สุจิตต์ วงษ์เทศ : มหายาน บริเวณต้นแม่น้ำมูล นครราชสีมา ถึงบุรีรัมย์

พระโพธิสัตว์สำริด ที่บริษัทเอกชนในต่างประเทศประมูลขาย โดยระบุว่ามาจาก อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์

พระโพธิสัตว์สำริดพบที่ปราสาทปลายบัด (อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์) มีข่าวครึกโครมต่อเนื่อง (ในมติชนรายวัน)
เป็นหลักฐานสำคัญยืนยันว่าตอนต้นลุ่มน้ำมูล ราวหลัง พ.ศ. 1000 นับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายาน

พระโพธิสัตว์ เป็นประติมากรรมที่นิยมทำในกลุ่มนับถือพุทธศาสนามหายาน (ถ้านับถือเถรวาทนิยมทำพระพุทธรูป)
องค์ใหญ่สุด พระโพธิสัตว์สำริดพบที่บ้านโตนด (ใกล้ปราสาทพนมวัน) จ. นครราชสีมา

ต่อไปข้างหน้าพุทธมหายานจะมีศูนย์กลางใหญ่และสำคัญมากอยู่ที่เมืองพิมาย (ปราสาทพิมาย อ. พิมาย จ. นครราชสีมา)
เมืองพิมาย เป็นศูนย์กลางของกษัตริย์ราชวงศ์มหิธร สืบเชื้อสายไปเป็นกษัตริย์กัมพูชา ผู้สถาปนานครวัด (พราหมณ์) และนครธม (พุทธมหายาน)

ตอนต้นลุ่มน้ำมูล นอกจากเมืองพิมายแล้ว ยังมีเมืองเสมา (อ. สูงเนิน จ.นครราชสีมา) เป็นเมืองสำคัญของศรีจนาศะ (ชื่อนี้มีในจารึก)
[ศรีจนาศะ นักวิชาการอธิบายว่าเป็นมัณฑละ หมายถึงกลุ่มบ้านเมืองแว่นแคว้น หรือรัฐน้อยใหญ่ ที่รวมตัวเป็นเครือข่ายหรือการเมืองแบบเครือญาติ]
เมืองเสมา นับถือพุทธศาสนาที่ผสมผสานระหว่างเถรวาทกับมหายาน เกี่ยวดองกับบ้านเมืองแว่นแคว้นหรือรัฐน้อยใหญ่อื่นๆ บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูล [ตั้งแต่ลำตะคลอง (ที่นครราชสีมา) ถึงลำปลายมาศ (ที่บุรีรัมย์) รวมทั้งภูพระอังคาร, ภูพนมรุ้ง, ภูปลายบัด]

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image