เมืองเสมา (สูงเนิน นครราชสีมา) คือ เมืองราด พ่อขุนผาเมือง โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

พระพุทธไสยาสน์ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัด นครราชสีมา พระพุทธรูปหินทรายสมัยทวารวดีอายุกว่า 1,000 ปี ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

1.เมืองเสมา หมายถึง เมืองเสมา อ.สููงเนิน จ.นครราชสีมา

ชื่อเสมากลายจากคําว่า “สีมา” ในชื่อนครราชสีมา

2.โคราชเก่า หมายถึง เมืองเสมาเป็นเมืองโคราชเก่าแก่ดั้้งเดิม หรือเมืองนครราชสีมาแห่งแรก ก่อนย้ายไปอยู่บริเวณปัจจุุบันเป็น จ. นครราชสีมา

ชื่อโคราชได้จากคําว่า “นครราช” (ในชื่อนครราชสีมา) กร่อนเหลือ “ครราช” ออกเสียงคอนราด แล้วกลายเป็น โคราช

Advertisement

3.เมืองราด พ่อขุุนผาเมือง หมายถึง เมืองเสมา หรือเมืองโคราชเก่า คือเมืองราดของพ่อขุนุ ผาเมือง (ในประวัติศาสตร์์สุุโขทัย)

ชื่อราด (ในคําว่าเมืองราด) ไม่พบที่มาและความหมาย

เรื่องเมืองราดต่อไปนี้ คัดบางส่วนจากหนังสือ เมืองเสมา โคราชเก่า (อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา) เมืองราด พ่อขุนผาเมือง ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ

Advertisement

  • เมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง

เมืองเสมา คือ เมืองราดของพ่อขุนผาเมือง เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ราวหลัง พ.ศ. 1800 น่าจะสืบทอดจาก “เสียมกุก” นครวัด

เมืองราดที่ไหนบ้าง? ถูกสันนิษฐานจากนักค้นคว้าหลายปีมาแล้ว ดังนี้

(1.) เมืองราดอยู่บริเวณทุ่งยั้ง (จ. อุตรดิตถ์) แต่มีปัญหาคือระยะทางห่างไกลมากจากเมืองพระนครหลวง (นครธม) กัมพูชา จึงเป็นไปไม่ได้ และ

(2.) เมืองราดอยู่หล่มสัก (จ. เพชรบูรณ์) แต่ไม่พบหลักฐานร่วมสมัยและอยู่ห่างไกลมากจากเมืองพระนคร (นครธม) กัมพูชา จึงไม่น่าเชื่อ ส่วนอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองสร้างจากความเข้าใจคลาดเคลื่อน (เหมือนอนุสาวรีย์สุนทรภู่ อ. แกลง จ. ระยอง) ซึ่งใช้เป็นหลักฐานเรื่องเมืองราดไม่ได้

  • เมืองเสมา คือ เมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง

มีเหตุผลดังนี้

  1. ที่ตั้งอยู่ต่อเนื่องดินแดนกัมพูชา มีช่องเขาเป็นเส้นทางไปมาหากันสะดวก
  2. การคมนาคมกับกรุงสุโขทัย ผ่านเมืองศรีเทพ ลุ่มน้ำป่าสัก (จ. เพชรบูรณ์) มีเส้นทางสะดวก 2 เส้นทาง

(1.) ผ่านทางเมืองพระบาง (จ. นครสวรรค์) และเมืองพิจิตร แล้วเข้าถึงสุโขทัย

(2.) ขึ้นตามแม่น้ำป่าสัก ผ่านเมืองเพชรบูรณ์, เมืองหล่มสัก, เมืองนครไทย (พิษณุโลก), เมืองตรอน (อุตรดิตถ์) ลงแม่น้ำน่าน เข้าถึงสุโขทัย

  1. ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องสุโขทัย อยู่ในจารึกวัดศรีชุม เล่าประวัติมหาเถรศรีศรัทธา

ก่อนออกบรรพชา เป็นขุนศึกรบกับท้าวอีจาน อยู่บริเวณเชิงเขาพนมดงรัก [ปัจจุบันเรียก ดงอีจาน จ. บุรีรัมย์]

