บทสรุป “วันเลือกตั้ง” โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ

แฟ้มภาพ

การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไร ยังเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบที่ให้ความมั่นใจได้ว่าจะเป็นไปตามนั้น แม้แต่คำตอบที่ได้จาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เป็นทั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีก็ยังไม่มีน้ำหนักที่ทำให้คนทุกฝ่ายเชื่อได้

จากที่เคยบอกว่าเดือนพฤศจิกายน 2561 เปลี่ยนไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ก็มีประเด็นตามมาว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกว่า กฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2 ฉบับคือที่มาของ ส.ส.และที่มาของ ส.ว.ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

ความเห็นในเรื่องนี้ของ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ น่าสนใจอย่างยิ่ง

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ชี้ประเด็นให้เห็นว่า “เป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่างกฎหมายแล้วไม่มั่นใจการกระทำของตัวเอง จนต้องส่งให้ ครม.เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความŽ”

Advertisement

ความน่าสนใจในเรื่องนี้อยู่ที่ประเด็นที่นายนิพิฏฐ์ชี้ให้เห็นว่า “ทั้งที่เสียงโหวตของ สนช.เองเป็นเอกฉันท์Ž”

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ในช่วงหลังหันมาวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของผู้ครองอำนาจรัฐในปัจจุบันอย่างติดตามการกระทำใกล้ชิด โดยเฉพาะวิธีการจัดการกับอำนาจ ขยายความว่า ”ทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นนี้ เขาเรียกอภินิหารทางกฎหมาย โดยไม่มีใครไปทำอะไรเขาได้ เพราะทุกอย่างถูกวางแผนไว้หมดแล้ว เราจึงต้องเดินตามที่ถูกบังคับให้เดินเท่านั้นŽ”

ความขยายนี้เป็นมุมมองที่น่าคิด โดยเฉพาะเรื่องที่ ทุกอย่างถูกวางแผนไว้หมดแล้ว เราจึงต้องเดินตามที่ถูกบังคับให้เดินเท่านั้นŽ

เพราะการทำงานของคณะผู้บริหารชุดนี้นิยามไว้ในนาม ”แม่น้ำ 5 สาย”Ž อันประกอบด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), คณะรัฐมนตรี (ครม.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สายที่ 5 นี้หมดวาระไป

เป็นที่รู้กันว่าองค์กรแห่งแม่น้ำ 5 สายนี้ถูกออกแบบมาทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน เพียงแต่แบ่งบทบาทกันทำ ทุกความเคลื่อนไหวทุกการตัดสินใจมีการวางแผนร่วมกันว่าองค์กรไหนจะเดินอย่างไร เพื่อให้สอดรับหรือนำไปในทิศทางที่ต้องการ ที่เป็นไปตามแผนก็ดำเนินไปในลักษณะเป็นปี่เป็นขลุ่ยสนับสนุนส่งเสริมปกป้องกันเต็มที่ แต่อันไหนที่องค์กรหนึ่งทำท่าจะเดินออกไปนอกเป้า ก็จะใช้บทบาทขององค์กรอื่นเข้าไปแก้ เพื่อไม่ให้เตลิดไปไกล

เพราะเห็นเช่นนี้หรือไม่ ที่ทำให้นายนิพิฏฐ์ซึ่งช่วงหลังติดตามลีลาของผู้มีอำนาจใกล้ชิด จึงพูดอย่างมั่นใจว่า ทุกอย่างถูกวางแผนไว้หมดแล้ว

และเรื่องนี้ทำให้คิดถึงข้อสรุปหนึ่งของวิถีการเมืองที่ว่า ”วิธีการของผู้มีอำนาจนั้น หากยังไม่ได้รับกระแสตอบรับจนมั่นใจได้ว่า เมื่อเลือกตั้งแล้วจะเป็นผู้ชนะ การเลือกตั้งจะยังไม่เกิดขึ้น”Ž

ถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การประเมินจังหวะยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่จะต้องเป็นช่วงที่พรรครัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบในกระแส

สำหรับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง การประกาศความพร้อมคืนประชาธิปไตยให้ประชาชนก็น่าจะเป็ช่วงที่มั่นใจว่าผู้มีอำนาจจะได้รับการสนับสนุนให้กลับมามีอำนาจต่อไปหลังเลือกตั้ง

แผนที่วางไว้แล้ว โดยมีแม่น้ำ 5 สายทำงานสอดคล้องเพื่อเป้าหมายเดียวกัน

ในสถานการณ์ที่กระแสไม่มีความแน่นอน พรรคการเมืองที่เป็นเป้าหมายต้องทำให้บทบาทลดลงยังกระแสแรง หนำซ้ำ ”พรรคการเมืองใหม่”Ž ที่ประกาศนำประเทศชาติสู่ “อนาคตใหม่”Ž และยืนอยู่คนละข้างกับอำนาจเก่ากลับมีกระแสตอบรับค่อนข้างแรง

มีความเป็นไปได้ที่ ”การเลือกตั้ง”Ž จะยังเป็นความเสี่ยงมากกว่าเป็นโอกาส

ด้วยเหตุนี้เอง

”เราต้องเดินตามที่เขาบังคับให้เดิน”Ž จึงเป็นข้อสรุปของรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ติดตามเกมอำนาจอย่างใกล้ชิด

เป็นข้อสรุปที่น่าคิด

……………………..

สุชาติ ศรีสุวรรณ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image