เพราะเป็น Fan ถึงอยาก Fic (เพราะมัน Fin) โดย กล้า สมุทวณิช

เร็วๆ นี้มีกรณี “ขบ กันพอช้ำๆ ในวงการนักเขียนรุ่นเดอะกับนักเขียนรุ่นเด็ก กล่าวคือนักเขียนอาวุโสผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งออกแถลงการณ์ (ด้วยตัวพิมพ์ดีดแท้ๆ เสียด้วย!) ประกาศห้ามผู้ใดนำนิยายขนาดยาวเรื่องเอกของท่านไปเขียนแต่งเติมขึ้นใหม่เป็นอันขาดหาไม่แล้วจะดำเนินคดีตามกฎหมายเท่าสิทธิที่ท่านมีอย่างถึงที่สุด

การนำเอา “โลก” หรือ “เนื้อเรื่อง” จากนวนิยาย ภาพยนตร์ หรือเกมมาแต่งต่อเติมใหม่ด้วยจินตนาการของผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้แต่งเดิมอาจจะเป็นได้ทั้งการต่อเรื่องต้นฉบับออกเป็นภาคเป็นตอนใหม่ การเขียนเนื้อเรื่องแยกของบางตัวละครหรือบางเหตุการณ์ การแต่งเนื้อเรื่องใหม่ทั้งหมดแต่ใช้ “จักรวาล” หรือระบบของเรื่องต้นฉบับ หรือแม้กระทั่งนำเรื่องเดิมมาตีความใหม่

มีชื่อเรียกการเขียนแนวนี้ว่า Fanfic ที่มาจากคำว่า Fan Fiction ที่แปลว่า “เรื่องแต่งจากผู้นิยมติดตาม”

แฟนฟิกนี้เป็นแนวหนึ่งของวงการเขียนนิยายหรือฟิกชั่นของนักเขียนรุ่นใหม่ๆ ที่เขียนเรื่องแล้วเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ มีแฟนประจำของตัวเองคอยติดตามกัน จากนั้นหากงานเรื่องไหนได้รับความนิยมมากพอก็อาจจะจัดพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มบ้างแบบจำกัดจำนวนให้เฉพาะผู้สั่งจองโดยตรงกับผู้เขียนผ่านช่องทางออนไลน์ หรืออาจจะมีเกินบ้างนิดหน่อยเพื่อขายในงานหนังสือหรือการ์ตูนเฉพาะกลุ่มไม่ใช่ส่งไปจำหน่ายในร้านหนังสือทั่วไปเหมือนหนังสือระบบสำนักพิมพ์ที่นักเขียนรุ่นเดิมๆ อาจจะคุ้นเคยกัน

Advertisement

ว่ากันตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว แฟนฟิกก็เฉียดเข้าไปในโทนเทาอ่อนถึงเทาเข้มกันไม่ต้องสงสัย เพราะการเขียนเรื่องต่อจากเรื่องต้นฉบับ อย่างน้อยก็ต้องอาศัย “ระบบ” จากเรื่องของเขา เช่น ชื่อบุคคล การอ้างอิงเนื้อเรื่องบางส่วนใน “จักรวาล” หรือ “ระบบ” ของเรื่อง ส่วนจะเทาเข้มเทาอ่อน ขึ้นกับว่าเอาเนื้อหาตน้ ฉบับเขามาใช้ในเรื่องแต่งของแฟนเท่าไร ยิ่งอ้างอิงนำมาใช้มาก ยิ่งเข้าข่ายเป็นการดัดแปลงหรือลอกเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์มากขึ้นเท่านั้น

เช่นถ้าเราเขียนถึงโรงเรียนเวทมนตร์สักเรื่อง ก็อาจจะยังไม่ผิดอะไร เพราะเพียงไอเดียหรือพล็อตนั้นไม่ได้รับการคุ้มครอง (หาไม่คงไม่มีใครเขียนเรื่องผีดูดเลือดหรือฆาตกรรมในห้องปิดตายได้อีกในโลก) แต่ถ้าอ้างถึงว่าโรงเรียนนั้นมีโครงการแลกเปลี่ยนกับโรงเรียน “ฮอกวอตส์” แห่งประเทศอังกฤษ นี่ก็เริ่มเข้าโทนเทาอ่อนของการ “ดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์” แล้ว หรือถ้าถึงขั้นมีตัวละครแฮร์รี่ พอตเตอร์ และผองเพื่อนมาร่วมแสดงในเรื่องแต่งของเรา เรื่องก็จะเข้าโทนเทาแก่มากขึ้นเรื่อยๆ

และถ้าถึงเอาขนาดยกเนื้อความบางส่วนจากนิยายเรื่อง “แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์” ตอนที่แข่งควิดดิชแล้วให้ตัวละครของเราไปลงแข่งกับทีมกริฟฟินดอร์ด้วย ก็ย่างเข้าสู่โทนเทาดำไปด้วยข้อหาทั้ง”ดัดแปลง” และ ทำซ้ำ”

Advertisement

ในต่างประเทศ งานแฟนฟิกปรากฏได้ ทั้งในรูปแบบของงานเขียนหรือวาดเป็นการ์ตูน บางเรื่องวาดเสียเกือบเหมือนต้นฉบับเลยทีเดียว ในประเทศญี่ปุ่นนั้นเหมือนมีจารีตว่า การ์ตูนจะวัดความสำเร็จได้ด้วยว่ามีผู้เขียน “แฟนฟิก” ออกมาหรือยัง ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมักจะไม่เอาเรื่อง ถ้าแฟนฟิกนั้นจะเผยแพร่หรือจำหน่ายในแวดวงผู้นิยมด้วยกันแคบๆ เท่านั้น เว้นแต่แฟนฟิกนั้นจะกระทบแกนเรื่องหลักจนกระทบกระเทือน หรือเริ่มหากำไรเป็นการสาธารณะมากเกินไป เช่นที่ครั้งหนึ่งผู้ถือลิขสิทธิ์ในการ์ตูนโดราเอมอนเคยห้ามการพิมพ์เผยแพร่แฟนฟิก “ตอนจบของโดราเอมอน” เพราะเป็นการพิมพ์ขายล็อตใหญ่ และเป็นการทำให้การ์ตูนอมตะเรื่องนี้มีตอนจบ

