ปฏิมา ความคิด พิน็อกคิโอ เด็กเลี้ยงแกะ จินตภาพ สังคม

การออกมาเตือนในเรื่อง “พิน็อกคิโอ” ของทีมงานโฆษก คสช.ไม่เพียงแต่ 1 ยอมรับในการดำรงอยู่ของการล้อเลียนผ่าน “พิน็อกคิโอ”

หากแต่ 1 ยังเท่ากับเน้นบทบาทและความหมาย

ในด้านหนึ่งจึงเป็นการยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างอุปมาแห่ง “พิน็อกคิโอ” เข้ากับเป้าหมายแห่งอุปไมยอันมาจากกลุ่ม “รวมพลคนอยากเลือกตั้ง”

จึงยิ่งทำให้ “ปฏิมา” แห่ง “พิน็อกคิโอ” มีความแจ่มชัด

Advertisement

แจ่มชัดว่าหมายความว่าอย่างไร แจ่มชัดว่าการยกเรื่องนี้ขึ้นมาของกลุ่ม “รวมพลคนอยากเลือกตั้ง” หมายความถึงใคร

ตรงนี้เองที่ “คสช.” จำเป็นต้องแสดง “บทบาท”

บทบาทในที่นี้จึงเป็นบทบาทในการอรรถาธิบายและตีความ บทบาทในที่นี้จึงเป็นความพยายามที่จะยุติ ระงับยับยั้งมิให้บานปลาย

Advertisement

คำถามก็คือ เป็นไปได้หรือ

อย่าลืมเป็นอันขาดว่าการดำรงอยู่ของ “พิน็อกคิโอ” ในสังคมเป็นการดำรงอยู่อย่างไร สัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของ “เด็กเลี้ยงแกะ” อย่างไร

“พิน็อกคิโอ” จึงเป็นไวพจน์แห่ง “เด็กเลี้ยงแกะ”

ทั้งหมดนี้ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลและผลสะเทือนของ “นิทาน” หากแต่ยังตอกย้ำถึงบทบาทของ “ภาพยนตร์”

นั่นคือ การแปร “นามธรรม” ให้เป็น “รูปธรรม”

และหากว่าความสามารถในการแปรนี้ดำรงอยู่อย่างเป็นที่ยอมรับของสังคม ผลก็คือทำให้การดำรงอยู่ดำเนินไปในลักษณะอันเป็น “ตัวแทน”

นั่นก็คือ ตัวแทนในทาง “ความคิด”

จึงไม่แปลกที่เมื่อมีการนำเอาปฏิมาแห่ง “พิน็อกคิโอ” หรือปฏิมาแห่ง “เด็กเลี้ยงแกะ” สอดสวมเข้าไปกับใครในสังคม

จะจุดติดหรือไม่จึงอยู่ที่การยอมรับ

การล้มล้างความคิด การล้มล้างความเชื่อ ไม่สามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการออกคำสั่ง หากแต่จะต้องกระทำโดยกระบวนการทางสังคม

1 ต้องชี้ให้เห็นอีกด้าน

นั่นก็คือ การตั้งสมญาว่าใครเป็นดัง “พิน็อกคิโอ” หรือเป็นดัง “เด็กเลี้ยงแกะ” ดำเนินไปในเชิงให้ร้ายป้ายสี ไม่มีความเป็นจริงรองรับ

หากมีความเป็นจริงรองรับ ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ข้อกล่าวหาตกไป

ขณะเดียวกัน 1 คนที่ถูกกล่าวหา คนที่ตกเป็นเป้าจะต้องละลายพฤติการณ์ในแบบ “พิน็อกคิโอ” หรือในแบบ “เด็กเลี้ยงแกะ” ของตน

ให้ปรากฏในโฉมใหม่ ที่เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่โกหก หลอกลวง

หากยังมีพฤติกรรมในแบบโกหกซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลอกลวง ปลิ้นปล้อน เอาตัวรอดไปวันๆ ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนบทสรุปในลักษณะรวบยอดจากสังคมได้

เจ้าตัวนั่นแหละจักต้องปรับปรุง แก้ไข

จําเป็นต้องพิจารณาประเด็นอันเกี่ยวกับ “พิน็อกคิโอ” และเกี่ยวกับ “เด็กเลี้ยงแกะ” จากสภาพความเป็นจริงและสภาพการดำรงอยู่ในทางสังคม

เพราะว่าอยู่ๆ มิใช่ว่า “ปฏิมา” นี้จะเกิดขึ้นเอง

ตรงกันข้าม ปฏิมาในลักษณะนี้ดำรงอยู่บนพื้นฐานแห่งพฤติกรรมสะสมที่โกหก หลอกลวง ปั้นน้ำเป็นตัว กระทั่งก่อรูปขึ้นเป็น “จินตภาพ” ในทางสังคม

เข้าลักษณะชาวบ้านเขารู้กันทั่วนั่นเอง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image