‘สมคิด’แจงรัฐอัดเม็ดเงิน 4 แสนล้านบ. กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ (ชมคลิป)

‘สมคิด’แจงรัฐอัดเม็ดเงิน 4 แสนล้านบ. กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตาม...กู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ได้ประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยในอดีตที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจ จะมองในส่วนของภาคการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศและภาคการท่องเที่ยว เพราะทำได้ง่าย

แต่ขณะนี้หากมองจนถึงปี 2564 จะรู้ว่าภาคการส่งออกเริ่มทำไม่ได้ง่ายแล้ว เพราะสหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรป (อียู) รวมถึงภาพรวมทั้งโลกดูไม่ได้ดีนัก ทำให้เครื่องมือหลักเหลือเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 1.งบประมาณแผ่นดินและการใช้จ่าย โดยภาครัฐจะต้องเร่งให้เกิดการใช้จ่ายทั้งของหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ และ 2.ในช่วงเดือนพฤษภาคมกันยายน

จะต้องเตรียมพร้อมในด้านมาตรการที่จะก่อให้เกิดกำลังทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้ได้ จึงเป็นที่มาของการออกพ...เงินกู้วงเงิน 4 แสนล้านบาท เป็นตอนที่ 2 ต่อจากวงเงินประมาณ 5.5 แสนล้านบาท ที่จะใช้ในมาตรการเยียวยา ส่วนตัวเงิน 4 แสนล้านบาทชุดใหม่ จะใช้ในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้คนมีงานทำและมีรายได้เพียงพอในการใช้ชีวิตต่อไป

โดยคณะกรรมการกลั่นกรองฯกำลังทำอยู่ทั้งในส่วนของหลักการและหลักเกณฑ์ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอโครงการเข้ามาในทิศทางเดียวกัน โดยเงินก้อนนี้เมื่อการส่งออกและการท่องเที่ยวยังคงยากลำบาก โครงการที่จะเน้นต่อจากนี้คือ การสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ระดับท้องถิ่น และชุมชน โดยการใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีหลายกิจกรรม

Advertisement

อาทิการเกษตร ทั้งเกษตรดั่งเดิม เกษตรสมัยใหม่ เกษตรอินทรีย์ และเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานในชนบท ที่จะเอื้อให้เกิดเศรษฐกิจการเกษตรและท้องถิ่นเดินไปได้ โดยไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่ แต่เป็นโครงการที่ทำให้เกิดการตอบสนองกลับในส่วนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้พร้อมกัน

นายสมคิดกล่าวว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการหยุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ได้ และจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวด ทำให้มาตรการที่ออกมาในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีความเข้มงวดสูงมาก ซึ่งความเข้มงวดนั้นก็มีต้นทุนในการดำเนินการ ทำให้เศรษฐกิจหยุด เพราะทุกคนต้องอยู่บ้านเพื่อช่วยกันหยุดเชื้อ และธุรกิจต้องหยุดชั่วคราว โดยจากการที่คนอยู่แต่บ้านและธุรกิจหยุดชั่วคราวนั้น ก็ทำให้รัฐบาลต้องพิจารณาในส่วนของคนที่มีปัญหาเรื่องรายได้ จึงเป็นที่มาของการหามาตรการเยียวยา เพื่อประเมินว่าในช่วง 3-6 เดือนนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะต้องได้รับการเยียวยา กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ปรับเกณฑ์และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยเมื่อสามารถเยียวยาได้เพียง 3 เดือน แต่ในระหว่างที่รอจนถึงเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นปีงบประมาณใหม่ กว่าจะได้งบประมาณใหม่เข้ามา คำถามคือ คนที่โยกย้ายไปต่างจังหวัดจะทำอะไร จะมีงานทำและมีรายได้หรือไม่ ซึ่งตรงนี้คงไม่ได้พึ่งพามาตรการเยียวยาเท่านั้น เพราะการเยียวยาเพียง 3 เดือนก็ใช้เงินอย่างมหาศาลแล้ว ทำให้ต้องมาดูในส่วนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่จะช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับผู้คนในท้องถิ่นได้

 นายสมคิด กล่าวอีกว่า  ภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนที่ทิ้งไม่ได้ แต่ขณะนี้ยังไม่ใช่เป็นเวลาของการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยต้องใช้จังหวะนี้เป็าโอกาสในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในชุมชน ในแต่ละจังหวัด รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องก็สามารถเสนอขึ้นมาได้เพื่อทำให้หากทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ประเทศไทยจะมีการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนได้ นอกจากนี้ ยังมีการผลิตในท้องถิ่น การตลาดและระบบขนส่งโลจิสติกส์เป็รสิ่งสำคัญ รวมถึงแพลตฟอร์มในด้านไอทีก็เป็นเรื่องสำคัญมาก

