วิถีสับสนของ”ยุทธศาสตร์” โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ

แฟ้มภาพ

ความฝันของผู้นำประเทศ โดยเฉพาะผู้กุมบังเหียนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอยากเห็นชีวิตคนไทยเข้าสู่ ยุค 4.0Ž

ก่อนที่จะวางยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0Ž และใช้ความพยายามอย่างเต็มที่จะควบคุมยุทธศาสตร์ไปอีก

20 ปี ทั้งการวางโครงสร้างอำนาจที่เอื้อต่อการสานต่อ และออกกฎหมายควบคุมไม่ให้การจัดการในอนาคตพาออกไปนอกเส้นทาง พวกผู้นำหารือกันว่า ผู้คนในประเทศจะต้องพัฒนาไปในทางที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างมูลค่าของผลงานมากกว่าที่จะใช้แรงงานอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

มีความพยายามคิดโครงการขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจดิจิทัลŽ ที่เอาจริงด้วยการตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่ให้ชื่อว่า กระทรวงดิจิทัลŽ มาแทน กระทรวงไอซีทีŽ ที่ยุบไป

Advertisement

มีโครงการ สตาร์ตอัพŽ ที่ทุ่มเงินงบประมาณไปมากมายเพื่อสร้างธุรกิจยุคใหม่ที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์มาจัดการด้วยโครงข่ายเทคโนโลยี

ตามด้วยปฏิบัติการตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0Ž ที่เทเงินอีกก้อนใหญ่ลงไปในกลุ่มจังหวัด เพื่อกระจายความคิดสร้างสรรค์ลงไปสู่พื้นที่ทั่วประเทศ

พวกผู้นำฝันว่า ประเทศไทยนับจากนี้จะถูกนำเข้าสู่การสร้างงานที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนคน สร้างระบบเข้ามาจัดการธุรกิจให้เกิดความเชื่อมโยงแบ่งหน้าที่กันทำ แทนที่ธุรกิจจะรวมศูนย์อยู่กับบริษัทใดบริษัทหนึ่งอย่างผูกขาดเหมือนที่ผ่านมา

Advertisement

เป็นความพยายามที่จะสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่เพื่อการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างกระจายโอกาสมากกว่า

ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในเครือข่ายของระบบธุรกิจแบบใหม่ เหมือนที่กูเกิล ยูทูบ อูเบอร์ เฟซบุ๊กทำให้ต่างคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเดียวกัน

ในพื้นที่เดียวกัน คนคนหนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิต หรือผู้บริการ ต่างคนต่างบริหารจัดการในส่วนของตัวไป

ที่คือความฝันของผู้นำที่ต้องบอกว่างดงาม

เพียงแต่ความงดงามนั้นจะเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดในความฝัน ขณะที่ความจริงเป็นอีกเรื่องหนึ่งหรือไม่ ยังเป็นคำถามที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา

ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน ให้ต่างคนต่างรับผิดชอบในบทบาทที่ตัวเองเลือกนั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นง่ายๆ

ที่จำเป็นที่สุดคือการสร้างระบบคิดขึ้นมาใหม่

ระบบคิดที่สำคัญที่จะทำให้หล่อหลอมความหลากหลายให้ดำเนินร่วมกันได้ โดยแต่ละคนตระหนักในบทบาทของตัวเองนั้น คือระบบคิดที่จะต้องยอมรับในความเชื่อที่ต่างกัน

เมื่อในขณะที่แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ วางยุทธศาสตร์กันใหญ่โต และเอาจริงเอาจังว่าจะต้องทำงานกันถึง 20-30 ปี เพื่อทำให้มีความคิดสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย และเชื่อมโยงความหลากหลายนั้นเข้าด้วยกัน เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจยุค 4.0 ให้ประเทศ

แต่ในการจัดการกับวิถีชีวิตของผู้คนในทางสังคม และการเมือง กลับเต็มไปด้วยเรื่องราวที่เอาแต่บีบบังคับให้ผู้คนเห็นไปในทางเดียวกัน มีการใช้กำลังและอำนาจเข้าไปจัดการความแตกต่างอย่างเด็ดขาด กระทั่งความแตกต่างทางความเชื่อที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต่างกันมาตั้งแต่ระดับกรรมพันธุ์ จนถึงการหล่อหลอมเลี้ยงดู และปมชีวิตที่กดดันความเป็นไป

การใช้อำนาจข่มกดให้ความแตกต่างมีไม่ได้ในสังคม ย่อมส่งผลต่อระบบความคิดความเชื่อ

ความเกรงกลัวที่ทำให้ไม่กล้าแสดงออกในความคิดที่ต่างออกไป ไม่ได้ส่งผลต่อสังคมเท่านั้น แต่ลามถึงผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในทุกทาง

ธรรมชาติของการสร้างระบบคิดมนุษย์เป็นเช่นนั้น

ผู้มีกรรมพันธุ์ของนักอนุรักษนิยมย่อมยากที่จะเข้าไปใช้ระบบคิดแบบผู้มีกรรมพันธุ์แบบเสรีนิยมได้อยู่แล้ว

ยิ่งมีการใช้กำลังอำนาจมากดข่มไว้อีก

ความหวังว่าความคิดสร้างสรรค์ที่จะสนองตอบธุรกิจยุคดิจิทัล กิจการแบบสตาร์ตอัพ สำหรับโลกยุค 4.0 ย่อมเป็นเรื่องยากจะเป็นไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image