หรือเช่นที่สมัยหนึ่ง จอร์จ ลูคัส เคยอนุญาตให้มีการเขียนเนื้อเรื่องของ Star Wars ก่อนหรือหลังเนื้อเรื่องหลักของภาพยนตร์ Episode 4-5-6 อย่างไรก็ได้ เรื่องแต่งเหล่านั้นได้รับการยอมรับเป็น “จักรวาลขยาย” หรือ Expand

universe เว้นข้อสงวนว่าห้ามเขียนถึงภูมิหลังของอนาคิน สกายวอล์กเกอร์ ผู้จะกลายมาเป็นดาร์ธ เวเดอร์ เพราะเขาจะเป็นผู้เขียนและสร้างเป็นภาพยนตร์เองในไตรภาคย้อนต้น (ซึ่งได้สร้างไปแล้วเป็น Episode 1-2-3)

ข้อสำคัญที่ต้องระลึกคือ งานแฟนฟิกนั้น เกิดจาก “ความรัก” ในงานต้นฉบับ รักจนรู้สึกว่าเสพอย่างเดียวไม่อิ่มเสียแล้ว อยากเขียนอยากแต่งต่อให้เรื่องที่รักนั้นใหญ่โตซับซ้อนขึ้น เรียกว่า เพราะเป็น Fan หรอกนะก็เลยเขียน Fic เพราะมัน Fin

“แฟนฟิก” จึงเป็นเหมือนบาปอันยอมรับได้ของเจ้าของลิขสิทธิ์ อาจจะด้วยเหตุนี้ก็ได้ที่ “ผู้เสียหาย” คือเจ้าของลิขสิทธิ์ส่วนหนึ่งไม่ติดใจเอาความ เว้นแต่มันล่วงล้ำก้ำเกินเนื้อหาตัวงานหรือทางทำมาหาได้กันจริงๆ เท่านั้น การยินยอมให้มีแฟนฟิกยังมีอรรถประโยชน์ที่ได้แถมมา คือ เป็นการโฆษณาชื่อเสียงของงานต้นฉบับ กับเป็นการเปิดจักรวาลขยาย ให้โลกของเรื่องเล่าของผู้สร้างสรรค์ไปเจริญเติบโตต่อไปในดินแดนจินตนาการอื่น เหมือนกับเราสร้าง

โลกหรือจักรวาลไว้ให้ผ้อู ื่นไดร้ ่วมแหวกว่ายใช้จินตนาการต่อยอดไปได้อย่างไม่สิ้นสุดด้วย

หรือถ้าจะกล่าวกันให้กว้างกว่านั้น การ”ดัดแปลง” งานต้นฉบับ ในอีกทางคือการต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์ได้เช่นกัน อย่างนวนิยายที่เขียนด้วยภาษาไทยเรื่องแรก คือ “เรื่องความไม่พยาบาท” ของ “หลวงวิลาศปริวัตร” (เหลี่ยม วินทุพราหมณกุล) ก็ดัดแปลงมาจากโครงเรื่องของ “ความพยาบาท” หรือ Vendetta นวนิยายอังกฤษของ Marie Corelli หรือแม้แต่นิยายไทยระดับอมตะขึ้นหิ้งหลายๆ เรื่อง ของนักประพันธ์ชั้นครู ก็เป็นที่รู้กันอยู่ในวงการอย่างเปิดเผยว่าแปลงเรื่องมาจากนวนิยายชื่อดังของต่างประเทศ บางเรื่องแปลงเข้ากับบริบทไทยๆ ได้กลมกล่อมเอาพระพุทธศาสนาไปแทรกลงได้แบบผู้ขียนฝรั่งต้นฉบับคงทึ่ง หรือเรื่องไทยเขียนได้ยืดยาวพิสดารกว่าต้นฉบับก็มี สิ่งเหล่านี้หากเอาแว่นตา “ลิขสิทธิ์” ไปมองเสียแล้ว ก็คงได้เห็นหนังสือสีดำบ้าง เทาแก่บ้าง เต็มตู้หนังสือชั้นครูนิยายระดับชาติไปหมด

แต่นั่นแหละสำหรับผู้ประพันธ์ งานเขียนก็เหมือนบุตรธิดาที่ให้ปฏิสนธิออกมาจากสมอง คลอดออกมาผ่านปลายนิ้ว เขาย่อมรักย่อมหวงของเขา หากมีใครเอาเรื่องเอาโลกของท่านไปต่อยอดแล้วตัวเอกกลายเป็นชาวรักร่วมเพศซึ่งก็ไม่ได้ผิด แต่ผู้เขียนต้นเรื่องไม่ชอบใจ หรือให้พ่อหนุ่มผู้ทรงศักดิ์ที่อุตส่าห์สร้างขึ้นมาเป็นผู้ดีเพียบพร้อมในนิยายของเรากลับมีเนื้อเรื่องแยกบอกเบื้องหลังที่ขี้แพ้เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ อย่างนี้ถ้าผู้เขียนเกิดรับไม่ได้ จะหวงกันด้วยกลไกแห่งกฎหมายก็คงไม่ผิดอะไรเช่นกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image