สุจิตต์ วงษ์เทศ : สำเนียงใต้ เริ่มลงไปตั้งแต่ อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์

แผนที่แสดงที่ตั้ง อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ (ภาพจาก สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม 7 มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ พ.ศ. 2542 หน้า 3285)

อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่รู้จักดีตั้งแต่ยุคอยุธยา สมัยพระเจ้าบรมโกศ ราว พ.ศ. 2275 เพราะพบแร่ทองคำ เนื้อเก้า เลยได้ชื่อสมัยต่อมาว่า เมืองกำเนิดนพคุณ

แต่ชื่อบางสะพาน ใกล้เคียงชื่อ “บางตภาร” ในตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช         ที่น่าจะเขียนขึ้นราวเรือน พ.ศ. 2000

มีเนื้อความโดยย่อว่าท้าวอู่ทอง จากรัฐอโยธยา-สุพรรณภูมิ เจรจากำหนดเขตแดนกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช จากรัฐนครศรีธรรมราช ว่าเหนือ “บางตภาร” ขึ้นไปเป็นแดนของท้าวอู่ทอง ส่วนทางใต้ “บางตภาร” ลงไปเป็นแดนของศรีธรรมโศกราช

“บางตภาร” ในตำนานฯ แปลว่าอะไร? หมายถึงอะไร? ยังไม่พบคำอธิบาย จึงไม่รู้        จะตรงกับบางสะพานปัจจุบันหรือไม่?

Advertisement

 

สำเนียงใต้

ตำนานแบ่งเขตแดนระหว่างท้าวอู่ทองกับศรีธรรมโศกราช เข้ากันได้กับสำเนียงกลาง มีถึงประจวบคีรีขันธ์ ต่อจากนั้นลงไปเป็นสำเนียงใต้

Advertisement

อ. ล้อม เพ็งแก้ว บอกว่ามีเส้นแบ่งสำเนียงกลางกับใต้ อยู่ ต. เขาล้าน อ. ทับสะแก จ. ประจวบฯ ทางเหนือของ อ. บางสะพาน อยู่ในข้อเขียนเรื่องชาวนอก (พิมพ์รวมในหนังสือ ภูมิล้อมเพชร 80 ปี อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว สำนักพิมพ์สายธาร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2559 หน้า 202-211)

ก่อนหน้านี้นานมากแล้ว ผมรู้จากครูบาอาจารย์หลายท่านว่าสำเนียงกลางกับใต้ แยกกันตรง อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ตามตำนานท้าวอู่ทองแบ่งปันเขตแดนกับ ศรีธรรมโศกราช แต่ไม่สันทัดเรื่องด้านสำเนียงใต้ผมเลยต้องอยู่นิ่งๆ เอาหลังพิงภูเขาทอง

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image