Advertisement

ที่จะต้องดำเนินการเพิ่มเติม โดยอยากใช้โอกาสนี้ในการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นต่อท้องถิ่นไปทั่วประเทศ โดยในอดีตเมื่อมีผลผลิตทางการเกษตรออกมาแล้วไม่มีคนซื้อ ขณะนี้มีแพลตฟอร์มใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นได้ เรื่องของการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น ก็เป้นส่วนหนึ่งที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ที่จะทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ทั้งการผลิตและไม่ใช่การผลิต โดยเป็นหลักการสำคัฯที่คณะกรรมการกำลังดำเนินการร่างขึ้นมา รวมถึงมีหลักเกณฑ์ที่โครงการอะไรจะเข้าสู่หลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณา ทำให้ช่วงเวลานี้หัวใจสำคัญคือ โครงการเหล่านี้จะต้องสามารถสร้างงานและสร้างรายได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

นายสมคิด กล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่าไตรมาส 1 เพิ่งเริ่มต้น ส่วนไตรมาส 2 เป็นผลจากการที่เศรษฐกิจหยุดชะงักไป และเริ่มเห็นผลกระทบ โดยหากสาสารถเตรียมตัวรับมือและประคองตัวเองไว้ได้ ทุกอย่างก็จะปลอดภัย จึงต้องเตรียมหลักเกณฑ์หรือดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน (เคพีไอ) ให้ชัดเจน หลังจากนั้นจึงจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ หลังจากนั้นทุกฝ่ายสามารถเริ่มส่งโครงการเข้ามาได้ โดยหากสามารถนำเข้าครม.เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ก็สามารถเริ่มได้เลย แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องชี้แจงให้ทุกหน่วยราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทั้งหมดนี้จะอยู่ในพ...วงเงิน 4 แสนล้าน

ที่ต้องการเน้นกิจกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เศรษฐกิจภูมิภาค เศรษฐกิจชุมชนโดยยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความเข้มแข็งล่วงหน้า โดยจากการหารือร่วมกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า สศช.จะเริ่มปรับแผนการทำงานในอนาคตข้างหน้าแล้วเพราะจังหวะนี้ถือว่าดีมากในการสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้มีดุลยภาพควบคู่ไปกับเศรษฐกิจที่มาจากต่างประเทศโดยในอดีตการส่งออกและการลงทุนเป็นตัวที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ไทยสูง แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ละเลยการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศไป

โดยในอนาคตข้างหน้า สศช.จะไม่เน้นการทำให่จีดีพีเติบโต แต่จะเน้นการพัฒนาความเข้มแข็งทั้งภายในและภายนอก โดยหาเป็นไปตามแผน จะทำให้เดือนมิถุนายนนี้ มีโอกาสที่จะได้รับการอนมุติโครงการทยอยออกมา และเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ ก่อนที่งบประมาณประจำปี 2564 ออกมา โดยเมื่อมีงบประมาณปี 2564 แล้ว โครงการขนาดใหญ่ที่เคยวางไว้ อาจต้องปรับเพิ่มโครงการที่สามารถเกิดการจ้างงานได้มากขึ้น เพราะลองจิตนาการเหตุการณ์ในขณะนั้น หลังเดือนตุลาคมจนถึงต้นปีหน้า คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังไม่ดีขึ้น จึงต้องหาโครงการที่จะล่อเลี้ยงเศรษฐกิจภายในประเทศได้

การบริหารเงิน บริหารแผนการ และบริหารโครงการมีความสำคัญมาก ระยะเวลาจะต้องสอดรับกันเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดขึ้น โดยขณะนี้จะมีนักศึกษาใหม่จบมาประมาณ 7 แสนคน จึงต้องมีโครงการเหล่านี้ออกมา เพื่อรองรับให้กลุ่มคนเหล่านี้มีงานทำ โดยเปิดให้ทุกหน่วยงานสามารถขอโครงการใช้เงินกู้ได้ ซึ่งหากหน่วยงานชนบทมีโครงการดีๆ ก็สามารถนำเสนอขึ้นมาได้เช่นกันนายสมคิดกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image