โคนันทิวิสาล : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

การบริหารตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับองค์กร นับแต่การวางแผน จนถึงการประเมินผลลัพธ์ความสำเร็จนั้น คนŽ หรือมนุษย์มีความสำคัญยิ่ง ในการสร้างคุณค่าหรือค่านิยมขององค์กร สิ่งหนึ่งที่จำเป็นคือ การโน้มน้าวบุคคลหรือพนักงาน สมาชิกในครอบครัว ชุมชน องค์กรให้เข้ามามีร่วม (Participating) ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมใจ ร่วมมือ ร่วมทำ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และปรารถนาการใช้ชีวิต ร่วมกันสร้างสรรค์ความสำเร็จให้องค์กร คือ การจูงใจŽ

คำว่า การจูงใจŽ มีความหมาย คือ การสร้างอิทธิพลทางความเชื่อ ทัศนคติ ความสนใจ แรงจูงใจหรือพฤติกรรม การจูงใจŽ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง เพราะงานดีๆ สร้างความเจริญของบ้านเมืองที่มีคุณค่าแม้แต่นิดเดียวก็จะช่วยทำให้สังคมและประเทศชาติ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้น คนที่เจริญแล้วจึงไม่ยอมหยุดที่จะเดินหน้า มุ่งมั่นสู่อุดมการณ์ของผู้เจริญ

คนที่เจริญแล้วต้องเรียนรู้ การจูงใจŽ เพื่ออะไร? เพื่อจูงใจให้ผู้อื่นเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมสร้าง องค์กรŽ หรือ หน่วยงานŽ แม้ร่วมกันสร้างชาติบ้านเมืองของเราให้เจริญ

อีกมิติหนึ่งของ การจูงใจŽ หมายถึง การโน้มน้าวใจที่เจริญ จงทำให้ผู้รับการจูงใจเห็นความสำคัญและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิด พฤติกรรม อันเกิดจากความร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมใจ โดยมี เป้าหมายŽ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้สำเร็จร่วมกัน อันเป็นสิ่งที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

Advertisement

การจูงใจนั้นมีหลายรูปแบบ แต่สำหรับคนที่เจริญแล้วต้องจูงใจด้วย เป้าหมายŽ ที่มีคุณค่าเป็นหลักและมีการเรียนรู้วิธีการอย่างเหมาะสม และมีผลทำให้การจูงใจผู้คนมาร่วมในอุดมการณ์ที่ดีงามเพื่อให้เกิดพลังเกิดการเปลี่ยนแปลง จะประสบผลสำเร็จได้มี 3 แนวทาง กล่าวคือ

1.จูงใจให้รักองค์กรหรือ รักชาติŽ คนที่เจริญแล้วผู้เขียนเชื่อว่ามีต้นทุนชีวิตมีใจปรารถนาอยากเห็นองค์กร หรือประเทศชาติ ที่ตนอาศัยอยู่ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และรักองค์กร รักชาติอย่างจริงใจ สร้างความสามารถที่ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่จูงใจให้มีการร่วมมือ ร่วมใจกัน ทำสิ่งดีๆ เพื่อพัฒนาองค์กร หรือบ้านเมืองของเรา คนดีที่เจริญแล้วมักจะรักองค์กรด้วยการนำเนื้อหาสาระที่ดีงามมีค่าไปถ่ายทอดอย่างมีกลยุทธ์ มีวิธีการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจ และยินดียอมรับประเด็นเนื้อหาดังกล่าวที่ดีงามนั้นได้

สิ่งสำคัญตัวสื่อสารด้วยเหตุและผล จนทำให้ผู้อื่นเห็นความสำคัญว่า ต้องช่วยกันเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือประเทศของเราไปสู่ทางที่ดีขึ้น และชี้ให้คนในองค์กรหรือคนในชาติ ตระหนักว่า เขาŽ เป็นผู้มีส่วนสำคัญของประเทศชาติหรือองค์กร การให้เหตุผลต้องไม่ตั้งอยู่บนอคติส่วนตัว แต่ให้เหตุผล และเนื้อหาที่หนักแน่น ยืนยันความตั้งใจที่ตนมีอยู่อย่างจริงใจ รวมถึงการแสดงอารมณ์ที่สอดคล้องกับเนื้อหา สามารถแสดงอารมณ์แห่งความตั้งใจจริงในการรักองค์กรหรือรักชาติ ต้องการเห็นปัญหาของชาติถูกแก้ไขต้องการสร้างชาติให้เจริญ ต้องการพัฒนาองค์กรหรือประเทศชาติของเราให้เจริญ หลุดพ้นความยากจน เป็นอารมณ์ที่สัมผัสถึงความตั้งใจจริง จะจูงใจคนให้เข้ามาร่วมอุดมการณ์ให้จงได้และมากยิ่งขึ้น