หลังออกบรรพชา เสด็จธุดงค์ถึงสถานที่แห่งหนึ่งเรียกรัตนภูมิ อยู่ลุ่มน้ำมูล [ปัจจุบันเรียก ปราสาทพนมวัน จ. นครราชสีมา]

  1. เกี่ยวข้องละโว้ (ลพบุรี) ตั้งแต่พ่อขุนศรีนาวนำถุมสถาปนากรุงสุโขทัยโดยได้รับการอุดหนุนจากละโว้
  2. เกี่ยวข้องอยุธยา ผ่านเจ้านายรัฐละโว้และเมืองอโยธยาที่สถาปนาอยุธยา

พระแสงขรรค์ชัยศรี มีที่อยุธยา

คำแหงพระราม (บิดาของมหาเถรฯ) ชื่อนี้สืบเนื่องเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา สมัยบรมไตรโลกนาถ (อยู่เมืองเสมา สูงเนิน) ว่า “คำแหงสงคราม”

[“คำแหงพระอินทร์” เจ้าเมืองพระงามสมัยเจ้าสามพระยา ก่อนพระบรมไตรโลกนาถ]

  1. ภาษาไท-ไต สืบเนื่องจากชาวสยาม (เสียมกุก) ต้นตอสำเนียง “เหน่อ” โคราช
เมืองเสมา โคราชเก่า (อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา) เมืองราด พ่อขุนผาเมือง ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน ธันวาคม พ.ศ. 2566
แผนที่เส้นทางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเสมา (เมืองโคราชเก่า) ต้นลำน้ำมูล (ที่ราบสูงอีสาน) กับนครวัดและนครธม (ที่ราบลุ่มกัมพูชา)
  • การเมืองในระบบเครือญาติ

กษัตริย์กัมพูชาพระราชทานสิ่งเกียรติยศให้พ่อขุนผาเมือง แสดงว่าพ่อขุนผาเมืองเป็นบุคคลสำคัญที่มีพลังอำนาจมากทางการเมือง โดยมีเครือข่ายและเครือญาติครอบคลุมบ้านเมืองลุ่มน้ำป่าสัก กับลุ่มน้ำมูล-ชี หรือมากกว่านั้น

ด้วยเหตุผลทางการเมือง ดังนั้นกษัตริย์กัมพูชาต้องหว่านล้อมโน้มน้าวเข้าเป็นพวกเดียวกัน แล้วสร้างความเกี่ยวดองเป็นเครือญาติใกล้ชิดด้วยการแต่งงานตามประเพณีพื้นเมืองที่มีแต่ดั้งเดิม

เมืองราด คือ เมืองเสมา เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองต้องอยู่ไม่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจของกัมพูชา ดูจากกษัตริย์กัมพูชาให้ความสำคัญมากจึงพระราชทานสิ่งเกียรติยศหลายอย่าง โดยเฉพาะพระขรรค์ชัยศรีกับลูกสาว

มานิต วัลลิโภดม เมืองราด อยู่เมืองโคราชเก่า สูงเนิน ข้อสันนิษฐานแรกสุด อยู่ในหนังสือ นำเที่ยวเมืองพิมายฯ กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. 2502 โดยอ้างว่ามีร่องรอยชื่อ คอนราช, นครราช ตรงกับเมืองราด อยู่ในเอกสารเก่า ได้แก่ ตำนาน
อุรังคธาตุ และพงศาวดารเหนือ

จิตร ภูมิศักดิ์ สนับสนุนเมืองโคราชเก่า คือ เมืองราด เขียนไว้ (ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2509) ในหนังสือ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยศรีอยุธยา (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2526) ดังนี้

“ข้าพเจ้ายืนยันว่าความสันนิษฐานของ นายมานิต วัลลิโภดม ว่า โคราช เป็นคำที่เพี้ยนมาจาก นครราช นั้น ถูกต้องที่สุด.”

