“กัลฟ์”คือกรณีศึกษา โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ

แฟ้มภาพ

ผู้บริหารประเทศขณะนี้ได้แสดงให้เห็นความหงุดหงิดอยู่บ่อยครั้งถึงความไม่กล้าที่จะลงทุนของภาคเอกชนเพื่อช่วยเพิ่มแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทำให้ภาครัฐต้องเร่งการลงทุนอย่างหนักเพื่อทำให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้

ซึ่งน่าเห็นใจ

แต่อย่างไรก็ตามความน่าเห็นใจนั้นควรอย่างยิ่งที่จะวิเคราะห์ถึงเหตุที่แท้ของเรื่องราวที่เกิดขึ้น

Advertisement

ในหลักการทั่วไป ”ธรรมชาติของการลงทุนจะต้องเกิดความเชื่อมั่น”Ž

ความเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นได้เริ่มแรกคือ “ไว้เนื้อเชื่อใจกันได้”Ž หมายถึง ”ไม่โลเล กลับไปกลับมา”Ž

หากอยู่ในวงการนักลงทุนจะรู้ว่า เหตุผลหนึ่งที่ยังไม่กล้ากันเต็มร้อยที่จะไปลงทุนในบางประเทศนั้น เพราะไม่แน่ใจในอำนาจรัฐ ว่า ”วันนี้ว่าอีกอย่าง พรุ่งนี้จะไปอีกเรื่องŽ หรือไม่”

Advertisement

”ความโลเลในการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ”Ž เป็นเหตุแห่งความเสียหายของนักลงทุนเสมอ

การลงทุนในประเทศเกิดความไม่เชื่อมั่นในการใช้อำนาจ จึงเป็นเรื่องที่ต้องชั่งใจกันแล้วชั่งใจกันอีก

ถ้าจะบอกว่า ”ประเทศไทยเราไม่เป็นอย่างนั้น เราพัฒนามาจนเลยความเสี่ยงในเรื่องความโลเลของอำนาจมาแล้วŽ”

เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ มีนักลงทุนชี้ให้ไปดูกรณีที่เกิดขึ้นกับ ”บริษัทในเครือกัลฟ์Ž”

เป็นการมองผ่านคำตัดสินของศาลปกครองกลาง ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา

โดยสรุปก็คือ ท่ามกลางสถานการณ์ด้านพลังงานที่ทุกฝ่ายทุกคนพยายามชี้ให้ประชาชนทั้งประเทศได้เห็นว่า มีความเสี่ยงต่อวิกฤต ประเทศเราใช้ไฟฟ้ากันมากขึ้น แต่การผลิตเพิ่มเติมทำได้ยาก

“โครงการซื้อรับไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่Ž” จึงเกิดขึ้น

กรณีนี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้เปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้ารวม 5,400 เมกะวัตต์ ที่สุด 2 บริษัทในเครือกัลฟ์ชนะการประมูลจะได้ขายไฟฟ้าให้รัฐบริษัทละ 2,500 เมกะวัตต์

การทำลงทุนสร้างโรงผลิตไฟฟ้า ต้องมีกระบวนการจัดการมากมาย ส่วนหนึ่งก็คือการขออนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงิน และการขอส่งเสริมอุตสาหกรรม (บีโอไอ)

เมื่อได้ชนะการประมูลมาอย่างถูกต้องบริษัทในเครือกัลฟ์ก็ดำเนินไปตามขั้นตอนการทำธุรกิจที่ควรจะเป็น

แต่แล้วด้วยข้ออ้างว่าถูกร้องเรียนเรื่องความโปร่งใสของการประมูล ทำให้ต้องตรวจสอบ มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาจัดการเรื่องนี้

ไม่ต้องพูดถึงข่าวบางข่าวที่ว่าเกิดจากความพยายามช่วงชิงกันบางธุรกิจ บางรายแพ้แล้วไม่ยอมแพ้ หาเรื่องที่จะให้อำนาจรัฐเข้ามาเปลี่ยนแปลงผลการประมูล เพราะแม้จะพูดกันหนักแต่ยังไม่ปรากฎหลักฐานที่ชัดเจน

เอาแค่ว่ามีการตั้งคณะกรรมการสออบ นักลงทุนอย่างบริษัทในเครือกัลฟ์ก็จุก ไม่ใช่แค่มีปัญหาเรื่องการส่งเสริมการลงทุน แต่ยังถูกระงับการอนุมัติเงินกู้ สถาบันการเงินอ้างความไม่แน่นอนของธุรกิจที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเกินไปที่จะปล่อยกู้

เมื่อเดินหน้าโครงการไปแล้ว ลงทุนไประดับหนึ่ง ประสานพันธมิตรธุรกิจให้มาทำงานร่วมกัน เกิดปัญหาเช่นนี้บริษัทเครือกัลฟ์ก็เสียหายไม่เฉพาะเรื่องเงิน แต่เสียหายในด้านความน่าเชื่อถือที่มีต่อพันธมิตร

ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากฟ้องผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้ศาลปกครองพิจารณา “ความโลเล”Ž ที่ไม่รู้ว่าเกิดจากผลประโยชน์ขัดแย้งตามที่ลือกันหรือไม่

ที่สุดแล้วศาลปกครองชี้ว่า หน่วยงานทั้งหลายที่รุมเล่นงานนักลงทุนอย่างบริษัทเครือกัลฟ์นั้น ”เป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ เป็นการล้ำแดนของการตรวจสอบภายในองค์กรฝ่ายปกครองไปสู่ภายนอก อีกทั้งยังปราศจากความระมัดระวังทำให้ธนาคารชลอการพิจารณาปล่อยเงินกู้ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ถือเป็นการละเมิดŽ”

สรุปคือ ”ศาลปกครองกลาง”Ž มาช่วยให้ความเป็นธรรมกับบริษัทเครือกัลฟ์

อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนของการลงทุนได้เกิดขึ้นแล้ว

นั่นหมายถึง ”ความน่าเชื่อถือ”Ž ที่จะสร้าง “ความมั่นใจให้กับนักลงทุนŽ” อยู่ในสภาพที่ปัญหา

หากต้องการการลงทุน

การแสดงอาการหงุดหงิดที่นักลงทุนไม่กล้าลงทุนคงไม่ได้ช่วยอะไร

การลงมือสร้างความแน่นอน ”ไม่โลเล”Ž ไปตามแรงอะไรบางอย่างต่างหากที่จะสร้างความเชื่อมั่น ก่อความเชื่อถือ สร้างความกล้าที่จะลงทุนลงแรง

จะทำอย่างไรให้สภาวการณ์แห่งความเชื่อมั่นเกิดขึ้น

เรื่องราวนี้ของบริษัทในเครือกัลฟ์เป็นตัวอย่างที่เป็นอุทธาหรณ์ เป็นกรณีศึกษาได้เป็นอย่างดี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image