สุจิตต์ วงษ์เทศ : นครศรีธรรมราช รัฐพูดภาษาไทย สำเนียงเหน่อลุ่มน้ำโขง

พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ในภาวะปกติ (ภาพก่อนการบูรณะครั้งล่าสุด)

เมืองนครศรีธรรมราช ก่อน พ.ศ. 1700 มีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น ตามพรลิงค์ ฯลฯ ยังไม่มีชื่อนครศรีธรรมราช และผู้คนส่วนมากพูดภาษาต่างๆ (ที่ไม่ใช่ภาษาไทย) แต่ที่สำคัญน่าจะพูดภาษามลายู เพราะเป็นเมืองการค้าอยู่ริมทะเลสมุทร

หลัง พ.ศ. 1700 เมืองนครศรีธรรมราช เริ่มมีผู้คนพูดภาษาไทย ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหม่ที่โยกย้ายลงไปจากเมืองเพชรบุรี เพราะคนกลุ่มเดิมพูดภาษามลายูถูกโรคระบาดล้มตาย จนเมืองร้าง มีผู้ศึกษาพบว่าเป็นกาฬโรคจากเมืองจีน

ตำนานเล่าว่าพระราชาเมืองเพชรบุรี เคยนับถือพุทธศาสนามหายาน แต่เปลี่ยนเป็นเถรวาท (จากลังกา) พาไพร่พลลงไปฟื้นฟูเมืองนครศรีธรรมราช

ไพร่พลกลุ่มนี้พูดภาษาไทย สำเนียงเหน่อ มีบรรพชนกินข้าวเหนียว เล่นหนังตะลุง และเล่นละครชาตรีเรื่องนางมโนห์รา ฯลฯ

Advertisement

ภาษาไทย เป็นภาษากลางทางการค้าภายในภูมิภาค ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1500 เมื่อเริ่มมีความเคลื่อนไหวของสำเภาจีน

ครั้นหลัง พ.ศ. 1700 สำเภาจีนเคลื่อนไหวกว้างขวาง ส่งผลให้มีการโยกย้ายผู้คนและทรัพยากรบนเส้นทางการค้าภายในข้ามภูมิภาค จากลุ่มน้ำโขง ผ่านลุ่มน้ำ 4 แคว (ปิง-วัง-ยม-น่าน) ลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ฟากตะวันตก) แล้วเกิดรัฐใหม่พูดภาษาไทย เป็นภาษากลางได้แก่ รัฐสุโขทัย, รัฐสุพรรณภูมิ, รัฐเพชรบุรี, รัฐนครศรีธรรมราช ฯลฯ

รัฐใหม่ๆ เหล่านี้ให้ความสำคัญพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งฟักตัวอยู่ดินแดนสุวรรณภูมิ มานานแล้ว (ก่อนมีรัฐนครศรีธรรมราช) ที่เปิดช่องให้พ่อค้า “ผู้มีบุญ” เป็นพระราชา
ความเป็นมาของพระธาตุนครศรีธรรมราชกับเมืองนครศรีธรรมราช เกี่ยวข้องกับการเมืองการค้าภายในและภายนอก กับการโยกย้ายหลักแหล่งแห่งหนของคนพูดภาษาไทย หลัง พ.ศ. 1700 ที่เรียกภายหลังจนปัจจุบันว่าคนไทย

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image