“ชาวเขมรในกัมพูชายังคงเรียกเมืองนครราชสีมาตามชื่อเดิมว่า นครราช อยู่จนทุกวันนี้”

จิตร ภูมิศักดิ์ เพิ่มหลักฐาน 2 เรื่อง สนับสนุนแนวคิดของ มานิต วัลลิโภดม ดังนี้

ผู้นำเมืองสุโขทัยสมัยแรก ล้วนคุ้นเคยใกล้ชิดผู้นำของบ้านเมืองต้นลุ่มน้ำมูล มีข้อความบอกไว้ในจารึกวัดศรีชุม (จารึกสุโขทัย หลักที่ 2) เล่าประวัติเจ้านายเมืองสุโขทัยชื่อ มหาเถรศรีศรัทธา ซึ่งเป็นหลานพ่อขุนผาเมือง ดังนี้

1.ก่อนบวช ท่านศรีศรัทธาวัยฉกรรจ์ขี่ช้างรบกับท้าวอีจาน ซึ่งน่าจะเป็นผู้นำอยู่แถบเชิงเขาพนมดงรัก ปัจจุบันเรียกดงอีจาน (เขตนครราชสีมาต่อกับบุรีรัมย์)

2.หลังบวช ท่านศรีศรัทธาเป็นภิกษุธุดงค์จากเมืองสุโขทัยไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ชื่อ “รัตนภูมิ” ปัจจุบันคือปราสาทพนมวัน (อ. เมืองฯ จ. นครราชสีมา)

ศรีศักร วัลลิโภดม เมืองราด อยู่เมืองโคราชเก่า “ถ้าหากนำตำแหน่งเมืองนครราชสีมาไปเปรียบเทียบกับเมืองสุโขทัย…ในช่วงเวลานั้นยังเป็นเมืองไม่ใหญ่โตเท่าใด เพราะอยู่ในที่ห่างไกลบ้านเมืองที่เจริญแล้วในลุ่มทะเลสาบและในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง เพราะความเป็นเมืองที่ใหญ่กว่าเจริญกว่าของเมืองราดนี้เอง ที่ทำให้พ่อขุนผาเมืองไม่คิดเอาราชสมบัติเมืองสุโขทัย” [จากหนังสือ สร้างบ้านแปงเมือง ของ ศรีศักร วัลลิโภดม สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2560 หน้า 137-139]

  • พ่อขุนผาเมือง คือ พระยาแกรก?

พ่อขุนผาเมืองมีพระขรรค์ชัยศรี อาจตรงกับตำนานพระยาแกรก กษัตริย์อโยธยา (ก่อนอยุธยา)

พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงของพระยาแกรก กษัตริย์อโยธยา

คำให้การขุนหลวงหาวัด (เรื่องธรรมเนียมถือน้ำ) บอกว่าพิธีถือน้ำพระพัทต้องเชิญพระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นประธานพระแสง 12 ราศี

คำให้การชาวกรุงเก่า เล่าว่าพระเจ้าท้ายสระทิวงคต มีจลาจลชิงอำนาจในอยุธยา ระหว่างพระมหาอุปราช (บรมโกศ) กับเจ้าฟ้าอุทัย (และเจ้าฟ้าปรเมศร) เมื่อสู้ไม่ได้ เจ้าฟ้าอภัยฯ รวบรวมของมีค่าจากในพระราชวังหนีลงเรือ ได้แก่ “พระแสงชื่อ—-ที่กำจัดภัย เป็นของตั้งแต่ครั้งพระยาแกรก” และของมีค่าอื่นๆ อีกมาก ส่วนพระแสงนี้มีบอกอีกตอนหนึ่งว่าเป็น “พระแสงสำหรับพระนคร”

พระบรมโกศขึ้นเสวยราชย์ ให้กองเรือออกตามจับ ฝ่ายเจ้าฟ้าอภัยฯ เห็นจวนตัว “ให้ล่มเรือจมน้ำเสีย” “พระแสงก็จมอยู่ในน้ำกับเรือนั้น”

