สุจิตต์ วงษ์เทศ : พิมาย กับ พนมรุ้ง ลุ่มน้ำมูล แหล่งเดิมบรรพชน “ขอม”

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เคยถูกลักลอบขนย้ายไปสหรัฐ แล้วทวงคืนสู่ที่เดิมปราสาทพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์

หลัง พ.ศ. 1500 วัฒนธรรมขอม (เขมร) จากโตนเลสาบ กัมพูชา แผ่ถึงแอ่งโคราช เข้าสู่อีสานและโขง-ชี-มูล

ขณะเดียวกัน การค้าโลกขยายกว้างขึ้น เพราะจีนค้นพบเทคโนโลยนีก้าวหน้าทางการเดินเรือทะเลสมุทร ส่งผลให้บริเวณสองฝั่งโขง-ชี-มูล ที่มีทรัพยากรมั่งคั่ง ต่างเติบโตมีบ้านเมืองแพร่กระจายเต็มไปหมด
รวมถึงเมืองพิมายกับเมืองพนมรุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทุ่งกุลาร้องไห้ แล้วมั่งคั่งขึ้นจากการค้าเกลือและเหล็ก ก็เติบโตกว่าเดิม

ต้นวงศ์กษัตริย์กัมพูชาอยู่ลุ่มน้ำมูล เพราะบริเวณต้นน้ำมูลตั้งแต่เขตปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง เป็นถิ่นเดิมหรือถิ่นบรรพชนเกี่ยวดองเป็น “เครือญาติ” ของกษัตริย์กัมพูชาที่สถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้นบริเวณโตนเลสาบ (ทะเลสาบ) เช่น พระเจ้าสุริยวรรมันที่ 2 สร้างปราสาทนครวัด และพระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 สร้างปราสาทนครธม

ทำให้กษัตริย์อาณาจักรกัมพูชาแผ่ขยายขึ้นไปก่อสร้างปราสาทสำคัญๆ ไว้ในอีสานจำนวนมาก แต่ที่รับรู้ไปทั่วโลก คือปราสาทพระวิหารในกัมพูชา หันหน้าทางอีสาน และมีบันไดทางขึ้นลงยื่นยาวเข้ามาในไทยทาง จ. ศรีสะเกษ

Advertisement

พิมายกับพนมรุ้ง เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับเจ้านายรัฐสุโขทัยและรัฐอยุธยา ต่อมาทั้งสองเมืองยอมอ่อนน้อมต่อพระบรมราชาธิราชที่ 3 แห่งรัฐอยุธยา

ปราสาทพนมรุ้ง  จ. บุรีรัมย์
ปราสาทพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image