อยุธยาพบจารึกศรีจนาศะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จากเมืองราด อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

ภาพจากกรมศิลปากร

จารึกศรีจนาศะ เมืองศรีจนาศะ (อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา) ถูกพบโดยบังเอิญที่อยุธยา (อ. เมือง จ. พระนครศรีอยุธยา) 85 ปีที่แล้ว เมื่อ พ.ศ. 2482 จนถึงขณะนี้ยังไม่พบคำอธิบายว่าถูกขนย้ายจากสูงเนินไปอยุธยาเมื่อไร? และทำไม? แม้พยายามอธิบายแต่ไม่กระจ่าง จึงมีคำถามตามมาหลายเรื่องต้องพยายามอีกจนกว่าจะเข้าใจตรงกัน

  • จารึกศรีจนาศะ ข้อมูลมีดังนี้

ขนาดแผ่นหิ สูง 45 เซนติเมตร และกว้าง 22 เซนติเมตร

สถานที่ตั้ง ปราสาทกลางเมืองศรีจนาศะ

สร้าง 1087 ปีมาแล้ว (นับถึง พ.ศ. 2567) เมื่อ พ.ศ. 1480

Advertisement

ผู้สร้าง มงคลวรรมัน เป็นโอรส (องค์รอง) ของกษัตริย์พระนามสุนทรวรรมัน

สร้างเพื่อ ฉลองพระรูปพระชนนีเป็นพระเทวี คือ ชายาของพระศิวะ

จารึบนแผ่นหินมี 2 ด้าน ด้านที่ 1 ภาษาสันสกฤต แต่งเป็นโศลก และด้านที่ 2 ภาษาเขมร

Advertisement

เนื้อหา มีโดยสรุปดังนี้

(1.) เริ่มต้นเป็นสรรเสริญ 2 บท บทแรก สรรเสริญพระศิวะ (ศังขกร) บทหลัง สรรเสริญนางปารพตี (พระอุมา) ซึ่งรวมกับพระศิวะภายใต้รูปอรรธนารี

(2.) ต่อจากนั้นกล่าวถึงรายพระนามกษัตริย์ศรีจนาศะ ตามลำดับดังนี้ ภคทัตต์ กษัตริย์องค์แรก, สุนทรปรากรม กษัตริย์สืบจากภคทัตต์, สุนทรวรรมัน กษัตริย์สืบจากสุนทรปรากรม

กษัตริย์สุนทรวรรมันมีโอรส 2 องค์ ได้แก่ องค์พี่ คือ นรปติสิงหวรรมัน เป็นกษัตริย์ศรีจนาศะ องค์น้อง คือ มงคลวรรมัน ผู้ทรงสร้างจารึกศรีจนาศะ

  • บูชาศิวลึงค์

จารึกศรีจนาศะมีเนื้อหาเริ่มด้วยสรรเสริญพระสิวะและพระอุมา แสดงว่ากษัตริย์เมืองศรีจนาศะขณะนั้นนับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู ไศวนิกาย บูชาศิวลึงค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะ และในเมืองศรีจนาศะพบศิวลึงค์หลายองค์ในปราสาทหลายหลังจากการขุดค้นและขุดแต่งของนักโบราณคดีกรมศิลปากร

ศาสนาพราหมณ์ฮินดู แพร่หลายกว้างขวางในบ้านเมืองบริเวณลุ่มน้ำมูล โดยรับจาก 2 ทาง ได้แก่ ผ่านขึ้นไปจากรัฐกัมพูชา (บริเวณโตนเลสาบ) และรัฐละโว้ (ลุ่มน้ำเจ้าพระยา)

เมืองศรีจนาศะสมัยนั้นนับถือผีพราหมณ์พุทธ หมายความว่าไม่ได้นับถือไศวนิกายอย่างเดียว แต่นับถืออย่างอื่นพร้อมในคราวเดียวกันด้วย คือผีกับพุทธ ซึ่งเป็นปกติของบ้านเมืองทั้งอุษาคเนย์

