ยุทธวิธี ลับลวง กรณี หมุดคณะราษฎร จะเป็น ‘ผลเสีย’

 

คล้ายกับสถานการณ์ย้าย “หมุดคณะราษฎร” ในห้วงแห่งการประกาศและบังคับใช้ “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560” จะทำให้ “คณะราษฎร” กลายเป็นจำเลย

จำเลยในทางการเมือง จำเลยในทางความคิด

แต่เมื่อปฏิบัติการย้ายหมุดครั้งนี้ 1 ดำเนินไปอย่างที่เรียกว่า “ปฏิบัติการลับ” อาการลับๆ ล่อๆ จึงกลายเป็นจุดเด่น

Advertisement

ก่อให้เกิดความสงสัย นำไปสู่ความแคลงใจ

ขณะเดียวกัน 1 การนำเอา “หมุดใหม่” เข้ามาแทนที่แม้จะถอดจากบางส่วนแห่ง “จักรีดารา” แต่เมื่อประสานเข้ากับ “ประชาชนสุขสันต์หน้าใส”

ก็ก่อให้เกิดลักษณะอันเรียกว่า “หัวมังกุ ท้ายมังกร”

ยิ่งมีความพยายามปิดงำและซ่อนเร้น “ปฏิบัติการ” ครั้งนี้มากเพียงใด ยิ่งก่อให้เกิด “ปัญหา” ติดตามมามากเพียงนั้น

ที่คิดว่าเป็น “โจทก์” กลับจะกลายเป็น “จำเลย”

ที่คิดว่าเป็น “จำเลย” กลับจะแปรเปลี่ยนมาเป็น “โจทก์”

 

หากศึกษาคำว่า “ลับ” อย่างสัมพันธ์และเปรียบเทียบกับคำว่า “ลับๆ ล่อๆ” ในเชิงภาษาและอย่างประสานกับความเป็นจริงที่เห็นและเป็นอยู่

ก็จะเข้าใจอาการแปรเปลี่ยน พลิกผันของสถานการณ์

พจนานุกรม ฉบับมติชน ให้คำอธิบายความหมายของคำว่าลับ 1 ที่อยู่พ้นสายตา 1 ใช้โดยปริยาย หมายถึงไม่ได้กลับมาเห็นกันอีก

1 ที่ปกปิด เช่น ความลับ เอกสารลับ

ยิ่งเมื่อปฏิบัติการลับเรียบร้อยแล้ว ยิ่งสำแดงอย่าง “ลับๆ ล่อๆ” นั่นก็คือ เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง หรือเป็นไปในแบบผลุบๆ โผล่ๆ

ก็จะนำไปสู่สภาพในแบบ “ลับลมคมใน”

ในเมื่อเจ้าของพื้นที่อย่างเขตดุสิต กทม. ก็ตอบไม่ได้ ในเมื่ออธิบดีกรมศิลปากรซึ่งดูแลทรัพย์แผ่นดินอันเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ก็ไม่สามารถอธิบาย ในเมื่อแม้กระทั่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็บ่ายเบี่ยง

ในที่สุด “รัฐบาล” เองนั่นแหละที่กลืนไม่ได้ คายไม่ออก

 

ความน่าสนใจมิได้อยู่ที่ลักษณะ “เปิดเผย” ของข่าวสารที่เลื่อนไหลโดยเว็บเพจ “หมุดคณะราษฎร” หากอยู่ที่ความพยายามออกมาเปิดโปง โจมตีมากกว่า

เป็นบทบาทของคนที่ไม่ชอบ “24 มิถุนายน 2475”

เป็นบทบาทของคนที่เคียดแค้น ชิงชัง สถานการณ์การยึดอำนาจ เปลี่ยนแปลงการปกครองที่กระทำโดย “คณะราษฎร”

คนกลุ่มนี้มีอยู่อย่างเป็น “รูปธรรม”

หากไม่มีอยู่จะเกิดสถานการณ์รัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญในเดือนเมษายน 2476 หรือหากไม่มีอยู่จะเกิดสถานการณ์ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ในเดือนตุลาคม 2476 หรือ

น่าเศร้าที่คนกลุ่มนี้ก็เหมือนกับหน่วยปฏิบัติ “เปลี่ยนหมุด”

นั่นก็คือ ดำเนินอย่างลับๆ ล่อๆ ไม่กล้าเปิดเผยตัว สำนวนภาษาที่ใช้จึงหยาบคาย ก้าวร้าว มากด้วยอารมณ์

การไม่เปิดเผยตัวจึงกลายเป็น “ยุทธวิธี” หลัก

แม้ว่าจะเป็นวิธีการในแบบ “คนขี้ขลาด” หรือ “หมาลอบกัด” ก็ตาม

 

สถานการณ์ “หมุดคณะราษฎร” เป็นสถานการณ์ประวัติศาสตร์ สัมพันธ์กับวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แนบแน่น

ไม่ว่าจะเห็นด้วย ไม่ว่าจะไม่เห็นด้วยความโอ่อ่า เปิดเผย

การใช้เหตุผล การใช้เอกสาร มาโต้แย้ง ต่อสู้กัน เพื่อลับคมในทางปัญญา ในทางความคิด จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างสูง

ไม่ควร “ลอบกัด” ไม่ควรชก “ใต้เข็มขัด”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image