บทเรียน เมียนมา ศึกษา กรณี ‘รัฐยะไข่’ จาก รัฐธรรมนูญ

ความตายของ “โรฮีนจา” ในรัฐยะไข่ สหภาพเมียนมา ที่ปรากฏเป็นข่าวต่อเนื่องตลอด 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สร้าความสะเทือนใจเป็นอย่างสูง

ไม่เพียงเพราะ โคฟี อันนัน ออกมา “โวยวาย”

โวยวายเพราะแม้จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ประธาน” ในการปรองดองและสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ แต่ไม่ได้รับ“ความร่วมมือ” เลย

ทั้งๆ ที่การแต่งตั้ง โคฟี อันนัน เป็นไปตามแนวทางของ ออง ซาน ซูจี ในฐานะ “มุขมนตรี” ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า “ประธานาธิบดี”

Advertisement

แต่ก็แทบไม่ได้รับ “ความร่วมมือ” เลย

ไม่ว่าจะมอง ออง ซาน ซูจี ผ่านตำแหน่ง “มุขมนตรี” ไม่ว่าจะมอง ออง ซาน ซูจี ผ่านตำแหน่ง “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ”

ทุกอย่างล้วนไม่มี “ความหมาย”

Advertisement

เหมือนกับการดำรงอยู่ของ “มุขมนตรี”

เหมือนกับการดำรงอยู่ของ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ” เป็นการดำรงอยู่บนฐานแห่ง “ความว่างเปล่า”

“คำสั่ง” ที่ประกาศออกมาเหมือนกับ “สั่ง” บางอย่างจากจมูก

15128728_1361445317222714_217537179_n

สถานการณ์อันเกิดขึ้นที่รัฐยะไข่สะท้อนให้เห็นสภาพ “เอบี-แอบนอร์มัล” อันดำรงอยู่ภายในสหภาพเมียนมาอย่างเด่นชัด

เด่นชัดของ “รัฐบาล” ที่มาจาก “การเลือกตั้ง”

แม้ประชาชนจะเทคะแนนเสียงให้ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นเกือบร้อยละ 90 กระทั่งสามารถจัดตั้งและประกอบส่วนเป็น“รัฐบาล” ได้

แต่เป็นรัฐบาลซึ่งไม่สามารถ “ปกครอง”

ที่เป็นเช่นนี้ 1 เพราะกฎกติกาอันบัญญัติไว้ใน “รัฐธรรมนูญ” ที่เป็นเช่นนี้ 1 เพราะอำนาจอย่างแท้จริงยังอยู่ในกำมือของกองทัพ ของทหาร

เป็นกฎกติกาในห้วงแห่งการ “เปลี่ยนผ่าน” ทางการเมือง

ไม่เพียงแต่กระทรวงสำคัญๆ อย่าง กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงชนชาติส่วนน้อย ยังเป็นอำนาจในการแต่งตั้งของกองทัพ

หากแต่ภายใน “กองทัพ” รัฐบาลก็มิอาจเข้าไปแตะต้องได้

การบริหารจัดการอันเกิดขึ้นภายในรัฐยะไข่จึงอยู่นอกเหนือการบริหารจัดการโดยรัฐบาล เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของกองทัพ ของทหาร “รัฐบาล” ก็ได้แต่มาแลดูกันมะลันดูแก

อำนาจ “รัฐ” อย่างแท้จริงยังเป็นของ”กองทัพ” ยังเป็นของทหาร

เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นอย่างนี้ ต่อให้พรรคของออง ซาน ซูจี ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงเกือบร้อยละ 100 ก็แทบไม่มีความหมาย

เพราะร้อยละ 25 ยังมาจาก “การแต่งตั้ง”

เพราะ “สภากลาโหม” ยังอยู่ในความยึดครองของ “กองทัพ” คนจากรัฐบาลที่จะสอดแทรกเข้าไปก็เป็นเพียง “เสียงส่วนน้อย” ดำรงอยู่เหมือนกับ “ใบเฟิร์น” ประดับ “แจกัน”

เมื่อบทบัญญัติของ “รัฐธรรมนูญ” เป็นเช่นนี้จึงเท่ากับเสียงอันมาจาก “ประชาชน” ไม่มีความหมายในทางเป็นจริง

อำนาจ “อธิปไตย” มิได้เป็นของ “ปวงชน”

หากว่าอำนาจ “อธิปไตย” เป็นของ “ปวงชน” อย่างแท้จริง อำนาจอันมาจากการออกเสียงลงคะแนนย่อมเป็นของ “ปวงชน”

มิใช่ “กองทัพ” มิใช่ “ทหาร”

เมื่อเกิดสถานการณ์สังหารชาวโรฮีนจาขึ้นที่รัฐยะไข่ รัฐบาลที่มาจาก “การเลือกตั้ง” ก็ได้แต่มองตาปริบ-ปริบ

ไม่มี “บทบาท” ไม่มี “ความหมาย”

กระบวนการทางการเมืองจึงมิได้สักแต่ว่ามี “รัฐธรรมนูญ” หากปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือ “บทบัญญัติ” ของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร

ให้อำนาจ “อธิปไตย” เป็นของ “ปวงชน” หรือว่าเสมอเป็นเพียงการเขียนด้วยถ้อยคำอันหะรูหะรา แต่ “โครงสร้าง” ของระบอบมิได้ให้อำนาจแก่ “ปวงชน” อย่างเป็นจริง เหมือนที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ใน “เมียนมา”

ผลก็คือ ชาว “โรฮีนจา” แห่งรัฐยะไข่ถูก “สังหารหมู่” ด้วยความเหี้ยมโหด โดยฝีมือของกองทัพ โดยฝีมือของทหาร

อำนาจ “อธิปไตย” จึงเป็นของ “กองทัพ” มิใช่ประชาชน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image