ข้อคิดสำหรับคณะกรรมการศึกษาแนวทาง การทำประชามติและแนวทางร่างรัฐธรรมนูญ โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 256/2566 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทําประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จำนวน 35 คน โดยมีรายชื่อดังนี้

1.นายภูมิธรรม เวชยชัย ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติและแนวทางร่างรัฐธรรมนูญ 2.นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง 3.นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง 4.นายนิกร จำนง เป็นกรรมการและโฆษกคณะ 5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 6.นายพิชิต ชื่นบาน เป็นตัวแทนที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 7.พล..ชัชวาลย์ ขำเกษม 8.พล...สุเทพ เดชรักษา 9.พล...วินัย ทองสอง 10.นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ 11.นายศุภชัย ใจสมุทร 12.นายวิรัตน์ วรศสิริน 13.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท 14.นายวิเชียร ชุบไธสง 15.นายวัฒนา เตียงกูล 16.นายยุทธพร อิสรชัย 17.นายไพบูลย์ นิติตะวัน 18.นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย 19.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา 20.นายประวิช รัตนเพียร 21.นายนพดล ปัทมะ 22.นายธนกร วังบุญคงชนะ 23.นายธงชัย ไวยบุญญา 24.นายเทวัญ ลิปตพัลลภ 25.นายเดชอิศม์ ขาวทอง 26.นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ 27.นายชาติพงษ์ จีระพันธุ 28.นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์ 29.นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี 30...ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ 31.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ 32.ผู้แทนพรรคก้าวไกล 33.ปลัดสำนักนายกฯ เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ 34.นายนพดล เภรีฤกษ์ รองเลขาธิการกฤษฎีกา 35.นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกฯ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

นายภูมิธรรม เวชยชัย ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติและแนวทางร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า หลักการสำคัญคือจะไม่แตะหมวด 1 และ 2 และไม่แตะพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่แทรกในหมวดต่างๆ โดยจะจัดทำรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกให้เสร็จภายใน 4 ปี เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นไปตามกติกาที่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน โดยจะประชุมนัดแรกวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 15.00 . ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อวางกรอบทำงาน และพูดคุยกับทุกภาคส่วน ภายใน 3-4 เดือน น่าจะได้ข้อสรุปกระบวนการทำงาน ทั้งวิธีการ แนวทางทำประชามติ และคาดว่าการทำประชามติครั้งแรกจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกในปี 2567

ข้อคิดที่อยากจะฝากให้คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติและแนวทางร่างรัฐธรรมนูญคือ การรัฐประหารตัวเองปี พ..2494 ของจอมพล ป. ซึ่งเป็นการยึดอำนาจตัวเองเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นายทหารรุ่นหลังยึดเป็นแบบอย่างเพราะมันสะดวกสบายดีเหลือเกิน การรัฐประหารครั้งนี้ค้างคาใจผู้เขียนมากเนื่องจากเกิดขึ้นก่อนที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งขณะนั้นได้เสด็จฯกลับจากสวิตเซอร์แลนด์เรือพระที่นั่งจะเข้าอ่าวไทย จะเสด็จนิวัติพระนครเพียง 16 ชั่วโมง เท่านั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินออกจากประเทศสิงคโปร์มายังประเทศไทยในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ..2494 และเสด็จพระราชดำเนินถึงประเทศไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ..2494 โดยที่คณะบริหารประเทศชั่วคราวได้ขอให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลงพระนามในประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ แต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตฯ มิได้ทรงลงพระนาม โดยทรงให้เหตุผลว่า ควรจะยกให้เป็นพระราชวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม ในวันต่อมาก็ได้มีประกาศว่าคณะรัฐมนตรีชั่วคราว ถืออำนาจแทนพระเจ้าแผ่นดินได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้ว

Advertisement

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2492 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ของไทย ที่จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎรโดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (...) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ..2492 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ..2494 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารตนเองโดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญ พ..2492 นี้ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์คับขันที่ประเทศชาติเผชิญอยู่คือภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ และการคอร์รัปชั่น จำเป็นต้องนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ให้เป็นความรุ่งเรืองสถาพรแก่ประเทศชาติสืบไป (อ้างอิงจากคำปรารภการรัฐประหาร พ..2494) 

มีการสันนิษฐานว่าสาเหตุที่แท้จริงในการรัฐประหารครั้งนี้คงมีที่มาจากมาตรา 142 และมาตรา 143 อันเป็นข้ออ้างในการรัฐประหารครั้งนี้คือ

มาตรา 142 รัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการประจำมิได้

Advertisement

มาตรา 143 รัฐมนตรีจะกระทำการใดๆ ที่ห้ามไว้มิให้สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนกระทำตามที่บัญญัติในมาตรา 80 มิได้และนอกจากนั้นรัฐมนตรีจะเป็นผู้จัดการ กรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทนหรือลูกจ้างของบุคคลห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือองค์การใดๆ ซึ่งดำเนินธุรกิจเพื่อค้ากำไรก็มิได้ด้วย

จะเห็นได้ว่าทั้งข้ออ้างในการทำรัฐประหารทั้งที่จอมพล ป.พิบูลสงครามอ้างกับข้อสันนิษฐานถึงสาเหตุที่แท้จริงที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ..2492 ห้ามไม่ให้รัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำไม่ได้ และรัฐมนตรีจะกระทำการใดๆ ที่ห้ามไว้มิให้สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนกระทำตามที่บัญญัติในมาตรา 80 มิได้ และนอกจากนั้นรัฐมนตรีจะเป็นผู้จัดการ กรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทนหรือลูกจ้างของบุคคลห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือองค์การใดๆ ซึ่งดำเนินธุรกิจเพื่อค้ากำไรก็มิได้ด้วยไม่ใช่ข้อคิดที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติและแนวทางร่างรัฐธรรมนูญควรจะสนใจเพราะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสถานการณ์ปัจจุบัน

แต่ที่สำคัญที่แท้จริงที่ใครๆ พากันมองข้าม คือข้อความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2492 หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 11 พระมหากษัตริย์ทรงดํารงตําแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวง ซึ่งเป็นข้อความที่ยาวกว่าข้อความในหมวด 2 พระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญทุกๆ ฉบับตรงที่ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวงซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่แท้จริงในการทำรัฐประหารอย่างฉุกละหุก ก่อนที่ในหลวงจะเสด็จนิวัติพระนครเพียง 16 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะข้อความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2492 หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 11 เป็นการก้าวก่ายอำนาจของทหารซึ่งเป็นกำลังหลักในการทำรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำอีกในประเทศไทยนั่นเอง

ดังนั้นการปฏิรูปกองทัพจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติและแนวทางร่างรัฐธรรมนูญไม่ควรละเลยโดยเด็ดขาด

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image