Advertisement

2.จูงใจให้ใช้ชีวิตแบบผู้เจริญ : คนที่ดีส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตอย่างเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว มักดำเนินการชีวิตอย่างมีเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงองค์กรสังคมไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการจูงใจนี้จะมีประสิทธิภาพติดมาจาก แบบอย่างชีวิตŽ หรือ ต้นแบบที่ดีŽ เป็นส่วนสำคัญ

คนที่เจริญแล้วต้องใช้ชีวิตให้คนเห็น แบบอย่างŽ ที่เจริญมาจากภายใน จนเกิดความน่าเชื่อถือ คนที่เจริญจึงต้องนำหลักธรรม มาใช้ในการดำเนินชีวิตทั้ง การคิด การพูด การทำŽ เพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่า อุดมการณ์ผู้เจริญŽ ไม่ใช่เป็นเพียงพูดปาวๆ หรือเป็นเพียงความตั้งใจที่จับต้องไม่ได้เป็นแบบนามธรรม แต่ควรต้องนำไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมได้ เมื่อคนที่เจริญ ผู้สร้างแรงจูงใจมีหรือเป็นแบบอย่างชีวิตที่ดี ก็จะได้รับความน่าเชื่อถือ และมีอิทธิพลชีวิตอย่างมากในการจูงใจให้ผู้อื่นอยากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหมือนผู้เจริญอื่นๆ มากขึ้น

3.จูงใจให้มีส่วนสร้างองค์กรหรือสร้างชาติ คนที่เจริญแล้วไม่ทำงานคนเดียว เพราะหากเป็นเช่นนั้นจะไม่เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ การสร้างองค์กรหรือสร้างชาติ ต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกๆ คนในองค์กรหรือทุกคนในชาติ และทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญร่วมกันจนแสดงออกเป็นการ ร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจŽ จึงจะถือว่า เป็นความสำเร็จในการสร้างชาติหรือสร้างองค์กรหนึ่งๆ ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงและยั่งยืน

ดังนั้น คนที่เจริญแล้วจึงต้องยืนหยัดการสื่อสารอุดมการณ์และความตั้งใจ และเชิญชวน ทุกคนŽ ในชาติ หรือองค์กรให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร หรือประเทศชาติเรา และจูงใจให้ร่วมกันทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือบ้านเมืองนี้ คนในชาติเห็นและมองถึงผลลัพธ์แห่งความสำเร็จของการสร้างองค์กรหรือสร้างชาติร่วมกัน

และสามารถขับเคลื่อนใจคนในชาติจำนวนมากมาสู่ความเป็น ผู้เจริญŽ ให้ได้ในที่สุด

คนที่เจริญแล้วมักเข้าใจถึงเหตุผลและความสำคัญของ การจูงใจŽ เพราะเรามีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือการสร้างชาติหรือการสร้างองค์กรให้ไปถึงความเป็นอุดมคติที่เจริญ งานดังกล่าวนี้จึงเป็นงานที่มีคุณค่าและมีความสำคัญและการสร้างชาติหรือองค์กรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในชาติ หรือทุกคนในองค์กร จึงต้องมีการ จูงใจŽ ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนด้วย เราจึงต้องเชิญชวนให้ทุกคนมามีส่วนร่วม และจูงใจด้วยเป้าหมายร่วมกัน อันเดียวกันเพื่อให้ร่วมกันทำให้บ้านเมืองหรือองค์กร ทำให้เกิดได้รับการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งของการจูงใจจะสำเร็จได้ดีหรือไม่ คือ การเป็น ต้นแบบของผู้นำความคิดŽ ในสังคมไทยการที่จะจูงใจเผยแพร่อุดมการณ์ที่เจริญจะมีพลังมากยิ่งขึ้น ที่สามารถเป็น ต้นแบบŽ โดยคนในสังคมเลียนแบบ และสามารถถ่ายทอดอิทธิพลทางความคิดคนต่อคนสู่ส่วนใหญ่ในสังคมได้

ในสังคมจะมีคนอยู่ 11 กลุ่ม ที่เรียกว่า ผู้นำทางความคิดŽ และ ผู้นำทางพฤติกรรมŽ ที่ทรงอิทธิพลต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้านของคนในสังคม เป็นแบบอย่างแห่งค่านิยมและมีผลต่อแนวความคิด ตลอดจนพฤติกรรมของคนในสังคม ทั้ง 11 กลุ่มนี้ได้แก่ 1.พ่อ แม่และครอบครัว 2.ครู อาจารย์ 3.หมอ 4.พระหรือผู้นำทางศาสนา 5.สื่อมวลชน 6.นักการเมือง 7.ผู้นำองค์กร ผู้นำชุมชน 8.นักกฎหมาย 9.นักเขียน 10.นักร้อง นักแสดง ศิลปิน 11.ผู้นำทางเศรษฐกิจ

