พระกรุณา ‘ฟ้าหญิง’ เพื่อผู้สูงอายุ ‘คัดกรองอัลไซเมอร์ครบวงจร’

จากข้อมูลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2565) ประชากรไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2564 ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าว ซึ่งโรคอัลไซเมอร์ ถือเป็นหนึ่งในภัยร้ายสำหรับผู้สูงวัย

ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีพระกรุณาธิคุณต่อสุขภาพคนไทย จัด “โครงการตรวจคัดกรองสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ครบวงจรในคนไทย” ให้บริการดูแลประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคได้มีโอกาสตรวจคัดกรองสภาวะสมองเสื่อม และวิเคราะห์การทำงานของสมองด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย ร่วมกับ 6 สถาบันการแพทย์ของไทย โดยจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ณ ชั้น 1 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ศ.นพ.ธีรวัฒน์ – ศ.นพ.นิธิ และศ.พญ.จิรพร

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยว่า ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงห่วงสังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่สำคัญคือโรคสมองเสื่อม ทรงอยากจะศึกษาและช่วยเหลือคนไทย จึงทรงมองว่า รพ.มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะช่วยคัดกรองโรคนี้ได้ จึงเป็นที่มาของโครงการ ซึ่งในแต่ละปีพระองค์จะพระราชทานโครงการบำเพ็ญพระกุศลอยู่เสมอ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 4 กรกฎาคม 2560 ปีนี้ จึงได้เลือกโรคอัลไซเมอร์ เปิดโอกาสให้คนไทยอายุ 55-85 ปี เข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองแบบครบวงจรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จำนวน 1,000 ราย

“พระองค์มีพระวิสัยทัศน์ว่า นอกจากโครงการนี้จะเป็นผลดีต่อสุขภาพคนไทยแล้ว ยังช่วยให้สามารถศึกษา ติดตามอาการโรคอัลไซเมอร์

Advertisement

ในคนไทยได้ ซึ่งอาจจะแตกต่างกับสาเหตุของชาวต่างชาติ เป็นการสร้างแผนที่สมองที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวได้” ศ.นพ.นิธิกล่าว

จากข้อมูลพบว่า อัลไซเมอร์เป็นสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อมพบมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยในประเทศไทยมีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่ต่ำกว่า 600,000 ราย และมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 100,000 ราย/ปี ผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไปจะพบมากถึง 50% ทั้งยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด และไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของโรค มีเพียงปัจจัยเสี่ยงและการชะลอการป่วยของโรคได้เท่านั้น

Advertisement

แล้ว “อัลไซเมอร์” อันตรายอย่างไร

ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์ทางอายุรกรรมและระบบประสาท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคอัลไซเมอร์นี้ปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้นจากยีนส์ ที่พ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นทุกคน ก็จะเกิดโรคนี้ได้เร็ว จำเป็นต้องดูแลตัวเองแต่เด็ก สองคือการอักเสบในสมอง ที่ทำให้สารบางอย่างไปตัดทำลายใยประสาทของเราจนเซลล์สมองน้อยลง หรือสมองรีไซเคิลได้น้อยลง นอกจากนี้สมองยังสร้างโปรตีนสองชนิดคือ เทา และ อะไมลอยด์ ที่กลายเป็นสารพิษในร่างกายทำให้สมองเสื่อมได้ จากการหลงๆ ลืมๆ ก็กลายเป็นขาดเหตุผล ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ลืมคำบางคำ ควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หนักเข้าทำให้เกิดอาการเกร็ง แขนขากระตุก เดินไม่ได้ นั่งรถเข็น และกลายเป็นคนไข้ติดเตียงในที่สุด ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากกว่าที่คิด ทั้งนี้ขั้นแรกของโรคยังไม่แสดงอาการอะไรให้เห็นด้วย

“นอกจากนี้เรายังพบว่า สาเหตุกระตุ้นนอกเหนือจากสมองของเราเองแล้ว ได้แก่ ความอ้วน เบาหวาน ความดัน บุหรี่ และแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการทานแคลเซียมที่มีผลวิจัยยืนยันว่าไม่ช่วยให้มวลกระดูกเพิ่มและยังเพิ่มความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์, การทานยาลดกรดบางชนิด รวมถึงยาแก้แพ้ ก็มีผลเพิ่มความเสี่ยง ที่สำคัญคือการทานยากระตุ้นสมองบางชนิด ทำให้สมองถูกกระตุ้นตลอดเวลา เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เซลล์สมองตายมากขึ้นได้” ศ.นพ.ธีรวัฒน์เผย


ขณะที่ ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทางช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์

อย่างง่ายๆ คือการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะกากใยอาหาร ออกกำลังกาย

ลดความเสี่ยงเบาหวาน ไขมันสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยง รวมถึงไม่เครียด ไม่ซึมเศร้า และฝึกสมองอยู่เสมอ โยคะ ไทชิ หรือเกมลับสมอง ทำตัวให้แอ๊กทีฟอยู่เสมอ นอกจากนี้คนดูแลผู้ป่วยอาจต้องเจอกับภาวะกดดันสุขภาพจิตมาก ไม่ควรใช้คนเดียวเฝ้า 24 ชม. แต่ต้องผลัดกัน 2 กะอย่างน้อย โดยผู้ป่วยอาจจะถามคำถามเดิมซ้ำๆ หลายรอบ เราอาจตัดปัญหาด้วยการเลี่ยงไปพูดเรื่องอื่นๆ ดูแลเขาให้มีกิจวัตรประจำวันและสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย ให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ ป้องกันการหลงทาง

นพ.สุขเจริญ

เตรียมตัวก่อนโรคถามหา

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image