พระยาแกรกเป็น “ผู้มีบุญ” มาทางทิศตะวันออก (ของอยุธยา) พร้อมเครื่องกกุธภัณฑ์ (ซึ่งมีพระแสงขรรค์ชัยศรีอยู่ด้วย) จากพระอินทร์ (ที่แปลงเป็นคนชราจูงม้า) แล้วได้เป็นกษัตริย์ครองอยุธยาว่า “พระเจ้าสินธพอำมรินทร์” มีในพงศาวดารเหนือ และในคำให้การชาวกรุงเก่า

ภาษาเขมรและภาษาไท-ไต พ่อขุนผาเมือง พูด 2 ภาษา คือ เขมรและไท-ไต ส่วนประชาชนเมืองราดหลายชาติพันธุ์พูดอย่างน้อย 2 ภาษา คือ เขมร, ไท-ไต, และอื่นๆ

เถรวาท เมืองราดรับเถรวาท แบบลังกา (จากอโยธยา) ซึ่งเผยแผ่โดยใช้ภาษาไท-ไต (ต่อไปข้างหน้าคือภาษาไทย)

จารึกวัดศรีชุม (หรือศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2) พบที่วัดศรีชุม เมืองสุโขทัย (จ. สุโขทัย) เล่าเรื่องเจ้าศรีศรัทธาฯ เจ้านายรัฐสุโขทัยไปเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองทางลุ่มน้ำมูล (เป็นหลักฐานเก่าสุดที่มีตัวอักษรไทยเขียนวรรณกรรมในลุ่มน้ำยม-น่าน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ)
พระแสงขรรค์ชัยศรี (พร้อมฝัก) สัญลักษณ์ของจักรพรรดิราช ที่เชื่อกันว่าตกทอดจากกษัตริย์อาณาจักรกัมพูชาโบราณ พระราชทานพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ. พระนครศรีอยุธยา [ภาพจากปกหลังนิตยสาร ศิลปากร ปีที่ 62 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน) 2562]
“รัตนภูมิ” ของเจ้าศรีศรัทธาฯ ในจารึกวัดศรีชุม คือ ปราสาทพนมวัน อ. เมืองฯ จ. นครราชสีมา (ภาพจาก Facebook เพจสํานักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กรมศิลปากร)
  • พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด

พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด [ในจารึกบางทีเรียก “พระยาผาเมือง”] เป็นลูกชายพ่อขุนศรีนาวนำถุม [กษัตริย์สถาปนา “ศรีสัชนาลัยสุโขทัย”]

กษัตริย์กัมพูชาแห่งกรุงศรียโสธร [“ผีฟ้าเจ้าเมืองศรียโสธรปุระ”] คือ เมืองพระนครหลวง [นครธม] พระราชทานหลายอย่างให้พ่อขุนผาเมือง ดังนี้ พระนามสามัญว่า “กมรเตงอัญผาเมือง”, พระนามเกียรติยศว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”, ลูกสาวชื่อ “นางสุขรมหาเทวี”, พระแสงดาบ “ขรรค์ชัยศรี”

(1.) “กมรเตงอัญ” เป็นคำภาษาเขมร แปลว่า เจ้า

“กมรเตงอัญผาเมือง” ตรงกับเจ้าผาเมือง หมายถึงผาเมืองเป็นเจ้า มีตัวอย่างพระนามในรัฐสุพรรณภูมิว่าเจ้านครอินทร์ มีโอรส 3 องค์เรียงกัน เจ้าอ้ายพระยา, เจ้ายี่พระยา, เจ้าสามพระยา

(2.) “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”

หลังยึดเมืองสุโขทัยได้จากขอมสบาดโขลญลำพง ผาเมืองยกให้บางกลางหาวครองเมืองสุโขทัย แล้วกร่อนคำเหลือว่า “ศรีอินทราทิตย์”

(3.) ประเพณียกลูกสาวแต่งงานกับกษัตริย์หรือเจ้าเมืองในเครือข่าย แล้วดองเป็นเครือญาติ

