เลือก’อนาคตประเทศ’ โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ

แฟ้มภาพ

หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาŽ ประกาศ “ผมเป็นนักการเมืองที่อดีตเคยเป็นทหารŽ” ทำให้เกิดการประเมินการเมืองใหม่

จากที่ก่อนหน้านั้นเชื่อกันว่าการเลือกตั้งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ภายในปีนี้ แม้ พล..อ.ประยุทธ์Ž จะประกาศไว้แล้วว่าประชาชนจะได้เข้าคูหากาบัตรกันในเดือนพฤศจิกายนก็ตาม ด้วยว่าหลังจากนั้นผู้มีอำนาจทั้งหลายยังอ้างอยู่เรื่อยว่า ”ยังขัดแย้งก็ยังไม่เลือกตั้ง”Ž และ “ขัดแย้งหรือไม่”Ž เป็นเรื่องที่ตัดสินสถานการณ์กันโดยคนกลุ่มเดียว

มันง่ายที่จะอ้างความไม่สงบ เพื่อเป็นเหตุไม่เลือกตั้ง

แต่วันนี้ไม่ใช่วันนั้นอีกแล้ว เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์Ž ประกาศตัวเป็นนักการเมือง อันหมายถึงเดินลงมาเป็นส่วนหนึ่งของ เกมŽ ที่จะต้องสู้กันคนอื่น เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐ

Advertisement

นักวิเคราะห์การเมืองฟังธงว่า พล.อ.ประยุทธ์Ž จะสวมบทบาท หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติŽ ที่ใช้อำนาจได้เต็มที่ได้ลำบากขึ้น

เพราะ ”ต่างคนต่างเป็นนักการเมือง การจะใช้อำนาจอย่างเอาเปรียบคนอื่นที่ต้องสู้บนเวทีเดียวกัน จะเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักว่าไม่ชอบธรรมเพราะเล่นเกมแบบเอาเปรียบคนอื่นŽ”

แม้จะมีเหตุผลมากมายที่จะเอามาอ้าง แต่การถกเถียงเรื่องความชอบธรรมในฐานะคนบนเวทีเดียวกันจะรุนแรงขึ้น

Advertisement

สถานการณ์ไม่เหมาะที่จะใช้อำนาจในแบบที่ขึ้นกับตัวบุคคลมากกว่ากติกาที่ใช้ร่วมกันอีกแล้ว

และสถานการณ์ที่ต่างคนต่างต้องถือว่าตัวเองเป็นนักการเมือง ซึ่งอย่างไรเสียแรงผลักให้ต้องมีสำนึกที่เห็นประชาชนเป็นใหญ่จะเกิดขึ้น

และที่สุดจะบีบให้ต้องเดินไปสู่การเลือกตั้งเร็วขึ้น ด้วยความได้เปรียบจะยังคงมีอยู่ต่อเมื่อยังรักษาความชอบธรรมไว้ได้ หากวันเวลาทำให้ความชอบธรรมค่อยๆ หมดไป จะจำเป็นต้องเร่งวันที่ให้ประชาชนตัดสินใจ ก่อนที่ความชอบธรรมจะไม่มีเหลือ

แต่อย่างไม่ก็ตาม ไม่ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้า

แต่การเลือกตั้งครั้งหน้า การตัดสินใจเลือกใครของประชาชนมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง

ด้วยว่าถึงวันนี้ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นการแข่งขันกันระหว่าง ”นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน”Ž กับ “นักการเมืองที่รอโอกาสวาสนาจากการแต่งตั้งŽ”

หรือจะว่าให้ง่ายขึ้น คือระหว่าง นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสากลŽ กับ นักการเมืองคนนอกŽ

ที่ทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีความน่าสนใจอย่างสูงยิ่งอยู่ที่ ถึงวันนี้ประชาชนได้รับรู้แล้วอย่างซาบซึ้งว่าระหว่าง “รัฐบาลของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสากล ที่มีกลไกยึดโยงแนบแน่นกับประชาชนŽ กับ อำนาจรัฐที่มาจากอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับประชาชนŽ”

การบริหารจัดการประเทศแบบไหนเอื้อต่อประโยชน์ของประชาชนมากกว่า

ก่อนหน้านั้น แม้การรับรู้ในประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองของประชาชนจะเป็นคนละเรื่องกับผลการเลือกตั้งได้ ด้วยมีกลไกที่ทำให้การตัดสินใจเบี่ยงเบนไป ไม่ว่าจะด้วยความเข้าใจผิด หรืออะไรก็ตาม

แต่ในวันนี้ ความเบี่ยงเบนนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แม้จะการเตรียมกลไกเพื่อจัดการไว้อย่างไรก็ตามเนื่องจากโลกของเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้ประชาชนเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น ประชาชนสื่อสารและฟังกันเองมากกว่าอำนาจรัฐจะเข้าถึงและควบคุมได้เหมือนเมื่อก่อน

เป็นเรื่องสนใจยิ่งว่า ประเทศไทยที่ประชาชนมีพลังในการตัดสินใจด้วยความรู้สึกนึกคิดของตัวเองมากขึ้น จนเชื่อว่าไม่มีใครควบคุมบงการได้

ผลการเลือกตั้งของประชาชนในยุคสมัยเช่นนี้จะออกมาอย่างไร

จะเลือก “คนใน”Ž หรือ “คนนอกŽ”

”ในอำนาจประชาชน”Ž หรือ ”นอกอำนาจประชาชนŽ”

การเลือกตั้งครั้งหน้าไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ประชาชนที่รู้แล้ว มีประสบการณ์แล้วว่า “อำนาจแบบไหนให้ผลอย่างไรกับชีวิตตัวเอง”Ž

จะตัดสินใจให้อนาคตประเทศเป็นแบบไหน

………………

สุชาติ ศรีสุวรรณ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image