พระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

รู้รักสามัคคีŽ คือ พระราชดำรัสŽ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงตรัสตลอดระยะที่ผ่านมาหลายปี นับจากเกิดความขัดแย้ง เกิดวิกฤตของบ้านเมือง ท่านทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทย ประชาชน และประเทศชาติ เพื่อให้ดำรงอยู่ ซึ่งประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง นับว่ามีคุณค่ายิ่ง นับเป็นระยะเวลาแห่งภูมิปัญญา รวมถึงพระราชดำรัสในวาระด้านต่างๆ ซึ่งเราได้นำมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตและการทำงาน


การร่วมมือกันŽ : (collaboration) … ชาติบ้านเมือง คือชีวิต เลือดเนื้อ และสมบัติของทุกคน และการดำรงรักษาชาติประเทศนั้น มิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใด หมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆ ฝ่าย ทุกๆ คนที่จะต้องร่วมมือกระทำพร้อมกันไป โดยสอดคล้องเกื้อกูลกันŽ

การแก้ปัญหาŽ : Problem solving : ในการปฏิบัติงานนั้น ย่อมมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นต้องแก้ไข อย่าทิ้งไว้พอกพูนลุกลามแก้ยาก ขอให้ทุกคนระลึกว่า ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ได้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ ก็ช่วยกันแก้หลายๆ คน หลายๆ ทาง ด้วยความร่วมมือ ปรองดองกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น จักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางและบั่นทอนทำลายความเจริญ และความสำเร็จของการงานŽ : 13 กรกฎาคม 2533
ชนะความท้อแท้ : Avoid Discouragement : การดำรงชีวิตที่ดี จะต้องปรับปรุงตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียร ความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทน ก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆŽ : 27 มิถุนายน 2523

การปรับปรุงตนเอง : Self Improvement : ความรู้ในวิชาการ เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ฟันฝ่าอุปสรรคได้ และทำให้เป็นคนที่มีเกียรติ เป็นคนที่มีความสามารถ เป็นคนที่มีความพอใจในตัวเองว่าทำประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม นอกจากวิชาความรู้ ก็จะต้องฝึกฝนในสิ่งที่ตัวต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสังคม สอดคล้องกับสมัย และสอดคล้องกับศีลธรรมที่ดีงาม ถ้าได้ทั้งวิชาการ ทั้งความรู้รอบตัว และความรู้ในชีวิต ก็จะทำให้เป็นคนที่ครบคน ที่จะภูมิใจได้Ž : 25 มีนาคม 2515
คิดก่อนที่จะพูด : Think Before Speaking : ความคิดนั้นเป็นแม่บทใหญ่ของการพูด และการ

Advertisement

กระทำเพราะคิดที่จะทำ คำที่จะพูด ทุกอย่างล้วนสำเร็จมาจากความคิด การคิดก่อนพูดและก่อนทำจึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้องŽ : 10 กรกฎาคม 2540
ความพอเพียง : sufficiency : ถ้าคนเราพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุขŽ : 4 ธันวาคม 2541

นับแต่ พ่อฟ้าหลวงŽ ท่านทรงครองราชย์มาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานหลายโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเกิดขึ้นมากมาย เพื่อพลิกผืนดินช่วยเหลือชาวไทยให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนในถิ่นทุรกันดารห่างไกล ด้วยเส้นทางที่สะดวกสบายชวนนึกย้อนไปว่า เส้นทางยุคบุกเบิกจะลำบากกว่านี้มากสักแค่ไหน ข้ามแม่น้ำ ลำธาร หุบเขาไกลแสนไกล บางคราวเส้นทางรถยนต์ไม่สามารถจะเข้าไปได้ ด้วยความมุ่งมั่น วิริยะ อุตสาหะ อดทน เพื่อคนยากไร้ ที่ไม่มีโอกาสสัมผัสความเจริญ

ดังเช่นคนไทยในเมือง ท้องถิ่นอุดมสมบูรณ์ ทำให้นึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านมากยิ่งขึ้นไปอีกทวีคูณ