  • ขนย้ายจารึกศรีจนาศะ

จารึกศรีจนาศะถูกขนย้ายจากสูงเนินไปอยุธยาตั้งแต่สมัยอยุธยา คงอยู่ที่นั้นมาตั้งแต่ครั้งพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นคำอธิบายของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ (ชาวฝรั่งเศส) นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีในไทยและอุษาคเนย์ ที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส 80 ปีมาแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2487 ต่อมาแปลเป็นภาษาไทย โดย ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล (พิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาค 4 โดยคณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2513 หน้า 216-220)

คำอธิบายของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ เสมือน ใบเบิกทาง ให้พบข้อมูลกว้างขวางเพิ่มเติม ดังนี้

เรื่องแรก การขนย้ายจารึกศรีจนาศะมีขึ้นได้ทั้งในสมัยอโยธยาและสมัยอยุธยา เพราะไม่พบสิ่งใดกำหนดผูกมัดว่าจะต้องสมัยอยุธยาเท่านั้น เรื่องสำคัญคือจารึกศรีจนาศะไม่ด้ถูกโจรกรรมเพื่อขายเป็นของเก่า (ตามที่พูดจากันในท้องถิ่นและในทางการบางสถานที่) แต่ถูกเชิญลงไปอยุธยาในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เรื่องหลัง ศิลาจารึกศรีจนาศะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นนำสมัยอโยธยา-อยุธยา จึงไม่ใช่เพียงแผ่นศิลามีตัวอักษรสลักไว้เท่านั้น เพราะพบโดยบังเอิญจากการขุดดินทำถนนบริเวณซากโบสถ์พราหมณ์ย่านชีกุน ซึ่งเป็นเทวสถานสำคัญมากของอยุธยา เพราะอยู่ท่ามกลางวัดใหญ่หลวงศูนย์กลางอำนาจ 2 วัด คือ วัดมหาธาตุและวัดขุนเมืองใ

หลักฐานสนับสนุนทั้งหมดอยู่ในเรื่องราวความเป็นมาหรือพัฒนาการความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ และเครือข่ายการค้าระหว่างเมืองศรีจนาศะซึ่งอยู่ที่ราบสูง บริเวณลุ่มน้ำมูล กับบ้านเมืองที่ราบลุ่ม บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา กระทั่งท้ายสุดที่ราบสูงลุ่มน้ำมูลถูกผนวกเป็นดินแดนของอยุธยา ซึ่งอาจสรุปสั้นๆ และง่ายๆดังต่อไปนี้

(1.) เมืองศรีจนาศะมีกำเนิดและเติบโตจากชุมชนบนเส้นทางการค้าทองแดง ระหว่างลุ่มน้ำโขงกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก-ท่าจีน-แม่กลอง ไปอินเดีย ราว 2,000 ปีมาแล้ว เมื่อเรือน พ.ศ. 500

(2.) เมืองศรีจนาศะ ลุ่มน้ำมูล (นครราชสีมา) เป็นเมืองใหญ่ระดับรัฐขนาดเล็ก คู่กันกับ

เมืองศรีเทพ ลุ่มน้ำป่าสัก (เพชรบูรณ์) เริ่มรับศาสนาจากอินเดีย และมีวัฒนธรรมแบบ       ทวารวดี ราว 1,500 ีมาแล้ว เรือน พ.ศ. 1000

(3.) กษัตริย์เมืองศรีจนาศะเชื่อมโยงเป็นเครือญาติกับกษัตริย์รัฐใหญ่ในกัมพูชา ส่วนเมืองศรีจนาศะเป็นศูนย์กลางชาวสยามที่มีภาพสลัก “เสียมกุก” บนระเบียงปราสาทนครวัด พ.ศ. 1650

(ชาวสยาม “ไม่ไทย” เพราะเป็นลูกผสมหลายชาติพันธุ์ “ร้อยพ่อพันแม่” แต่พูดภาษาไทไต เป็นภาษากลางสื่อสารต่างชาติพันธุ์)

