สุจิตต์ วงษ์เทศ : ชานกำแพงพระนคร กรุงเทพฯ แหล่งประวัติศาสตร์สร้างสรรค์อนาคต

มองจากมุมสูงเห็นเสาชิงช้า วัดสุทัศน์ ถัดมาด้านหน้าเป็นวัดราชนัดดา วัดเทพธิดา ฯลฯ และถัดออกมาอีกเป็นแนวใบเสมากำแพงเมืองที่ทอดยาวต่อเนื่องถึงป้อมมหากาฬ ถัดนอกกำแพงเป็นชุมชนชานกำแพงพระนคร เคยมีวิกลิเกพระยาเพชรปาณี (ภาพโปสการ์ดสมัย ร.6 พ.ศ. 2462 ของสินชัย เลิศโกวิทย์ คัดจากสูจิบัตรลิเก “พระยาเพชร” ป้อมมหากาฬ ณ ลานชุมชนป้อมมหากาฬ 10 พฤศจิกายน 2548 หน้า 12-13)

ชุมชนป้อมมหากาฬ กรุงเทพฯ ควรได้รับการสร้างสรรค์เป็นมิวเซียมมีชีวิตโดยเลือกสรรดูแลรักษาไว้เป็นประวัติศาสตร์สังคมของการสถาปนากรุงเทพฯ เพราะมีหลักฐานหลายอย่างด้วยกัน ได้แก่
1. สถานที่เสด็จตรวจการก่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ของ ร.1 และวังหน้า
2. ชุมชนชานกำแพงพระนคร เหลือแห่งเดียวในไทย
3. วิกลิเกและกำเนิดลิเกแห่งแรกของไทย สมัย ร.5 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชา นุภาพเคยเสด็จทอดพระเนตรลิเก แล้วมีพระนิพนธ์เล่าไว้ในสาส์นสมเด็จ
4. ชุมชนบ้านไม้โบราณของกรุงเทพฯ ชั้นในที่ไม่มีอีกแล้ว
ประวัติศาสตร์ คือ อนาคต ความเป็นมาของพื้นที่ชานกำแพงพระนคร กรุงเทพฯ เป็นประวัติศาสตร์สังคมที่มีพลังผลักดันคนทุกรุ่นมีจินตนาการสร้างสรรค์สังคมไทยในอนาคต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image