ด้วยพระราชปณิธาน ที่มุ่งมั่น การพัฒนาด้วยหลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาŽ พระองค์ท่านพระราชทานแนวทาง ประชาชนต้อง พึ่งพาตนเองได้Ž ดังกรณี ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางŽ ก่อตั้งเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมายัง บ้านขุนวางŽ ในปี 2525 แล้วทรงเห็นควรให้มีการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อเป็นสถานที่ทดลองขยายพันธุ์พืชบนพื้นที่สูง ภูเขา ทรงมุ่งมั่นถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการปลูกพันธุ์พืชใน โรงเรือนเพื่อลดพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเป็นการช่วยอนุรักษ์ป่า รักษาแหล่งต้นน้ำไปในคราวเดียวกัน ทั้งยังทรงส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนการ ปลูกฝิ่นŽ เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร… ชาวเขาŽ พึ่งตนเองได้อย่างถาวร ทุกอย่างการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น กระบวนการเริ่มจากการ เรียนรู้ พึ่งพาตนเองŽ… เริ่มจากการชมแปลงปลูกพืชชาเบอร์ 12 พันธุ์หยวนจืออู่หลง ขั้นตอนการผลิตชาที่โรงผลิตชาใน หมู่บ้านขุนวางŽ พร้อมชิมชาร้อนๆ ให้อิ่มท้องรับอากาศเย็นบริสุทธิ์

1) ได้ชมโรงเรียนปลูกขยายพันธุ์ไม้ดอกอย่างเบญจมาศ คาร์เนชั่น ลิลลี่ และเฟิร์นที่แข่งกันอวดสี ปัจจุบันได้ส่งเสริมให้มีการผลิตไม้กระถางเพิ่มขึ้นอีกด้วย อีกทั้งได้ 2) ได้ชมที่แปลงไม้ผลเมืองหนาว มีการปลูกเคพกูสเบอร์รี่ที่มีวิตามินสูง สตรอเบอรี่พันธุ์ 80 ลูกเล็กแต่มีความหวานหอม ชื่นใจ ชนะเลิศ ผลไม้เหล่านี้สามารถจำหน่ายได้ราคา และกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก 3) ได้ชมการเรียนรู้การเพาะปลูกพืชผักเมืองหนาว อย่างกะหล่ำดอก ฟักทองญี่ปุ่น โรงเรือนเห็ดหอมปิญอง เป็นเห็ดเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน การปลูกและผลิตวานิลลา โครงการนำกลิ่นจากการสกัดผักแห้งใช้แต่งกลิ่นอาหารหรือน้ำหอม สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างมั่นคงอีกทางหนึ่ง

ศูนย์การค้าโอท็อปวิถีชาวบ้าน มีการทำเกษตร ฝีมือของชาวเขาเผ่าม้งขุนวาง ด้วยการทำกระเป๋าผ้าปักสีสวยใบโตใส่ของจุ ทนทาน ราคาประหยัด นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์เรียบง่ายจาก วัฒนธรรมŽ ความเป็นอยู่ของ ชาวปกาเกอะญอŽ บ้านโป่งน้อย มีที่พักที่เรียกกันว่า โฮมสเตย์Ž ในวิถีพอเพียง บริการผู้มาเยี่ยมเยือนพื้นที่ชาวเขา หากมีการเดินทางทางเท้าจะสัมผัสธรรมชาติ ศึกษาสมุนไพร ดอกพญาเสือโคร่ง จะบานเต็มที่ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์นี้ กล่าวกันว่าไม่ว่าแห่งหนตำบลใดในประเทศไทยของเรานี้ ไม่มีที่ไหนไม่มีรอยพระบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์ทรงออกเยี่ยมราษฎรถึงทุกถิ่นทุรกันดารเพื่อที่จะทรงรับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงในทุกพื้นที่

ด้วยพระอัจฉริยภาพในด้านการวางแผนและการพัฒนาโครงการพระราชดำริจึงเกิดขึ้นทุกหัวระแหงทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้…ประชาชนชาวไทยŽ มีที่ทำกินและมีอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

โครงการพระราชดำริ สามารถแบ่งออกเป็นประเภท คือ
โครงการหลวง : เป็นโครงการที่เน้นการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเน้นที่การให้ชาวบ้านเลิกตัดต้นไม้ ทำลายป่า ปลูกฝิ่น หรือค้าของเถื่อน แล้วหันมาปลูกพืชหมุนเวียน ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค

