สุจิตต์ วงษ์เทศ : รื้อวัดพญากง เอาอิฐขาย ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา

วัดพญากง มีอายุเก่าแก่ขนาดไหน? ไม่พบหลักฐานบอกตรงๆ ได้แต่คาดเดาว่าเก่าแก่ก่อนอยุธยา โดยพิจารณาจากบริบทแวดล้อมด้านอื่นๆ

ครั้นจะศึกษาจากซากศิลปะสถาปัตยกรรมก็ทำไม่ได้ เพราะถูกทำลายหมดแล้ว โดยได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายจากกรมการศาสนาให้รื้อวัดเก่า เอาอิฐขาย

“กรมการศาสนาได้ทำสัญญาอนุญาตให้พ่อค้าขุดรื้อเอาอิฐขึ้นจำหน่ายหาผลประโยชน์ วัดนี้จึงถูกทำลายไปเสียสิ้น” นายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เขียนบอกไว้เมื่อ พ.ศ. 2510 ในหนังสือเรื่องพระพุทธรูปศิลาขาวฯ มีรายละเอียด ดังนี้

“การพิจารณาแบบอย่างศิลปและสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม บัดนี้ก็เป็นอันหมดทางที่จะพิจารณากันได้ เพราะที่วัดพระยากง รวมทั้งวัดพระยาพาน ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกันนักนั้นด้วย กรมการศาสนาได้ทำสัญญาอนุญาตให้พ่อค้าขุดรื้อเอาอิฐขึ้นจำหน่ายหาผลประโยชน์ วัดนี้จึงถูกรื้อทำลายไปเสียสิ้น แม้แต่พระเศียรพระพุทธรูปศิลาขาว ยังถูกทุบทำลายและนำมาขายไว้ในเวิ้งนาครเขษม”

Advertisement

[จากหนังสือ พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี โดย ธนิต อยู่โพธิ์ กรมศิลปากรพิมพ์แจก พ.ศ. 2510 หน้า 16]

ผังวัดพระยากง 1
วัดพญากง อยุธยา ถูกรื้อเกือบหมดวัด ขายอิฐเก่า โดยได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนายุคนั้น (ภาพเมื่อ พ.ศ. 2510 ของกรมศิลปากร จากหนังสือเรื่อง พระพุทธรูปศิลาขาวฯ)
ผังวัดพระยากง2
วัดพญากง อยุธยา ถูกรื้อเกือบหมดวัด ขายอิฐเก่า โดยได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนายุคนั้น (ภาพเมื่อ พ.ศ. 2510 ของกรมศิลปากร จากหนังสือเรื่อง พระพุทธรูปศิลาขาวฯ)

 

ซากวัดพญากง
สภาพวัดพญากง (ต. สำเภาล่ม อ. เมืองฯ จ. พระนครศรีอยุธยา) ที่มีประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปศิลาขาว ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ที่นักวิชาการเรียกร้องให้มีการขุดแต่งและบูรณะให้เป็นโบราณสถานสำคัญของ จ. พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม (ภาพและคำบรรยายภาพจาก มติชน วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2559 หน้า 6)

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image