บทเรียน จากจีน เมื่อ ราชสำนักหันซ้าย “โลก” หัน “ขวา”

ผลงานของ “หวังหลง” ผ่านหนังสือ “ราชสำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา” เหมือนกับเป้าหมายหลักคือประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ

เห็นได้จากในแต่ละบท ในแต่ละตอน

เริ่มจาก จักรวรรดิที่หลงทาง ความแตกต่างในการปกครองประเทศของจักรพรรดิ

คังซีกับชาร์ปีเตอร์ที่ 1

Advertisement

ตามมาด้วย ความแตกต่างระหว่างขุนนางใหญ่กับนายกรัฐมนตรี ละครชีวิตที่โศกเศร้าระคนขบขันของหลี่หงจางและอิโต ฮิโระบุมิ รวมถึงยุคสมัยแห่งความพลิกผันของสองสตรี พระนางซูสีไทเฮามีจุดไหนสู้พระราชินีวิกตอเรียไม่ได้

เป็นการจับเอา “ตัวละคร” ในประวัติศาสตร์มา “เปรียบเทียบ”

กระนั้น เมื่ออ่านลงไปในรายละเอียดก็ค่อยๆ ประจักษ์ว่ามิได้ดำเนินไปในเชิง “ประวัติศาสตร์” เปรียบเทียบ

หากยังมี “กลิ่นอาย” แห่ง “วรรณคดี” เปรียบเทียบ

จึงมิได้มีแต่การหยิบยกเอาบันทึกของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสมาอ้างอิงเท่านั้น หากแต่ยังมีกวีวัจนะอันเฉียบคมจากหลี่ไป๋ในยุคแห่งราชวงศ์ถังมายืนยันด้วยว่า

เดินทางยากลำบาก ทางแยกมากมาย ควรเลือกไปทางใด

col01270259p1

ถามว่า “หวังหลง” เป็นใคร รากฐานความเป็นมาของเขาเป็นอย่างไร สะสมความรู้ความจัดเจนในทางประวัติศาสตร์และในทางวรรณกรรมมาอย่างไร

อ่านจากข้อเขียนของ “หวังซู่เจิง” เรื่อง “ราชวงศ์สวรรค์ที่ยืนลังเลอยู่บนทางแยก”

ก็รับรู้ว่าเขาเป็น “นักเขียนหนุ่ม”

ขณะเดียวกัน เมื่ออ่านจากข้อเขียนของ “สื่อเหนียนข่านไฉ” เรื่อง “ทางแยกมากมายควรเลือกไปทางใด”

ก็รู้ว่า “เป็นนักเขียนทหารที่อายุน้อย”

ไม่เหมือนนักเขียนทหารคนอื่นๆ อีกมากที่ให้ความสนใจแต่เรื่องยุทธศาสตร์การทหาร นายทหารผู้เป็นตำนาน หรือวิพากษ์วิจารณ์ส่วนดีส่วนเสียของยุทธการในการรบเพียงอย่างเดียว

“สือเหนียนข่านไฉ” ซึ่งนำเสนอก่อนไปสู่เนื้อหาของเรื่องยังบอกด้วยว่า

หวังหลงก็เหมือนนักวิเคราะห์ประวัติ

ศาสตร์หลายคนในยุคปัจจุบัน ชอบเปรียบเทียบประเทศจีนกับญี่ปุ่น

ความโน้มเอียงของหวังหลงก็คือ มองเห็นด้านที่สำเร็จของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิรูปในสมัยเมจิ อันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ขณะเดียวกัน ก็มองเห็นด้านที่ล้มเหลวของจีน โดยเฉพาะในการปฏิรูปอู้ซวี

ทำให้การเข้าสู่ “สมัยใหม่” ของจีนดำเนินไปอย่างขรุขระ มากด้วยปัญหาและวิกฤต

อาจเป็นเพราะ “หวังหลง” อยู่ในยุคแห่ง

การเปิดประเทศ มองเห็นส่วนอันคึกคักมากด้วยพลังของ “ทุนนิยม” ซึ่งกำลังเบ่งบานในจีน

เมื่อมองย้อนกลับไปยัง “อดีต” จึงมากด้วยความเสียดาย

เสียดายที่ราชวงศ์ชิงเปิดรับความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์น้อยเกินไป ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดกว้างและปรับตัวของญี่ปุ่นยิ่งเห็นได้เด่นชัด

เสียดายและเศร้าที่ความรู้ในแบบ

“สำนักหรู” เป็นเครื่องฉุดรั้ง “การพัฒนา” เติบใหญ่

จุดที่ไม่เพียงแต่ “หวังหลง” จักต้องสำเหนียกเป็นอย่างสูง หากแต่สังคมจีนก็จักต้องตระหนักและพึงสังวรคือ ความเป็นจริงของปัจจัย “ทุนนิยม”

ทุนนิยมมิได้เข้ามาเฉพาะ “พลังการผลิต” อันก้าวหน้าและพัฒนาเท่านั้น

หากแต่ด้วยพลังการผลิตที่เปลี่ยนแปลงและเคยมีบทบาททะลุทะลวงไปยังความล้าหลังของระบอบศักดินา ยังมีผลสะเทือนเป็นอย่างสูงไปยังระบอบสังคมนิยมอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้พ้น

นั่นก็เห็นได้จากผลสะเทือนในทาง “การเมือง”

เมื่อเกิด “พลังการผลิต” อย่างใหม่ก็ย่อมกระทบไปยัง “ความสัมพันธ์ทางการผลิต” สิ่งเหล่านี้เคลื่อนไหวในลักษณะอันเป็นรากฐานและมูลฐาน และดำรงอยู่อย่างเป็นโครงสร้างพื้นฐานและย่อมจะมีผลไปยังโครงสร้างส่วนบน

นั่นก็คือ ความสัมพันธ์ในเชิงสัมพันธ์ระหว่าง “เศรษฐกิจ” กับ “การเมือง” และระหว่าง “การเมือง” กับ “เศรษฐกิจ”

เหมือนที่เคยเกิด “ปรากฏการณ์” ในแบบ “เทียนอันเหมิน”

 

หนังสือ “ราชสำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา” จึงเป็นกระบวนการศึกษา “อดีต” อันมีเป้าหมายอยู่กับ “ปัจจุบัน”

เป็นปัจจุบันอันจีนผ่านพ้นบทเรียนและประสบการณ์จากยุคแห่งความโกลาหลของการปฏิวัติวัฒนธรรม เป็นบทเรียนที่จะต้องเข้าสู่การเดินหน้าเข้าสู่สังคมนิยมแบบจีนอย่างสร้างสรรค์

ที่สำคัญก็คือ วิธีวิทยาของ “หวังหลง” ในการศึกษาและสรุป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image