(4.) พ่อขุนผาเมืองเป็นชาวสยามทายาท “เสียมกุก” ครองเมืองศรีจนาศะ แต่ถูกเรียก

เมืองราด ราว 900 ปีมาแล้ว เมื่อเรือน พ.ศ. 1700

(5.) พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด เป็น ลูกเขย กษัตริย์กัพูชา ได้รับพระราชทานของ

สำคัญรวมทั้ง พระขรรค์ชัยศรี หลังจากนั้นพ่อขุนผาเมืองมีเครือข่ายอำนาจเชื่อมโยงวงศ์เครือญาติเมืองศรีเทพ, เมืองละโว้, เมืองอโยธยา, และเมืองสุโขทัย

พบความทรงจำอยู่ในพระราชพงศาวดารเหนือว่าเชื้อสายพ่อขุนผาเมือง คือพระยาแกรก เป็นกษัตริย์ครองอโยธยา ร้อมพระขรรค์ชัยศรี (ของพ่อขุนผาเมือง) และจารึกศรี จนาศะ น่าจะถูกเชิญลงไปอโยธยาในคราวนี้

(6.) เมืองราด (ศรีจนาศะ) ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอโยธยาและอยุธยา ต่อมาอยุธยา

ในแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ สถาปนาขึ้นเป็นเมืองนครราชสีมา พ.ศ. 2011

เมืองนครราชสีมาได้รับยกย่องเป็นเมืองประเทศราช มีศักดิ์ศรีสูง ได้ถือน้ำพระพัทธ์ (น้ำพิพัฒน์สัตยา) พบหลักฐานในกฎมณเฑียรบาล สมัยอยุธายาตอนต้น

(7.) เมืองนครราชสีมาถูกย้ายไปสร้างใหม่อยู่บริเวณปัจจุบันเป็น จ. นครราชสีมา ทำให้ที่เดิมถูกเรียกเมืองโคราชเก่า (อ.สูงเนิน จ. นครราชสีมา)

[ชื่อทางการของเมืองนครราชสีมา มีคำว่า “สีมา” หลังจากนั้นถูกชาวบ้านเรียกเมืองโบราณโคราชเก่าอย่างกลายคำว่าเมืองเสมา]

  • จารึกศรีจนาศะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ความศักดิ์สิทธิ์ของศิลาจารึกศรีจนาศะ ได้แก่ (1.) มีโศลกสรรเสริญพระศิวะ (หรือพระอีวร) และพระอุมา (2.) มีรายพระนามกษัตริย์บรรพชน เสมือน เทพบิดร

แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของจารึกศรีจนาศะไม่มั่นคงเหมือนเดิม เมื่อสภาพแวดล้อมทางสังคมและการเมืองเปลี่ยนไป ได้ก่

(หนึ่ง) อโยธยาหลังรับเถรวาทแบบลังกา (นับถือพระราม) อย่างเต็มบริบูรณ์ ย่อมละเลยจารึกศรีจนาศะที่มีเนื้อความสรรเสริญพระศิว

(สอง) อโยธยาถูก ผีห่า กาฬโรคระบาด ต้องทำพิธีล้างอาถรรพณ์ด้วยการย้ายศูนย์กลางอำนาจไปที่ใหม่ น่าจะส่งผลกระทบถึงศิลาจารึกศรีจนาศะอย่างรุนแรง จึงไม่พบหลักฐานความเป็นมา

(สาม) หลังเสียกรุง พ.ศ. 2310 โบสถ์พราหมณ์ย่านชีกุนต้องปรักหักพัง ทำให้ศิลาจารึกศรีนาศะถูกถมทับเป็นเนินดินนานมากกว่า 100 ปี ต่อมาอีกนานมากถูกค้นพบจากการขุดดินทำถนน เมื่อ พ.ศ. 2482

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image