การเมือง การทหาร ศึกษา บทเรียน การเมือง ผ่าน คำสั่ง 66/2523

ปัญหาและความวุ่นวาย “ทางทหาร” ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังจะเป็น “บทเรียน” อันทรงความ หมายยิ่ง

เป็น “ความหมาย” ในทาง “การเมือง”

สงสัยหรือไม่ว่า เหตุใด ปัญหาและความวุ่นวาย “ทางทหาร” ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเหมือนกับมิได้เป็นความหมายในทาง “การทหาร”

คำตอบ 1 เพราะว่ายังไม่ปรากฏ “แสงสว่าง” แม้กระทั่ง ณ ปลายอุโมงค์

Advertisement

คำตอบ 1 เพราะว่าเรากำลังละเลย“บทเรียน” อันทรงความหมายยิ่งจากการนำคำสั่งที่ 66/2523 มาประสานกับสถานการณ์โลกในการแก้ปัญหาสงครามกลางเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)

ถามว่า คำสั่ง 66/2523 มีรากที่มาจากฐาน “ความคิด” ใด

ถามว่า ไม่ว่าปัญหาอันเกี่ยวกับการก่อการร้ายของคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าปัญหาอันเกี่ยวกับผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดย “มูลฐาน” เป็นปัญหาอะไร

Advertisement

คำตอบก็คือ ปัญหา “การเมือง”

แท้จริงแล้วปัญหาคอมมิวนิสต์เริ่มจากความคับแค้นทาง “จิตใจ” แท้จริงแล้วปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มจากความคับแค้นทาง “จิตใจ”

คำถามก็คือ แล้วทำไมกลายเป็นปัญหาทาง “การทหาร”

จําเป็นต้องยอมรับว่า หนทางเลือกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หนทางเลือกของผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาจากพื้นฐานอย่างน้อยก็ 2 ส่วนประกอบเข้าด้วยกัน

1 พื้นฐานภายใน 1 พื้นฐานภายนอก

พื้นฐานภายในไม่เพียงแต่เป็นภายในขององค์กรจัดตั้งเหล่านี้เท่านั้น หากยังหมายรวมถึงสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ภายในประเทศ ภายในพื้นที่ด้วย

ขณะที่พื้นฐานภายนอกมาจาก “ต่างประเทศ” อย่างเป็นด้านหลัก

ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของผู้นิยมคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พวกเขาล้วนอยู่ในสภาพ “คับแค้นทางจิตใจ” เพราะว่าอยู่ภายใต้อำนาจ “เผด็จการ” ของรัฐบาล

ข้อเรียกร้องของพวกเขาไม่เพียงแต่ไม่ได้

รับความสนใจ ผ่อนคลาย หากแต่ยังกดขี่ บีบคั้น

ตรงนี้แหละที่บทเรียนและความจัดเจนจาก “ต่างประเทศ” จะเข้ามามีส่วน พรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้บทเรียนจากจีน ผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้

บทเรียนการต่อสู้ของหลายประเทศมุสลิม โดยเฉพาะตะวันออกกลาง

เมื่ออยู่ในเงื่อนไขทางสังคมอันเหมาะสม “หนทาง” จากต่างประเทศก็เติบใหญ่ ชูช่ออรชรขึ้นภายในเนื้อดินของสังคมประเทศไทย

คำถามก็คือ หากใช้ปืนต่อปืน หากใช้มาตรการทางทหาร จะทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยหรือไม่

บทเรียนจากกรณีของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) นับว่ามีคุณค่า

มากด้วยความหมายยิ่งในทางการเมือง

ปัจจัยแห่ง “สันติภาพ” ปัจจัยแห่งความสงบมาจาก 2 ส่วน

ส่วนหนึ่งเป็นผลสะเทือนจากความขัดแย้ง แตกแยก ภายในขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ส่วนหนึ่งเป็นจุดอ่อนและข้อด้อยภายในองค์กรคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ

เมื่อมีคำสั่งที่ 66/2523 ออกไปจึง“โป๊ะเชะ”

เพราะว่าคำสั่งนี้ยึดกุมหลัก “การเมืองนำการทหาร” อาศัยท่วงทำนอง “ประชาธิปไตย” มาเป็นอาวุธ มาเป็นเครื่องมือ

สร้างความรู้สึกเชื่อมั่น สร้างความรู้สึกไว้วางใจ

เงื่อนไขและบรรยากาศในแบบ “ประชาธิปไตย” นั้นเองนำไปสู่การวางปืน และหากยังจะต่อสู้ก็ต่อสู้ภายใต้วิถีแห่งสันติ ประชาธรรม

มิใช่ในแนวทางแบบ “เลือดต้องล้างด้วยเลือด” เช่นอดีต

จะสามารถทำเช่นนี้ได้ต้องทำความเข้าใจต่อสภาพทางสังคม สภาพภายในประเทศ และที่สำคัญต้องตระหนักในบทบาทและความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการทหาร โดยเฉพาะลักษณะชี้นำระหว่างการเมืองกับการทหาร

จำเป็นต้องยึดกุมหลัก “การเมืองนำการทหาร” การเมืองชี้ขาดอย่างเที่ยงแท้ มาตรฐาน

แท้จริงแล้ว การต่อสู้ที่เห็นและเป็นอยู่ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันล้วนอยู่ภายในปริมณฑลแห่ง “การเมือง”

แม้ว่าเหตุการณ์บานปลายกระทั่งกลายเป็น “สงคราม” แต่อย่าลืมนิยามของท่านเคลาซวิตซ์ที่ว่า สงครามคือความต่อเนื่องของการเมือง ที่เลนินนำมาต่อยอดว่าเป็นการเมืองที่หลั่งเลือด

ในที่สุด “การเมือง” นั่นแหละจะเป็นจุดยุติของทุก “ความขัดแย้ง”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image