แนวโน้ม การเมือง “เลือกตั้ง” กับ รัฐประหาร เอกภาพ ขัดแย้ง

 

การประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ทาง 1 สะท้อนถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ของการเลือกตั้ง

ทาง 1 สะท้อนถึงแนวโน้มการสิ้นสุดแห่งยุค “รัฐประหาร”

คำว่า “แนวโน้ม” มีความหมายที่เด่นชัดในลักษณะของการยืดหยุ่นเป็นอย่างสูง ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะกำหนดอย่างแน่ชัด

Advertisement

เพียงแต่บ่งบอกว่า “ทิศทาง” จะเป็นไปอย่างนั้น

อย่างเช่นการระบุว่า แนวโน้มและความเป็นไปได้ของการเลือกตั้ง มิได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นโดยฉับพลันทันใด

อย่างน้อยภายในปี 2560 ไม่มีการเลือกตั้งอย่างแน่นอน

Advertisement

กระนั้น หากฟังจาก นายวิษณุ เครืองาม ประสานเข้ากับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ก็พอจะมองได้ว่า โอกาสที่การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2561 มีความเป็นไปได้สูง

เช่นเดียวกับบทสรุปถึงการสิ้นสุดแห่งยุค “รัฐประหาร”

หากดูจาก “รัฐธรรมนูญ” ก็พอจะประเมินได้ว่า ยังอีก “นาน”

 

ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับนับแต่บรรยากาศการเคลื่อนไหวในห้วง “ประชามติ” เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 แสดงให้เห็นความเป็นจริงของ “รัฐธรรมนูญ” อย่างเด่นชัด

รัฐธรรมนูญนี้ต้องการการสืบทอด “อำนาจ” อย่างแน่นอน

อำนาจในที่นี้มิใช่อำนาจของพรรคการเมืองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ หากแต่เป็นอำนาจอันขึ้นมาจากรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

สัมผัสได้จากเรื่อง “วุฒิสภา” สัมผัสได้จากเรื่อง “องค์กรอิสระ”

ยิ่งกว่านั้น รูปธรรม 1 อันโจ่งแจ้งอย่างไม่ปิดบังอำพรางก็คือ การคง “มาตรา 44” ไว้ในบทเฉพาะกาลมาตรา 267

ไม่ว่าจะเป็นคำสั่ง “เดิม” หรือที่จะออกมา “ใหม่” แสดงให้เห็นว่า เจตจำนงของ คสช.ก็คือ จะยังคุมอำนาจทางการเมืองเอาไว้อย่างมั่นคงจนกว่าจะเกิดความมั่นใจ เท่ากับยืนยันว่า“การเลือกตั้ง” อาจมีบรรยากาศเหมือน “ประชามติ”

โดยพื้นฐานคนที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการเมืองภายใต้ “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560” ก็จำเป็นต้องเรียนรู้

เรียนรู้และทำความเข้าใจ

 

กระนั้น ทิศทางโดยรวมของการเมืองก็แสดงออกถึงแนวโน้มอันมีลักษณะ “ใหม่” อย่างที่สรุปในเบื้องต้น นั่นก็คือ แนวโน้มของ “การเลือกตั้ง”

ตามมาด้วยแนวโน้มของการสิ้นสุดยุค “รัฐประหาร”

ลักษณะความสัมพันธ์ของ 2 ส่วนนี้ดำเนินไปอย่างเป็นเอกภาพและขัดแย้งกันโดยธรรมชาติและสภาพความเป็นจริง

“การเลือกตั้ง” มีผลต่อรากฐานการ “รัฐประหาร”

ขณะเดียวกัน กระบวนการ “รัฐประหาร” อันเริ่มจากเดือนกันยายน 2549 ต่อเนื่องมายังเดือนพฤษภาคม 2557 ก็พยายามเข้าควบคุม ครอบงำและบงการทิศทางของ “การเลือกตั้ง” ให้เป็นไปอย่างที่ตนต้องการ

นี่คือสภาพ “ความเป็นจริง” ในทางการเมือง ในทางสังคม

ความเป็นจริงนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดกระบวนการทางการเมือง อย่างน้อยก็จากเดือนเมษายน 2560 เรื่อยไปจนถึงหลังการเลือกตั้งในเดือนสิงหาคม 2561

อาจจะยาว หรืออาจจะไม่เนิ่นยาว ล้วนเป็นไปได้

 

การตระเตรียมในทางความคิดก็คือ การตระเตรียมว่าการดำรงอยู่ของยุค “รัฐประหาร” มีลักษณะยาวนาน

1 ไม่เป็นไปตามความต้องการเฉพาะหน้าของใคร ขณะเดียวกัน การดำรงอยู่ของยุค “รัฐประหาร” นี้แหละคือ

ปัจจัยก่อให้เกิดทั้งเอกภาพและความขัดแย้ง

เอกภาพเป็นการต่ออายุ ความขัดแย้งพยายามบั่นทอน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image