ขับรถฝ่าน้ำแค่ไหนถึงรอด?

หน้าฝนแล้ว การขับรถขณะถนนลื่นหรือน้ำท่วมเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยานยนต์ “มติชน” มีข้อแนะนำคือ ถ้าต้องลุยน้ำจริงๆ ควรกะระดับน้ำคร่าวๆ ว่าความสูงของรถน่าจะฝ่าไปได้ไหม ถ้าเป็นรถเก๋งทั่วไป น้ำสูงประมาณ 5-10 ซม. ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าสูงกว่านั้นหรือเริ่มปริ่มท่อไอเสียต้องระวัง

ต้องทำลำดับแรกคือ ปิดแอร์ ขับช้าๆ ใช้เกียร์ต่ำ ห้ามเร่งเครื่องยนต์เด็ดขาด

เมื่อรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำให้ยกเท้าออกจากคันเร่งทันที อย่าเบรกอย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่นเมื่อรถลดความเร็วลงหรือผ่านแอ่งน้ำไปแล้ว รถจะเริ่มเกาะถนนได้และสามารถควบคุมได้

การขับระดับน้ำท่วมผิวถนนคือระดับความลึกของน้ำไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเรา ส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับ และระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้น ชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้

Advertisement

สิ่งสำคัญที่สุดคือรักษาระดับความเร็วของรถ ขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ น้ำที่ถูกล้อรถรีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรง ฉีดไปที่ห้องเครื่องยนต์ อาจทำให้กระแสไฟจุดระดับลัดวงจร และเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพได้

การขับระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถชั่วคราว จะได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดัง ควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็นโดยสังเกตจากรถคันหน้า และพยายามจำแนวไว้ ความลึกระดับนี้จานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา รถใช้ดรัมเบรกประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงมาก หากพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไป เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรก และเพื่อให้จานเบรกหรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด

การขับระดับน้ำท่วมเลยท้องรถ ไม่ว่าจะขับช้าเพียงใดน้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และเฟืองท้าย (รถขับเคลื่อนล้อหลัง) ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย ทำให้เสื่อมสภาพฟันเฟืองต่างๆ ภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็ว เนื่องจากน้ำใต้ท้องรถจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถพรมและฉนวนกันเสียงจะชุ่ม หากเจ้าของรถไม่รีบรื้อเก้าอี้และถอดออกมาผึ่งแดดรถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E C U) อยู่ใต้เก้าอี้ ชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากความชื้นเล็ดลอดเข้าไปจะชำรุดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนด้านหน้ารถก็เกิดความเสียหายไม่น้อยเช่น ใบพัดของพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ อยู่ด้านหลังของหม้อน้ำจะดูดน้ำจากด้านหน้าใบพัดซึ่งทำจากพลาสติก จึงงอไปทางด้านหน้าครูดกับรังผึ้งหม้อน้ำจนหัก น้ำถูกกันชนหน้ารถดันจนสูง อาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสมอยู่ภายใน

Advertisement

ระดับน้ำท่วมจนถึงไฟหน้า ถือว่าระดับน้ำอันตรายที่สุด หากขับหรือจอดอยู่นานน้ำท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่งห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อน เนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้องและผู้ขับยังฝืนขับด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่ต้องอาศัยกระแสไฟจุดระเบิด น้ำจะทะลักเข้าทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบลูกสูบกำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็ว จะกระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรง จนลูกสูบและก้านสูบชำรุดทันที

สรุปว่าระดับน้ำที่เรายังใช้งานได้คือ ระดับน้ำท่วมผิวถนนและระดับผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวเท่านั้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image