พบบ่อยๆ ในประวัติศาสตร์เพื่อขยายอำนาจทางการเมือง เช่น กษัตริย์เขมรยกลูกสาวให้เจ้าฟ้างุ้มแห่งหลวงพระบาง, พระมหาจักรพรรดิ อยุธยา ยกลูกสาวให้เจ้าไชยเชษฐา เวียงจันท์, พระมหาธรรมราชายกลูกสาว [พี่สาวพระนเรศวร] ให้บุเรงนอง เป็นต้น

(4.) “ขรรค์ชัยศรี” ของพ่อขุนผาเมือง เป็นมรดกตกทอดถึงกษัตริย์อยุธยา

เป็นพยานอย่างหนึ่งว่าพ่อขุนผาเมืองขึ้นครองอยุธยา จึงยกสุโขทัยให้สหายบางกลางหาว เพราะอยุธยาใหญ่กว่าและสำคัญกว่าสุโขทัย

“ขรรค์ชัยศรี” เป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของอำนาจการเมืองของกัมพูชา และเชื้อวงศ์เขมร ดังต่อไปนี้

อำนาจการเมืองของกัมพูชา มีหลักฐานจำนวนมากเป็นที่รับรู้ทั่วโลก ผ่านทางรัฐละโว้

เชื้อวงศ์เขมร พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาสืบวงศ์จากกษัตริย์กรุงศรียโสธร (เมืองพระนครหลวง) แห่งกัมพูชา เกี่ยวดองเครือญาติผ่านทางขอมละโว้ (ลพบุรี) เป็นที่รับรู้ในราชสำนักพระนารายณ์ (พบในคู่มือทูตสยามไปยุโรป ซึ่งเป็นเอกสารราชการกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. 2224 พิมพ์ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หน้า 90-94)

ตำนานล้านนา บางฉบับระบุว่าพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาสืบวงศ์ขอมละโว้

คำให้การชาวกรุงเก่า บอกตรงๆ ว่าพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาสืบวงศ์จากพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์แห่งเมืองพระนครหลวง กัมพูชา

[ข้อมูลและข้อสันนิษฐานมีอีกมาก ควรอ่านเพิ่มในบทความเรื่อง “พระแสงขรรค์ชัยศรี สัญลักษณ์แห่งอำนาจ อาณาบารมีของวงศ์นครธม” โดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ใน
มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 10-16 มีนาคม 2566 หน้า 69]

  • เมืองราด ลุ่มน้ำมูล ในอำนาจผาเมือง

พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด มีอำนาจเหนือลุ่มน้ำมูล พบหลักฐานแวดล้อมในจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 วัดศรีชุม เล่าเรื่องหลานพ่อขุนผาเมือง คือ พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี

หลัง พ.ศ. 1800 มหาเถรศรีศรัทธาฯ เป็นเจ้านายระดับสูงของรัฐสุโขทัย (เป็นหลานพ่อขุนผาเมือง) มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองและวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองทางลุ่มน้ำมูลอย่างน้อย 2 คราว ดังนี้ (1.) ชนช้างรบกับท้าวอีจาน ที่เมืองอีจาน และ (2.) ออกบวชแล้วธุดงค์ไปถึงย่านปราสาทพนมวัน

แสดงว่าเจ้านายรัฐสุโขทัยเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับเจ้านายบ้านเมืองทางลุ่มน้ำมูล เช่น เมืองพิมาย, เมืองพนมรุ้ง ซึ่งมีบรรพชนอยู่ลุ่มน้ำมูล แล้วควบคุมเส้นทางคมนาคมระหว่างลุ่มน้ำโขงกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาและโตนเลสาบ (ในกัมพูชา)

เจ้าศรีศรัทธาฯ เป็นหลานพ่อขุนผาเมือง ในตระกูลศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นเครือญาติรัฐละโว้ (ใกล้ชิดกับอาณาจักรกัมพูชาที่โตนเลสาบ ซึ่งมีบรรพชนอยู่ทางเมืองพิมาย ลุ่มน้ำมูล)

