‘ยูเอ็น’ ยกย่อง ศาสตร์การจัดการน้ำในหลวง

สําหรับประเทศไทยแล้ว ชีวิตที่ใกล้ชิดกับน้ำ ดูจะเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนซึมซับตลอดมา แม้ว่าจะเกิดวิกฤตน้ำแล้งหรือว่าน้ำท่วมใหญ่ คนไทยก็ยังคงเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ และกลายเป็นองค์ความรู้ของคนไทยในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ให้กับคนไทย ซึ่งทำให้ชาวบ้านมากกว่า 600 ชุมชน กว่า 98% ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตน้ำอีกต่อไป เหมือนอย่างบ้านลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์ ที่เคยประสบปัญหาน้ำแล้งน้ำหลากมาตลอด 40 ปี คนในชุมชนต้องย้ายถิ่นฐาน แต่เมื่อทำคลองดักน้ำหลาก เชื่อมสระแก้มลิงและสระไร่นา ก็ทำให้มีปริมาณน้ำมากขึ้น คนมีรายได้มากขึ้นและไม่จากถิ่นฐานไปที่ไหน

ความสำเร็จนี้เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นไอเอสดีอาร์ สนใจในเทคโนโลยีและองค์ความรู้เรื่องการจัดการน้ำ จึงลงนามแถลงการณ์ความร่วมมือ

IMG_2448

image4 (1)

Advertisement

“การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ” ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อนำองค์ความรู้นี้ไปเผยแพร่ หาข้อสรุปในการจัดการน้ำร่วมกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย แปซิฟิกต่อไป

ดร.โรเบิร์ต กลาสเซอร์ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ เผยว่า ในโลกทุกวันนี้ปัญหาภัยพิบัติถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่ต้องมีองค์ความรู้ในการเตรียมพร้อมรับมือ กับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทางยูเอ็นไอเอส

ดีอาร์ได้จัดทำกรอบเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติ สำหรับประเทศไทยการทำงานของ สสนก.เป็นตัวอย่างที่ดีของการบริหารจัดการน้ำที่ประสบความสำเร็จ และเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีที่ดี จากข้อมูลพบว่าชาวบ้านกว่า 6,000 หลังคาเรือนจัดการน้ำได้ดีและไม่เผชิญกับปัญหาน้ำท่วม ทำให้เราสนใจที่จะนำเอาแบบอย่างนี้ไปสร้างแบบแผนเพื่อพัฒนาต่อไป

Advertisement

ด้าน ดร.รอยล จิตรดอน ผอ.สสนก. เผยว่า สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนตลอดมาคือเมื่อภูมิอากาศเปลี่ยน เราต้องปรับตัว และเราต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คือรู้จักเก็บข้อมูลแหล่งน้ำของเราเอง รู้ว่าฝนจะมาเมื่อใด ทางเดินน้ำเป็นอย่างไร ทำแผนที่และวางแผนการใช้น้ำตลอดทั้งปี ไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ที่เราเข้าไปทำงานนำไปปรับใช้และประสบความสำเร็จ เป็นวิธีที่ใช้เงินน้อยและอยู่ได้นาน บางพื้นที่อาจจะต้องอนุรักษ์ป่าควบคู่ไปกับทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสานและแก้มลิง ผสานกับการใช้เทคโนโลยีคาดการณ์อากาศ รวมไปถึงค้นหาข้อมูลตลาดที่จะส่งออกพืชผลเหล่านี้ นั่นทำให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้นตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ตลอดมา ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีของการแก้ปัญหาน้ำ ที่ไม่เพียงใช้ได้ในประเทศเท่านั้น

แนวพระราชดำริที่มิได้ช่วยเฉพาะคนไทย หากต่อไปจะช่วยทั่วโลก

ดร.รอยล
ดร.รอยล
โรเบิร์ต กลาสเซอร์
ดร.โรเบิร์ต กลาสเซอร์
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image