โครงการตามพระราชประสงค์ : เกิดมาจากโครงการศึกษาทดลองและปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เป็นผู้ถวายคำแนะนำ สำหรับโครงการเหล่านี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มักใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดำเนินการทดลอง เมื่อทรงแน่พระราชหฤทัยว่าโครงการนั้นเป็นประโยชน์แก่ประชาชน จึงโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลมารับงานไปดำเนินการด้วย

โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ : เป็นโครงการที่ดำเนินงานโดยองค์กรเอกชน ตามที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานข้อเสนอแนะและแนวทางพระราชดำริ

โครงการตามพระราชดำริ : เป็นโครงการหรือแผนงานที่ทรงวางแผนพัฒนาร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาล
ท่องเที่ยวโครงการพระราชดำริ : นอกจากจะมีส่วนช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้กับคนท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร การพัฒนา รวมถึงประเพณีท้องถิ่นแล้ว โครงการพระราชดำริหลายโครงการยังมีภูมิทัศน์งดงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวเยี่ยมชมด้วย ซึ่งมีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย อาทิ

ภาคเหนือ : สถานที่เกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ที่เคยเป็นไร่ฝิ่น ได้รับการพลิกฟื้นให้กลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกผัก ผลไม้เมืองหนาว เพื่อให้ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาได้มีรายได้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สถานีหลวงอ่างขางเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นพื้นที่ทดลองขยายพันธุ์พืชเมืองหนาวต่างๆ รวมถึงสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทานด้วย นอกจากนี้ดอยอ่างขางยังเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวที่ต้องการดื่มด่ำกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นไร่ชาสีเขียว หรือทะเลหมอกสุดลูกหูลูกตา

ภาคตะวันออก : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงโปรดฯให้จัดทำโครงการพัฒนาอาชีพการประมงและการเกษตรขึ้นที่ชายฝั่งทะเลจันทบุรี ทางจังหวัดจันทบุรีจึงร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ้าวคุ้งกระเบน ที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี นอกจากจะมีสะพานไม้สำหรับเดินศึกษาป่าชายเลนแล้วยังมีสถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ให้ชมด้วย

ภาคใต้ : ศูนย์ศึกษาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส เพื่อแก้ปัญหาน้ำขังตลอดปีของจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองขึ้นที่ตำบลกุลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบผสมผสาน โดยมีทั้งแปลงงานทดลอง สำหรับที่ลุ่มที่ดอน รวมถึงพื้นที่อ่างเก็บน้ำและพื้นที่สวนยางให้ได้เรียนรู้ เกษตรกรรมในสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร เพื่อแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแล้งในฤดูร้อน และน้ำป่าไหลหลากในฤดูฝน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งศูนย์การพัฒนาภูพาน ที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาพัฒนาป่าไม้ แล้วเป็นแบบจำลองสำหรับโครงการพัฒนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นี่โดดเด่นเรื่องการพัฒนาปศุสัตว์ จะได้ผลลัพธ์คือ สามดำภูพาน: ได้แก่ โคเนื้อภูพาน ไก่ดำภูพาน และสุกรภูพาน

ภาคกลาง : โครงการชั่งหัวมัน จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินจากราษฎรบริเวณใกล้อ่างน้ำหนองเสือ บ้างหนองกอไก่ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 250 ไร่ มาทำเป็นโครงการตัวอย่างในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์แบบบูรณาการ เพื่อพลิกฟื้นพื้นที่แห้งแล้งให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โครงการนี้หรืออีกชื่อหนึ่งว่า บ้านไร่ของในหลวงŽ

โครงการและการพัฒนาในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งเกิดขึ้นตามพระราชดำริของพระองค์ท่าน เป็น ต้นแบบŽ ให้เห็นกระจายทั่วประเทศ เป็นแกนกลางด้วยภูมิทัศน์ที่สวยงาม สร้างคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในพื้นที่ สร้างรายได้พอเพียงในหลายมิติแก่อนุชนรุ่นหลัง มีผู้รู้หลายท่านได้เห็นพระองค์ท่านสะบัดฝีแปรงลงไปในแต่ละพื้นที่ เป็นการบ่งบอกว่า พระองค์ท่านมิใช่เพียงนักบริหารเท่านั้น แต่ทรงเป็นศิลปินผู้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศอีกด้วยนะครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image