รถเบรกดังควรทำอย่างไร?

 

เสียงเบรกจากรถยนต์อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ “มติชน” ยานยนต์ มีข้อแนะนำเมื่อเกิดปัญหาเบรกมีเสียงดัง ดังนี้

1.ตรวจสอบผ้าเบรก ดูว่าผิวหน้าของเบรกเป็นมันเงาหรือไม่ เพราะผิวหน้าผ้าเบรกเป็นเหมือนกระจก ความร้อนทำให้ผิวหน้าผ้าเบรกแข็งตัว จึงไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพที่แท้จริงของผ้าเบรกได้ ดูว่ามีรอยลักษณะเหมือนจานแผ่นเสียงหรือไม่ รอยที่เกิดจากการเสียดสีกับจานเบรก อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการสั่นเล็กน้อยได้ หรืออาจมีการสึกไม่เสมอกันหรือไม่ อาจมีความผิดปกติที่คลิปผ้าเบรกหรือลูกสูบมีการฉุดกระชาก

2.ตรวจสอบสภาพของซิมและจาระบี เพราะซิมอาจบิดผิดรูป ส่วนที่เคลือบและยางเสื่อมสภาพ เนื่องจากส่วนที่เป็นยางมักจะแข็งตัวและหลุดออกเมื่อถูกความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางในบริเวณที่ถูกลูกสูบกด มักจะหลุดหรือบิดผิดรูปได้ นอกจากนี้ หากบริเวณเขี้ยวอยู่ที่ผ้าเบรกผิดรูป จะทำให้ซิมไม่อยู่ในสภาพเหมาะสม ด้านหลังผ้าเบรกทาจาระบีไว้อย่างพอเหมาะหรือไม่ เพราะจาระบีจะหลุดง่ายเมื่อโดนความร้อน เศษโคลน หรือน้ำ

Advertisement

3.ตรวจสอบผิวหน้าของจานเบรก สังเกตว่าผิวหน้าเปลี่ยนสีออกเป็นสีดำและเป็นมันเงาหรือไม่ เพราะความร้อนทำให้ผิวหน้าเกิดรอยไหม้ นอกจากนี้ ผงสร้างแรงเสียดทานในผ้าเบรกอาจติดอยู่ที่ผิวจานเบรกได้ มีรอยลักษณะเหมือนจานแผ่นเสียงที่ผิวหน้าหรือไม่ เป็นรอยเกิดจากการเสียดสีกับผ้าเบรก สีที่เปลี่ยนไปและรอยที่เกิดขึ้นจะทำให้ระบบการสั่นของผ้าเบรกขณะหยุดรถเปลี่ยนไป ก่อให้เกิดเสียงเบรกได้

4.ตรวจสอบก้ามปู สังเกตว่าบิดผิดรูปหรือไม่ เป็นเรื่องเกิดไม่บ่อยนัก แต่หากถูกกระทบแรงมากๆ ในระยะเวลาหนึ่ง หรือรถเกิดอุบัติเหตุ ตัวก้ามปูจะผิดรูปเล็กน้อย ชิ้นส่วนที่เป็นยางเสื่อมสภาพหรือไม่ หากชิ้นส่วนเป็นยางผิดปกติ จะทำให้ลูกสูบและส่วนที่สไลด์ทำงานไม่ปกติ มีอาการกระชาก เป็นต้น คลิปที่ยึดผ้าเบรกด้วยแรงที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการเอียงหรือสั่นเล็กน้อยได้

ส่วนเสียงเสียดสีหรือเหมือนกับการขูดของโลหะ หรือการเสียดสีของวัตถุสองชิ้น อาจเกิดความร้อนและเกิดเสียงดัง มาจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่

Advertisement

1.เสียงดังขณะเบรก ผ้าเบรกอาจมีส่วนผสมของโลหะมากเกินไป ควรเปลี่ยนใช้ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมโลหะต่ำ

2.เสียงดังความถี่สูง เช่น อี๊ดๆ ขณะเบรก ผ้าเบรกอาจสึกหรอมาก (ความหนาน้อยกว่า 4 มม.) ควรเปลี่ยนผ้าเบรกทันที

3.เสียงความถี่สูงสลับกับเสียงความถี่ต่ำ จานเบรกอาจเสียดสีกับคาลิปเปอร์ ควรตรวจดูการยึดการติดตั้งของคาลิปเปอร์ ความแน่นของสลัก การปรับให้ทาจาระบี และปรับแบริ่งล้อใหม่ให้เหมาะสม

4.เสียงดังความถี่สูง เสียงเสียดสีความถี่สูง แบริ่งล้มหลวม สลักยึดคาลิปเปอร์ยาวเกินไป ควรปรับเปลี่ยนสลักยึดให้ยาวพอดีและเหมาะสม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image