การถ่ายทอดระบบวุฒิสภา จากสหรัฐอเมริกาสู่ญี่ปุ่น

การถ่ายทอดระบบวุฒิสภา จากสหรัฐอเมริกาสู่ญี่ปุ่น

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในเดือนสิงหาคม พ..2488 ญี่ปุ่นในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามจึงถูกปกครองโดยกองบัญชาการสูงสุดของสัมพันธมิตร หรือ SCAP (The Supreme Commander for the Allied Powers) ที่มีอเมริกาเป็นผู้นำ ได้เข้ามาเปลี่ยนนโยบายการปกครองญี่ปุ่นใหม่หมด ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ อยู่ประมาณ 7 ปี (..2488-2495) โดยนายพล 5 ดาว ดักลาส แมคอาร์เธอร์ จากกองทัพอเมริกาเป็นผู้ควบคุมการดำเนินการทั้งหมดโดยทำการ

1.การยุบกองกำลัง 2 เหล่าทัพ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ (สำหรับกองทัพอากาศในขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบก) คงเหลือเพียงกองกำลังเพื่อการป้องกันภายในประเทศ

2.ดำเนินการกับอาชญากรสงครามคนสำคัญ เช่น นายพลโตโจ และฮิโรตะ และการปล่อยนักโทษการเมืองหลายพันคน

Advertisement

3.ลดอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันจักรพรรดิในฐานะที่ต้องรับผิดชอบต่อสงครามลงโดยให้พระเจ้าจักรพรรดิออกประกาศต่อชาวญี่ปุ่นทั้งหลายด้วยพระองค์เองว่า พระองค์เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งหาใช่เทพเจ้าลงมาจุติตามการปลูกฝังทางการศึกษาและการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลญี่ปุ่นในยุคก่อนสงครามไม่

ต่อมาอเมริกาได้วางระบบการเมืองของญี่ปุ่น ด้วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น โดยรัฐธรรมนูญนี้จะให้สิทธิขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนอย่างเต็มที่และอย่างกว้างขวางในทุกด้าน, สถาบันรัฐสภามีอำนาจสูงสุดในประเทศตามแบบประเทศอังกฤษ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเช่นที่ปฏิบัติในอเมริกา ฯลฯ เรียกว่ารัฐธรรมนูญ ค..1946” ประกาศใช้ในเดือนพฤศจิกายน พ..2489 และมีผลบังคับใช้วันที่ 3 พฤศจิกายน พ..2490

สาระสำคัญหนึ่งรัฐธรรมนูญดังกล่าว คือเรื่องของจักรพรรดิ ในหมวดที่ 1 ของรัฐธรรมนูญ ค..1946 เป็นหมวดที่ว่าจักรพรรดิโดยกำหนดว่า จักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ของประเทศที่คงไว้ซึ่งอำนาจความ

Advertisement

เป็นอันหนึ่งอันเดียวของประชาชน พระองค์ทรงมีบทบาทต่างๆ ทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม และการทูต แต่ไม่มีพระราชอำนาจใดที่จะสั่งการเกี่ยวเนื่องกับรัฐบาล นอกจากนี้พระราชกรณียกิจหลายอย่างมีรัฐสภาเป็นผู้ควบคุม เช่น การมอบทรัพย์สินให้ผู้ใด, การรับถวายทรัพย์สินต่างๆ เป็นต้น

นายพลแมคอาเธอร์ยังดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจสู่ประชาชนและท้องถิ่น เช่น การปฏิรูปที่ดินอย่างเด็ดขาด ซึ่งขณะนั้นเกษตรกรกว่าครึ่งหนึ่งต้องเช่าที่ดินทำกิน ทำให้เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเองมากขึ้น, มีการปฏิรูปทางด้านการศึกษา ลดอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการลง ให้มีคณะกรรมการการศึกษาในแต่ละท้องถิ่น ที่ประกอบด้วยตัวแทนของประชาชน และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ เป็นผู้กำหนดและเลือกใช้แบบเรียนอะไรต่างๆ ไม่ใช่เป็นของกระทรวงศึกษาธิการฝ่ายเดียว (แต่การที่จะอนุมัตินั้นเป็นของกระทรวง) การกระจายหุ้นของกิจการเอกชนผูกขาด การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ฯลฯ

