พรมแดน ความรู้ พรมแดน “จินตนาการ” เหลื่อมซ้อน มโน

ทั้งๆ ที่เป็น “นักวิทยาศาสตร์” แห่ง “นักวิทยาศาสตร์” แต่ยอดคำเท่ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ได้รับการอ้างถึงอยู่เนืองๆ คือ

“จินตนาการ” สำคัญกว่า “ความรู้”

เป็นไปได้ยังไงที่ “นักวิทยาศาสตร์” ซึ่งอยู่ในพรมแดนแห่ง “ศาสตร์” และน่าจะตระหนักในบทบาทและความสำคัญของ “วิทยาการ” แหละ “ความรู้” ว่าเป็นรากฐานอันยิ่งใหญ่

กลับไปให้น้ำหนักกับ “จินตนาการ” มากกว่า

Advertisement

อาจเพราะว่า บทสรุปในเรื่อง “ทฤษฎีสัมพันทภาพทั่วไป” ของไอน์สไตน์ จำเป็นต้องอาศัย “จินตนาการ” อย่างยิ่งยวด

จึงจะบังเกิดความ “กระจ่าง” สว่างแก่ “ใจ”

เช่นนี้เอง นักรัฐศาสตร์บางท่านจึงถอดความหมายของคำว่า “เอ็นไลเทนเมนต์” ของฝรั่งออกมาเป็น “สว่าง”

Advertisement

แทนที่จะใช้คำว่า “รู้แจ้ง” หรือ “ซาโตริ”

ในภาษาเซน

ตรงนี้เองที่คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยชอบคำว่า “ตาสว่าง” ในระนาบเดียวกันกับคำว่า “เอ็นไลเทนเมนต์”

กระนั้น “จินตนาการ” ก็น่าเป็นห่วงหากถลำไปในส่วนของ “มโน”

คําว่า “จินตนาการ” และ “มโน” มีรากฐานมาจากจุดเดียวกัน นั่นก็คือ จุดแห่ง “ใจ” จุดแห่งการคิด จุดแห่งความรู้สึก

หาก “จินตนาการ” มากไปก็กลายเป็นฟุ้งๆ เฟื่องๆ

อาการฟุ้งๆ เฟื่องๆ นั่นแหละ ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับภาษาของคนรุ่นใหม่ที่ใช้ “มโน” มาเป็นตัวแทนแห่งความหมาย

“จินตนาการ” อิงอยู่กับ “ความจริง”

เป็นความจริงที่ดำรงอยู่อย่างเป็น “อายตนะภายนอก” เมื่อผ่าน “อายตนะภายใน” เข้าไป หากดำเนินไปอย่างสร้าง

สรรค์มักใช้คำอธิบายว่า “จินตนาการ”

แต่หากฟุ้งๆ เฟื่องๆ ต่อหัวต่อหางอย่างเกินจริงก็เหมาะกับคำว่า “มโน”

“มโน” จึงมีรากฐานมาจาก “จินตนา

การ” มาจาก “ความฝัน” แต่ดำเนินไปอย่างฟุ้งๆ เฟื่องๆ อย่างมีเรียกว่า “เซอ-เรียล”

ถามว่า “ฉันเอาฟ้าห่มให้ หายหนาว” เป็น “จินตนาการ” หรือ “มโน”

ถามว่า “เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม” เป็น “จินตนาการ” หรือ “มโน” เห็นหรือยังว่าระหว่าง “จินตนาการ” กับ “มโน” เหลื่อมซ้อนกันอย่างยิ่ง

ที่แท้แล้ว “นักวิทยาศาสตร์” ก็ต้องอาศัย “จินตนาการ”

หากไม่มากด้วย “จินตนาการ” ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่ ทอมัส อัลวา เอดิสัน จะสามารถประดิษฐ์สร้างหลอดไฟออกมาได้

แรกที่ “คิด” ก็ไม่แน่ว่าจะถูกหาว่า “มโน” หรือไม่

คนอย่าง เจมส์ วัตต์ คนอย่าง ไอแซ็ค

นิวตัน คนอย่าง 2 พี่น้องแห่งตระกูลไรท์ ล้วนถูกสังคมมองว่าเป็น “คนบ้า”

มาแล้ว

แต่เขาก็คิด “เครื่องจักรไอน้ำ”

แต่เขาก็คิดทฤษฎี “แรงโน้มถ่วง” ขึ้นมาเพื่อเข้าใจโลก เข้าใจดวงดาว และเขาก็คิด “เครื่องบิน” ให้เหินไปในพาหิรากาศ

ได้

สิ่งที่ เอช.จี.เวลล์ เขียนเป็นเรื่องของ “จินตนาการ” อันเหลื่อมซ้อนกับ

“มโน”

แต่ในที่สุดก็นำไปสู่ “เรือดำน้ำ” แต่ในที่สุดก็เป็นพลังกระตุ้นเร้าให้สนใจการเดินทางไปในอวกาศ

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องของ “จินตนา

การ” อันมีฐานจาก “ความรู้”

ทั้งหมดนี้คือ ความพยายามแยกจำแนกจุดต่างระหว่าง “มโน” กับ “จินตนาการ” ให้แยกห่างจากกัน

“จินตนาการ” มีส่วนกระตุ้น “ความฝัน” และมีส่วนผลักดันให้ “ความรู้” เกิดพัฒนาการ

เติบใหญ่

แต่เมื่อใดที่ “จินตนาการ” มิได้ดำรงอยู่กับสภาพ “ความเป็นจริง” ก็จะถลำลงไปในพรมแดนแห่ง “มโน” กระทั่ง “ความฝัน” กลายเป็น “ความเพ้อฝัน”

การจัดความสัมพันธ์ระหว่าง “จินตนา

การ” กับ “ความเป็นจริง” จึงสำคัญ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image