สุจิตต์ วงษ์เทศ : ข้าวขวัญ ในนาตาแฮก แรกนาขวัญ 2,500 ปีมาแล้ว

ชาวนาอีสานกำลังทำขวัญปักกกแฮก (ดำกล้ากำแรก) ในนาตาแฮก (ภาพก่อน พ.ศ. 2547)

นาตาแฮก เป็นคำของคนลุ่มน้ำโขง หมายถึงทำนาจำลองเลียนแบบธรรมชาติย่อส่วน มีน้ำท่าสมบูรณ์ ปักดำกอข้าวขวัญแข็งแรง เพื่อให้นาจริง (ที่จะทำต่อไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้า) ได้ผลมั่งคั่งเหมือนนาจำลอง (ตรงกับแรกนาขวัญของคนลุ่มเจ้าพระยา)

ข้าวในนาตาแฮกเป็นข้าวขวัญ หรือข้าวมงคลของชาวนายุคนั้น

[นา คือ พื้นที่ปลูกข้าว, ตา คือ ช่องหรือตารางที่กำหนด, แฮก คือ แรก หรือลำดับที่หนึ่ง]

29 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน จัดงาน มหัศจรรย์พันธุ์ข้าวมงคล พืชผลของพ่อ

Advertisement

24-27 พฤศจิกายน 2559 เอ็มซีซีฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ

(ซ้าย) ชาวนาแรกนาขวัญก่อนทำนาจริง บ้านโพธิ์สามต้น อ. บางปะหัน จ. พระนครศรีอยุธยา (ถ่ายราว พ.ศ. 2547)
ชาวนาแรกนาขวัญก่อนทำนาจริง บ้านโพธิ์สามต้น อ. บางปะหัน จ. พระนครศรีอยุธยา (ถ่ายราว พ.ศ. 2547)

 

นาตาแฮก

Advertisement

นาตาแฮก เป็นต้นเค้ารากเหง้าของแรกนาขวัญในปัจจุบัน จิตร ภูมิศักดิ์ อธิบาย ดังต่อไปนี้

ความเชื่อถือแบบดั้งเดิมเก่าแก่ที่เชื่อว่าถ้าเราจำลองเลียนแบบธรรมชาติขึ้นแล้ว ก็จะบันดาลหรือบังคับให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริงดังใจปรารถนา.

ชาวนาแต่ก่อนเมื่อจะลงมือดำนา จะต้องสร้างนาจำลองขนาดสักหนึ่งตารางเมตรขึ้นก่อน แล้วดำกล้าลงในนานั้นห้าหกกอ นาจำลองนั้นเรียกว่า ตาแรก หรือ ตาแฮก (ตา = ตาราง; แรก คือ แรกเริ่มดำ), ถ้าบำรุงข้าวในตาแรกนั้นได้งาม ข้าวในนาทั้งหมดก็จะงามตามไปด้วย.

นี่คือตัวอย่างหนึ่งของความเชื่อถือดั้งเดิม ที่เชื่อว่ามนุษย์สามารถบังคับธรรมชาติได้ด้วยการจำลองแบบธรรมชาติย่อส่วนลงมาทำด้วยมือของมนุษย์เองก่อน.

ยังมีพิธีกรรมอีกหลายอย่างในชีวิตของชาวนาไทย-ลาว ที่ใช้วิธีจำลองแบบธรรมชาติ เพื่อบังคับให้ธรรมชาติเป็นไปตามแบบที่จำลอง ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี้เป็นการบงการ (command) มิใช่ วิงวอน (implore).

 [จากหนังสือ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยศรีอยุธยา ของ จิตร ภูมิศักดิ์ สำนักพิมพ์ไม้งาม พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2526 หน้า 350]

ข้าวขวัญกกแฮกในนาตาแฮก ราว 2,500 ปีมาแล้ว มีไอ้ทุยเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และมีมือเจ้าแม่ประทับทำแนวโค้งอยู่ข้างบน-ข้างล่าง พร้อมด้วยลายขีดข่วนมีความหมายสู่ขวัญต่างๆ (ลายเส้นของกรมศิลปากรคัดลอกจากภาพเขียนสี ที่ผาหมอนน้อย อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี)
ข้าวขวัญกกแฮกในนาตาแฮก ราว 2,500 ปีมาแล้ว มีไอ้ทุยเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และมีมือเจ้าแม่ประทับทำแนวโค้งอยู่ข้างบน-ข้างล่าง พร้อมด้วยลายขีดข่วนมีความหมายสู่ขวัญต่างๆ (ลายเส้นของกรมศิลปากรคัดลอกจากภาพเขียนสี ที่ผาหมอนน้อย อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี)

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image