ครับ! มาถึงหัวเรื่องการถ่ายทอดระบบวุฒิสภาจากสหรัฐอเมริกาสู่ญี่ปุ่นกล่าวคือรัฐสภาของญี่ปุ่นเป็นรัฐสภาแบบสองสภา (Bicameral system) อันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพราะมีเจตนารมณ์ในการกำหนดให้มีวุฒิสภาเป็นที่สภาที่สองที่มีบทบาทในการทักท้วงหน่วงเหนี่ยวสภาผู้แทนราษฎรและฝ่ายบริหารในพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย และตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเช่นเดียวกันกับสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีความชอบธรรมตามแนวความคิดว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งการมีวุฒิสภานี้ลอกแบบจากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างแท้จริง แต่สหรัฐอเมริกามีรูปแบบเป็นการปกครองแบบรัฐรวมแบบสหพันธรัฐแต่ประเทศญี่ปุ่นมีรูปแบบเป็นการปกครองแบบรัฐเดี่ยวแบบอังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศไทยกล่าวคือ สหรัฐอเมริกาประกอบด้วยมลรัฐต่างๆ รวมกันและแบ่งอำนาจอธิปไตยให้กับรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลสหรัฐในขณะที่บรรดามลรัฐเหล่านี้ก็ยังมีอำนาจอธิปไตยในการปกครองตัวเองแทบจะเป็นประเทศหนึ่งต่างหากเลยทีเดียวสามารถใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการในเขตแดนของมลรัฐได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นอำนาจอธิปไตยทั้งมวลเป็นของรัฐบาลกลางที่กรุงโตเกียวและรัฐบาลจึงกระจายอำนาจไปยังรัฐบาลท้องถิ่นคือจังหวัดต่างๆ ไปปกครองกันเอง แต่รัฐบาลกลางมีสิทธิที่จะเรียกอำนาจกลับคืนได้ตามแต่จะเห็นสมควร

ดังนั้น การกำหนดให้องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติมีรูปแบบสองสภาของญี่ปุ่นนั้นจึงกำหนดให้มีวุฒิสภาให้มีอำนาจหน้าที่เป็นสภากลั่นกรองที่มีบทบาทสูงมากในการกลั่นกรองกฎหมายที่ค่อนข้างเด่นชัด ทั้งนี้ในกรณีที่มีมติความเห็นแตกต่างกันระหว่าง 2 สภาจะต้องมีกลไกของคณะกรรมาธิการร่วมกันของทั้งสองสภามาตกลงกันอีกที แต่สภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาที่มีอำนาจเหนือกว่า มติของสภาผู้แทนราษฎรย่อมถือเป็นมติของรัฐสภาในที่สุดภายใต้หลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด

วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 242 คน (146 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและอีก 96 คน มาจากการเลือกตั้งในระบบสัดส่วนซึ่งใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง) วุฒิสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปีโดย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรญี่ปุ่น ค..1946 กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่งหมดวาระลงในทุกระยะเวลา 3 ปี ทั้งนี้นับแต่วาระแรกที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งลอกมาจากรัฐธรรมนูญสหรัฐโดยตรงทำให้มีสมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งทุก 2 ปี เพื่อความต่อเนื่องของวุฒิสภา 

นอกจากนี้การกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยเป็นตัวแทนจากเขตพื้นที่การปกครองก็ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากแนวคิดว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกาในระบบสหพันธรัฐด้วยเช่นกันเพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงที่ในสหรัฐอเมริกาทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจทัดเทียมกัน แต่ในประเทศญี่ปุ่นนั้นสภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาที่มีอำนาจเหนือกว่าวุฒิสภา

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image