แพทย์ชี้ ‘ผู้ป่วยโรคไต’ เสี่ยงติด ‘โควิด-19’ ง่ายกว่าคนทั่วไป

แพทย์ชี้ผู้ป่วยโรคไตเสี่ยงติดโควิด-19 ง่ายกว่าคนทั่วไป แนะวิธีดูแลตนเอง

โควิด-19 เมื่อวันที่ 17 เมษายน .เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะยุติลงเมื่อใด อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโตโดยเฉพาะไตวายเรื้อรัง หรือไตระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

“กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว เนื่องจากการเดินทางมาโรงพยาบาลบางคนต้องใช้รถขนส่งสาธารณะ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นเป็นทวีคูณ ยิ่งพบปะคนมากขึ้นเท่าไหร่โอกาสเสี่ยงก็มากขึ้น ถึงได้มีมาตรการออกมาต้องเว้นระยะห่าง หรือ social distancing ต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกันการไอ จาม ของตัวเองและบุคคลอื่น และในกลุ่มของผู้ป่วยโรคไตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ การเดินขึ้นเดินลงก็ต้องมีการจับราวบันไดหรือสิ่งใกล้มือ ถ้ามีการล้างมือ หรือแอลกอฮอล์สเปรย์ทั้งก่อนและหลังก่อนจะจับสิ่งใดก็ตาม ช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อโรคได้” ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย กล่าว

นอกจากนี้ .เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย กล่าวว่า รวมไปถึงเรื่องของการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตจะไม่เหมือนกับคนทั่วไป แพทย์จะมีการแจ้งแก่ผู้ป่วยแต่ละคนว่า ควรจะกินเนื้อสัตว์ได้วันละเท่าไร น้ำวันละเท่าไร ผักผลไม้ชนิดใดที่ควรหรือไม่ควรกิน และการพักผ่อนของผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคไต ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนล้า และออกกำลังกายเบาๆ ขยับร่างกายระหว่างวันให้บ่อยๆ

ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย กล่าวว่า ส่วนคำแนะนำประชาชนทั่วไปที่ต้องทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from home หรือว่ากักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อดูอาการนั้น ก็อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคไตได้ หากมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

Advertisement

1.เพลิดเพลินกับการกินขนมขบเคี้ยวที่มีโซเดียมสูงมากเกินไป มีน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งหากกินต่อเนื่องเกินพอดีจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคไตได้ ซึ่งปริมาณโซเดียมที่แนะนำคือ เกลือน้อยกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน และน้ำปลาไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน

2.การเสพข่าวตลอดเวลา ก็ทำให้เครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวได้ ยิ่งอ่านก็ทำให้เกิดการวิตกกังวล

3.การดื่มน้ำน้อยเกินไป หลายคนทำงานเพลินต่อเนื่อง ประชุมผ่านหน้าจอ 1-2 ชั่วโมง โดยไม่ได้พัก หรือทำกิจกรรมต่างๆ จนลืมดื่มน้ำ ทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำได้

Advertisement

4.ไม่ออกกำลังกาย การทำงานที่บ้านทำให้มีการเดินทางน้อยลง กิจกรรมน้อยลง และอยู่ในพื้นที่จำกัดอีกด้วย ควรหาท่าออกกำลังกายที่สามารถออกได้ในพื้นที่จำกัด

5.นอนดึกเกินไป ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง

ดังนั้น ควรลด ละ เลิก พฤติกรรมดังกล่าว เพื่อป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคไต และไวรัสโควิด-19 อีกด้วย

                                                       

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image