สุจิตต์ วงษ์เทศ : อีสาน ‘ชาวสยาม’ ต้นทางความเป็นไทย

พระพุทธไสยาสน์ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัด นครราชสีมา พระพุทธรูปหินทรายสมัยทวารวดีอายุกว่า 1,000 ปี ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

คนไทยและความเป็นไทยมีต้นตออยู่อีสาน “โขง-ชี-มูล” พบหลักฐานสนับสนุนแข็งแรงนับไม่ถ้วนทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และมานุษยวิทยา

[ข้อมูลส่วนหนึ่งอยู่ในบทความเรื่อง อีสาน “ไม่ไทย” ต้นทาง “ไทย” จากอีสาน ใน มติชน รายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2568 หน้า 9]

ภาษาและวัฒนธรรมไท-ไต-ไทย เป็นพลังดึงดูดและหล่อหลอมคนหลายชาติพันธุ์ในอีสาน โขง-ชี-มูล ซึ่งถูกเรียกว่าชาวสยาม แสดงตนเป็นไทยหรือคนไทย เพื่อประโยชน์ทางการค้าและการเมือง

ชาวสยามดั้งเดิม มีบ้านเมืองเริ่มแรก อยู่ลุ่มน้ำมูล โดยมีศูนย์กลางใหญ่อยู่เมืองเสมา (ศรีจนาศะ) ริมลำตะคอง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 1500

ADVERTISMENT

วัฒนธรรมสำคัญของดินแดนสยามจากลุ่มน้ำมูล แผ่ลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ผ่านลุ่มน้ำป่าสัก) ได้แก่ ปรางค์-ปราสาท, พิธีกรรม, และรามเกียรติ์ ฯลฯ

ปรางค์-ปราสาท ต้นตอจากปราสาทพิมาย (อ.พิมาย จ.นครราชสีมา) และปราสาทพนมรุ้ง (อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. บุรีรัมย์)

ADVERTISMENT

(1.) เป็นต้นแบบให้พระปรางค์เมืองศรีเทพ (อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์) และพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (อ.เมืองฯ จ.ลพบุรี)

(2.) แล้วส่งให้พระปรางค์ในอยุธยา ได้แก่ พระปรางค์วัดราชบูรณะ และพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์

นอกจากนั้น เอนก สีหามาตย์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เขียนบอกไว้ในบทความวิชาการ [พิมพ์ในนิตยสาร ศิลปากร (ฉบับมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 หน้า 57-69)]สรุปว่าปราสาทบริเวณลุ่มน้ำมูลในอีสาน ยังเป็นต้นแบบให้ปรางค์นางผมหอม (อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี), ปรางค์ปู่จา (อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย) และปรางค์วัดเจ้าจันทร์ (อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย)

พิธีกรรม กวนเกษียรสมุทร ถือน้ำพระพัทธ์ พบภาพสลักตามปราสาทบริเวณลุ่มน้ำมูล เป็นต้นแบบการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ในราชสำนักอยุธยา (พบหลักฐานในกฎมณเฑียรบาล) ซึ่งเป็นต้นทางโขน

รามเกียรติ์ พบมากบนภาพสลักที่ปราสาทพิมายและปราสาทอื่นๆ บริเวณลุ่มน้ำมูล เป็นต้นแบบให้อยุธยานับถือรามเกียรติ์ แล้วถวายพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระราม โดยมีการละเล่นในพิธีกรรมสำคัญคือโขนละคร ได้ท่าเต้นฟ้อนจากโขง-ชี-มูล พบหลักฐานเป็นภาพเขียนอายุหลายพันปีมาแล้วแสดงท่ากบบนผนังถ้ำและเพิงผา

ระเบ็ง การละเล่นในราชสำนักอโยธยา-อยุธยา ได้ต้นแบบจากเซิ้งบั้งไฟบริเวณลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล

สำเนียง ลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล เป็นต้นทางสำเนียง “เหน่อ” ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ถึงชายฝั่งทะเลตะวันออก และคาบสมุทรตอนบน

น่าจะมีอื่นๆ อีกมาก เช่น “ปลาร้า” ภาคกลาง ได้จากคำเขมร ผ่านสำเนียงโคราช ลุ่มน้ำมูล

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image