  • ท้าวอีจาน

เจ้าศรีศรัทธาฯ รัฐสุโขทัย บอกไว้ในศิลาจารึกวัดศรีชุม ว่าเมื่ออายุได้ 17-18 ปี เคยไปชนช้างรบกับท้าวอีจาน [ปัจจุบันเรียกดงอีจาน เป็นพื้นที่ต่อเนื่องตั้งแต่ อ. ปะคำ (บุรีรัมย์) ถึง อ. ครบุรี (นครราชสีมา)] มีข้อความในจารึกตอนหนึ่งว่า “มาเถิงสิบเจ็ดปีสิบแปดปี มีจำบังด้วยขุนผู้หนึ่ง ชื่อท้าวมน..ง จำบังด้วยอีกมันผู้หนึ่ง ชื่อท้าวอีจาน”

บริเวณรอบๆ ดงอีจาน อ. ปะคำ จ. บุรีรัมย์ มีถ้ำเป็ดทอง เป็นชุมชนบ้านเมืองมาตั้งแต่ราว พ.ศ. 1000 (สมัยเจนละของพระเจ้าจิตรเสน) ต่อเนื่องถึงถ้ำวัวแดง อ. ครบุรี จ. นครราชสีมา

ครั้นถึงหลัง พ.ศ. 1800 ก็ยังเป็นบ้านเมือง แต่อาจเรียกเมืองอีจาน หรือเมืองท้าวอีจาน มีทรัพยากร “ของป่า” และแร่ธาตุ เช่น เหล็ก ฯลฯ

จิตร ภูมิศักดิ์ เคยเขียนอธิบายในหนังสือ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยศรีอยุธยา (สำนักพิมพ์ไม้งาม พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2526 หน้า 326) จะคัดมาดังนี้

“ศิลาจารึกของพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณีฯ หลานพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด (คือศิลาจารึกวัดศรีชุม) เล่าประวัติของพระมหาเถรเองสมัยยังไม่ได้ออกบวชทิ้งเมืองราด ว่าเมื่ออายุได้ 17-18 ปี ได้รบกับท้าวอีจาน

ท้าวอีจานนั้นจารึกไม่ได้บอกรายละเอียดไว้ว่าเป็นเจ้าเมืองอยู่ที่ไหน. แต่ทว่าชื่ออีจานนี้ บัดนี้ยังอยู่ในทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา คือเป็นชื่อดงใหญ่ เรียกว่าดงอีจาน.

ดงนี้อยู่ใต้อำเภอปักธงชัยไปทางตะวันออก, เขตของดงนี้กินตลอดส่วนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ทั้งจังหวัด ไปจนจดเขตจังหวัดสุรินทร์.

ดงอีจานเป็นดงทึบ ใหญ่มาก และเป็นชื่อรวมของดงต่างๆ ในเขตนั้น กล่าวคือแบ่งซอยเรียกชื่อต่างๆ กันไปเป็นตอนๆ. ข้าพเจ้าเชื่อว่าเมืองอีจานคงจะอยู่ในบริเวณตอนนี้”

  • รัตนภูมิ ปราสาทพนมวัน

เจ้าศรีศรัทธาฯ รัฐสุโขทัย มีข้อความบอกในศิลาจารึกวัดศรีชุม (ด้านที่ 2) ว่าเมื่อออกบวชเป็นภิกษุ ได้ไปถึงสถานที่แห่งหนึ่งเรียกรัตนภูมิที่ปราสาทพนมวัน นครราชสีมา ดังนี้ “ออกบวช…ปรารถนาเป็นพระพุทธมหาอุดม จึงภิเนษกรมออกจากรัตนภูมิสพายบาตร…”

จิตร ภูมิศักดิ์ เคยเขียนอธิบายในหนังสือ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยศรีอยุธยา (สำนักพิมพ์ไม้งาม พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2526 หน้า 327-329) จะคัดมาดังนี้

ชื่อรัตนภูมินี้ เราได้พบในศิลาจารึกวัดพนมวัน ที่บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

จารึกวัดพนมวันมีหลายแห่งตามกรอบประตูปราสาทหิน แห่งที่พบชื่อรัตนภูมินี้จารึกเมื่อ พ.ศ. 1625, ห่างจากสมัยพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ราว 150 ปี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image