โอนงานจราจรไปให้ท้องถิ่น : โดย วสิษฐ เดชกุญชร

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 นายมีชัย
ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าในการร่างกฎหมายตำรวจว่า อาจจะต้องแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ และอาจจะต้องมีกฎหมายพิเศษเพื่อให้การสอบสวนสะดวกรวดเร็ว

นายมีชัยกล่าวด้วยว่า ที่ประชุมมีมติให้โอนงานจราจรไปให้ท้องถิ่น แต่จะโอนไปแต่เฉพาะงานเท่านั้น ไม่โอนอัตรากำลังไปให้การโอนงานจราจรไปให้ท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ควรทำมานานแล้ว เพราะการที่งานจราจรอยู่กับตำรวจนั้นเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ตำรวจซึ่งมีหน้า ที่หลักในการป้องกันและปราบปรามอาชญากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรู้จักพื้นที่ดีไม่แพ้ตำรวจ และสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้ด้วย
ตนเอง

สำหรับอัตรากำลังนั้น เมื่อตำรวจไม่โอนไปให้ท้องถิ่นก็จะต้องรับสมัครเอาเอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายจราจรของท้องถิ่นคงจำเป็นที่จะต้องรับการฝึกวิชาการจราจร ในการนี้อาจตั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมการจราจรกลางขึ้น เพื่อมิให้ท้องถิ่นทำงานซ้อนกัน และเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการใช้กฎหมายจราจรด้วย

ตำรวจจราจรท้องถิ่นไม่จำเป็นจะต้องมียศ แต่ต้องมีตำแหน่ง จะเรียกชื่อตำแหน่งบังคับบัญชาว่าผู้กำกับการหรือสารวัตรก็แล้วแต่ขนาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Advertisement

ท้องถิ่นไม่ควรใช้เครื่องแบบตำรวจจราจรของตนเองเพราะจะทำให้ประชาชนสับสน แต่ควรแต่งเหมือนกันทั้งประเทศ และจะมีตราสัญ ลักษณ์ของท้องถิ่นบนเครื่องแบบก็ได้

งานใหญ่ของรัฐบาลที่อาจจะต้องใช้งบประมาณมหาศาล ก็คือการจัดให้มีศูนย์การสื่อสารการจราจรที่ครอบคลุมทั้งประเทศ เพราะบางท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กและงบประมาณน้อยอาจไม่สามารถดำเนินการเองได้ ในการนี้รัฐบาลอาจจะให้ทุนสมทบส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ได้

กฎหมายจราจรนั้นคงต้องใช้ฉบับเดียวกันทั้งประเทศ แต่ท้องถิ่นควรมีอำนาจที่จะออกกฎข้อบังคับหรือระเบียบโดยเฉพาะ เพื่อให้เหมาะกับสภาพปัญหาของท้องถิ่นก็ได้

Advertisement

ในการแก้ไขปัญหาจราจรท้องถิ่น รัฐบาลต้องคำนึงถึงความบกพร่องที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งประเทศ เช่น การที่จักรยานยนต์มีป้ายบอกเลขทะเบียนแต่เฉพาะทางด้านหน้าแต่ท้ายรถไม่มี เพราะฉะนั้นเมื่อทำความผิดแล้วหลบหนี แม้จะมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถจะชี้ตัวผู้กระทำผิดได้

นายมีชัยกล่าวว่า งานจราจรทุกวันนี้ใช้นายตำรวจยศนายพลดูแลการจราจร ซึ่งไม่จำเป็น เพราะตำรวจยศหรือตำแหน่งต่ำกว่าอาจดูแล บังคับใช้กฎหมายจราจรได้ด้วยความสามารถและความศักดิ์สิทธิ์เท่ากัน

สรุปแล้ว การโอนงานจราจรไปให้ท้องถิ่น แม้จะต้องใช้เงินงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ก็จะคุ้มกัน เพราะเป็นการกระจายงานจราจรออกไปทั่วทั้งประเทศ และลดกำลังพลของตำรวจลงให้เหลือแต่ที่ต้องรับผิดชอบในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเท่านั้น

หวังว่าการปฏิรูปงานจราจรจะเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในการปฏิรูประบบงานตำรวจ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปในด้านอื่นๆ ด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image