And echoed in the wells of silence And the people bowed and prayed To the neon god they made And the sign flashed out its warning In the words that it was forming And the sign said, “The words of the prophets Are written on the subway walls And tenement halls And whispered in the sounds of silence”

ครับ ! สำหรับท่อนแรกของเพลงแห่งความเงียบนี้มีเบื้องหลังที่น่าประทับใจในความเป็นเพื่อนน้ำมิตรระหว่างนายแซนฟอร์ด กรีนเบอร์ก นักวิสาหกิจเงินล้านผู้ตาบอดสนิทกับอาร์ท การ์ฟังเกล นักร้องเสียงเทเนอร์ชื่อก้องโลกที่เริ่มจากชีวิตนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่คนทั้งสองปลูกฝังมิตรภาพอันยืนยาวกว่า 60 ปีมาจนปัจจุบัน โดยเริ่มจากที่แซนฟอร์ดเป็นต้อหินและตาบอดสนิทในปีสุดท้ายของการเรียนระดับปริญญาตรี แต่การ์ฟังเกลเข้าช่วยเหลือทุกอย่างโดยทำหน้าที่เป็นตาให้แซนฟอร์ดตั้งแต่การเดินไปมาในมหาวิทยาลัย การอ่านตำราให้ฟังทุกวันแบบว่าอยู่เคียงข้างแซนฟอร์ดตลอด 24 ชั่วโมงก็ว่าได้ จนวันหนึ่งการ์ฟังเกลพาแซนฟอร์ดไปที่สถานีรถไฟกลางของกรุงนิวยอร์กที่แสนจะพลุกพล่านแล้วก็หายตัวไปทำให้แซนฟอร์ดต้องมะงุมมะงาหราหาทางขึ้นรถไฟกลับไปมหาวิทยาลัยโคลัมเบียจนสำเร็จหลังจากล้มลุกคลุกคลานแข้งขาถลอกปอกเปิกเมื่อขึ้นขบวนรถไฟได้แล้วการ์ฟังเกลผู้ตามติดมาโดยตลอดก็เข้ามาจับแขนแล้วพูดว่า “สวัสดีความมืดมิด เพื่อนเก่าของฉัน”

การ์ฟังเกลทักทายแซนฟอร์ดเสมอว่า “สวัสดีความมืดมิด เพื่อนเก่าของฉัน” และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา แซนฟอร์ดก็มีความมั่นใจในตัวเองสามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง ถึงขนาดไปเรียนต่อที่อังกฤษจนจบปริญญาเอกและแต่งงานกับหญิงคนรักได้โดยไม่ใช้ไม้เท้าหรือสุนัขในการนำทางเลย

เมื่อการ์ฟังเกลโทรศัพท์ไปขอยืมเงินแซนฟอร์ด 400 ดอลลาร์ เพื่อเอามาสมทบในการอัดแผ่นเสียงกับพอล ไซมอน ครั้งแรกที่ล้มเหลวไปนั้น ตอนนั้นแซนฟอร์ดกับภรรยามีเงินเก็บอยู่ในธนาคารเพียง 406 ดอลลาร์เท่านั้น แต่เขาไม่รีรอและลังเลอะไรเลยในการโอนเงินให้การ์ฟังเกลทันที และหลังจากแซนฟอร์ดได้ทำธุรกิจจนกลายเป็นเศรษฐีตั้งมูลนิธิช่วยคนตาบอดนานาประการชื่อ “The Seva Foundation” โดยเฉพาะการใช้เลเซอร์ในการรักษาต้อกระจกให้คนกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก ส่วนการ์ฟังเกลก็รับเป็นพ่อทูนหัว (godfather) ให้กับลูกของแซนฟอร์ดทั้ง 3 คน

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image