นักปรัชญาในอดีต ได้มีการวิเคราะห์และเชื่อกันว่าในความเป็น มนุษย์Ž จะมีสัญชาตญาณหนึ่งที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา นั่นคือ สัญชาตญาณการเลียนแบบ การเลียนแบบพฤติกรรม จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง สามารถจะส่งผ่านและถ่ายทอดอิทธิพล ทั้งในความคิด การกระทำ ให้กลายเป็นการกระทำเลียนแบบอย่างเป็นธรรมชาติต่อผู้อื่นได้มากกว่าเพียงคำพูดพร่ำสอน หรือหลักทฤษฎีที่ร่างไว้อย่างสวยหรู หมายความว่า เขาสามารถทำในสิ่งที่ผู้อื่นต้องการให้ทำได้ง่ายขึ้น หากมีคนทำแบบอย่างให้ได้ดูเพื่อที่เขาจะประยุกต์เลียนแบบทำตาม ดังนั้น 11 กลุ่มคนดังกล่าวอยู่ในฐานะผู้นำทางความคิด คนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทใดก็ตาม หากเขาได้แสดงออกอย่างเต็มที่ในการเป็นต้นแบบทั้งในด้านการดำเนินชีวิต วิธีคิด วิธีการสื่อสาร และวิธีจูงใจ พัฒนาตนเองปีแล้วปีเล่า ให้เป็นผู้เจริญ เป็นแบบอย่างในทุกพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่ จนโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์จนเกิด ศรัทธาŽ แก่ผู้คนในชุมชน องค์กร สังคม

เกิดการยอมรับปฏิบัติตามได้อย่างเนียนๆ

ผู้เขียนเชื่อว่าการนำทางความคิด ทรงพลังยิ่งกว่าการนำที่เกิดจากอำนาจการนำโดยการใช้อำนาจ อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ฉับพลัน แต่ไม่ยั่งยืน ขณะที่การนำทางความคิดนั้น เมื่อเกิดความเข้าใจ ตระหนักและยอมรับแล้ว ย่อมอยู่ได้อย่างยาวนาน ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องนำให้คนเป็นผู้เจริญ ด้วยการถ่ายทอดความเป็นผู้เจริญ ทั้งอุดมการณ์ หลักการ แนวคิด และแนววิถีต่างๆ ของคนอารยะ โดยใช้กระบวนการนำความคิดสู่การกระทำมี 3 ขั้นตอน คือ 3 CŽ ได้แก่ C1=การจูงใจ (Convincing) C2=การทำให้คนปักใจแน่วแน่ (Convicting) C3=การทำให้คนผูกพันตัว (Committing)

ขณะเดียวกันในแต่ละสังคม หรือบางส่วนของประเทศในบางพื้นที่ คนที่ยังไม่เจริญพอ : อาจจำเป็นต้องมีการใช้ อำนาจŽ ร่วมด้วย โดยเลือกใช้อำนาจเพื่อให้คนทำงานมี 6 ขั้นตอน หรือ 6 CŽ ดังนี้ คือ 1.การสั่งการ (Command) 2.ไม่ใช่การฝืนใจ (Coerce) 3.การใช้เกณฑ์ (Conscript) 4.ไม่ใช่การควบคุม (Control) 5.การกำกับ (Comply) 6.ไม่ใช้การบังคับ (Compel) โดยการส่งเสริมให้คนทำงานด้วยความ เต็มใจŽ ให้มากที่สุด

ท้ายสุดนี้ ผู้เขียนเอง และหลายๆ ท่าน ที่เป็นแฟนมติชนส่วนใหญ่คงมีความเห็นตรงกันว่า กระบวนการจูงใจŽ ขอให้อยู่บนฐานของ ความจริงแท้Ž ของปรัชญาปัจเจก โดยจูงใจด้วยสิ่งที่เป็นความจริงที่มีเหตุมีผล ไม่ใช่การหลอกลวง ปลิ้นปล้อน ขอไปที หรือไม่มีการชี้ชวนเชื่อ ขณะเดียวกันก็จะต้องอยู่บนฐาน เสรีภาพที่พึงประสงค์Ž (ภาษาการเมืองก็คือ มีความเป็นประชาธิปไตย) เพราะการจูงใจไม่ใช่การบังคับ บังคับความคิด บังคับจิตใจ แต่ทุกคนมีเสรีภาพในการคิด การใช้เหตุผล และการแสดงออกสามารถเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ย่อมได้ ขณะเดียวกัน…


การใช้อำนาจที่เจริญŽ เพื่อขับเคลื่อนเสริมสังคมให้ก้าวหน้าอย่างเป็นระบบ มีระเบียบวินัยด้วยกระบวนการนุ่มนวล เนียนๆ ไม่เป็นการบังคับฝืนใจ ซึ่งตรงนี้สำคัญยิ่งคือการใช้อำนาจ ให้เกิดเป็น คุณŽ ก็คือ สั่งการแล้วช่วยทำให้คนทำด้วยความเต็มใจ เพื่อผลลัพธ์ทำงานให้มีประสิทธิภาพ

เยี่ยงในนิทานชาดกเรื่องโคนันทิวิสาลŽ ไงเล่าครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image