สุจิตต์ วงษ์เทศ : กินข้าวหลามอร่อยๆ ไม่เหลื่อมล้ำ ในวัฒนธรรมไม้ไผ่อุษาคเนย์

กินข้าวหลาม - นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ รวมตัวกันจัดกิจกรรม “กินข้าวหลามเฉยๆ” เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ที่ลานหน้าหอศิลป์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม (ภาพและคำบรรยายภาพจาก มติชน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2559 หน้า 11)

อุษาคเนย์เป็นภูมิภาคมีวัฒนธรรมไม้ไผ่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ใส่น้ำไว้กิน, หุงหาอาหาร, ทำเพลงดนตรี, สร้างเรือนที่อยู่อาศัย ฯลฯ

ข้าวหลาม หมายถึง ข้าวสารเหนียวชุ่มน้ำทำให้สุกในกระบอกไม้ไผ่ โดยใช้ไฟคลอกเผารอบๆ อยู่ภายนอก

สมัยแรกเป็นข้าวสารเหนียวล้วนๆ ผสมน้ำเปล่า ไม่มีกะทิ น่าเชื่อว่าเป็นวิธีทำข้าวให้สุก ยุคแรกเริ่มที่มนุษย์รู้จักกินข้าวเป็นอาหารหลัก สมัยหลัง ผสมกะทิจนปัจจุบันเป็นของกินเล่น

เผาข้าวหลาม โดยตั้งกระบอกไม้ไผ่ใส่ข้าวสารเหนียวชุ่มน้ำ แล้วก่อไฟเป็นแนวขนาบให้เผาคลอกล้อมภายนอกกระบอกไม้ไผ่ แต่ต้องคอยหมุน หรือกลับกระบอกหลบไฟเผาไหม้ ขณะเดียวกันก็ให้โดนความร้อนรอบกระบอกจนข้าวสุก

Advertisement

ข้าวสารเหนียวที่สุกแล้วจากไฟเผานอกกระบอก เรียก ข้าวหลาม

กระบอกไม้ไผ่ มีข้าวเหนียวสุกแล้วอยู่ข้างใน เรียก บั้งข้าวหลาม

 

Advertisement

บุญข้าวหลาม มีหลังเก็บเกี่ยวได้ข้าวเหนียวใหม่ ราวเดือน 3 ตามจันทรคติ (ประมาณกุมภาพันธ์) ของทุกปี

หลาม มีคำแปลและความหมายหลายอย่าง ดังนี้

(1.) ทำให้สุกในกระบอกไม้ไผ่ เช่น ข้าวหลาม, ปลาหลาม, ปูหลาม, กุ้งหลาม, เนื้อหลาม ฯลฯ (2.) ล้น, พรั่งพรู, มากมาย, มากขึ้น, ขยายขึ้น ฯลฯ ประกอบคำว่า ล้น เป็น ล้นหลาม

เผาข้าวหลาม ในงานบุญข้าวหลาม เดือน 3 ทางจันทรคติ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์) วัดหัวสำโรง ต. หัวสำโรง อ. แปลงยาว จ. ฉะเชิงเทรา (ภาพจาก มติชนรายวัน ฉบับวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 หน้า 27)
เผาข้าวหลาม ในงานบุญข้าวหลาม เดือน 3 ทางจันทรคติ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์) วัดหัวสำโรง ต. หัวสำโรง อ. แปลงยาว จ. ฉะเชิงเทรา (ภาพจาก มติชนรายวัน ฉบับวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 หน้า 27)

ตีไม้ไผ่

5,000 ปีมาแล้ว คนสุวรรณภูมิเริ่มทำเครื่องดนตรี “วัฒนธรรมไม้ไผ่” เพื่อพิธีกรรมสื่อสารวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ คือผีบรรพชน โดยใช้ไม้ไผ่ขนาดต่างๆ ทำเครื่องมือ มีชื่อเรียกสมัยหลังว่า เกราะ, โกร่ง, กรับ แล้วยกย่องเป็นเครื่องมือศักดิ์สิทธิ์มี “ผี” สิงอยู่ในเครื่องมือ

ไม้ไผ่ทำเกราะกับโกร่งนี่เองเป็นต้นแบบของโปง ใช้แขวนตีบอกสัญญาณ แล้วพัฒนาเป็นกลองไม้ กระทั่งปัจจุบัน คือ กลองเพล แขวนตามวัด มีทั่วไปทุกหนทุกแห่งในสุวรรณภูมิ บางทีเรียกกลองทัดในวงปี่พาทย์

กระบอกไม้ไผ่เป็นปล้องๆ ตัดมาวางเรียงกันหลายปล้อง ใช้ตีปล้องละหนึ่งเสียงได้หลายเสียง ต่อมาภายหลังจะมีพัฒนาการจนเรียกเครื่องมืออย่างนี้ว่า ระนาด

 

โปงลาง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีผู้คิดประดิษฐ์ใหม่เมื่อราวหลัง พ.ศ. 2500 จึงไม่ใช่เครื่องมือตีไม้ไผ่มาแต่เดิม

 

เครื่องดนตรีในวัฒนธรรมไม้ไผ่ (ลายเส้นจากหนังสือ เครื่องดนตรีไทย ของ ธนิต อยู่โพธิ์ กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2510)
เครื่องดนตรีในวัฒนธรรมไม้ไผ่ (ลายเส้นจากหนังสือ เครื่องดนตรีไทย ของ ธนิต อยู่โพธิ์ กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2510)
กลุ่มชาติพันธุ์ทางมณฑลยูนนานในจีน ตีกระบอกไม้ไผ่ (ต้นกำเนิดระนาด) (ขวา) กระบอกไม้ไผ่ของคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ถลาง จ. ภูเก็ต (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
กลุ่มชาติพันธุ์ทางมณฑลยูนนานในจีน ตีกระบอกไม้ไผ่ (ต้นกำเนิดระนาด)

 

กลุ่มชาติพันธุ์ทางมณฑลยูนนานในจีน ตีกระบอกไม้ไผ่ (ต้นกำเนิดระนาด) (ขวา) กระบอกไม้ไผ่ของคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ถลาง จ. ภูเก็ต (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
กลุ่มชาติพันธุ์ทางมณฑลยูนนานในจีน ตีกระบอกไม้ไผ่ (ต้นกำเนิดระนาด) (ขวา) กระบอกไม้ไผ่ของคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ถลาง จ. ภูเก็ต (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ข่ากะโส้ ใช้กระบอกไม้ไผ่กระทุ้งดินประกอบร้องรำทำเพลงและดูดอุ
ข่ากะโส้ ใช้กระบอกไม้ไผ่กระทุ้งดินประกอบร้องรำทำเพลงและดูดอุ
ผู้หญิงชาวแสก เมืองนครพนม กำลังเต้นสาก (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ผู้หญิงชาวแสก เมืองนครพนม กำลังเต้นสาก (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image