คิดเห็นแชร์ : สหรัฐอาจพ้น Technical Recession ‘แต่’ตลาดการเงินโลกอาจจะยิ่งปั่นป่วน

บทความ “คิด เห็น แชร์” ฉบับนี้ ผมจะยังคงเน้นเรื่องความปั่นป่วนที่ยังเกิดขึ้นในตลาดการเงินโลก จากการคาดการณ์ถึงแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฟดต้องการที่จะกดอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากฝั่งอุปทานและต้นทุนพลังงานให้ได้ ด้วยกลไกการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่เป็นฝั่งของอุปสงค์กลับยังเติบโตแข็งแกร่ง จนทำให้เกิดความกังวลว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดที่ผ่านมาเพื่อกดอัตราเงินเฟ้ออาจไม่เป็นผล และอาจทำให้เฟดตัดสินใจใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวมากยิ่งขึ้นไปอีก และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดการเงินทั่วโลก ทั้งตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ตลาดปริวรรตเงินตรา รวมไปถึงสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ

ล่าสุด การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มทยอยเห็นการฟื้นตัวที่ดีกว่าคาด อาทิ ตลาดแรงงาน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภคในประเทศ เป็นต้น ขณะที่แบบจำลอง GDP Tracker ของเฟดพยากรณ์ว่า GDP ของสหรัฐใน 3Q65 จะเพิ่มขึ้น +2.9% QoQ annualized ซึ่งหากเป็นจริง จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐหลุดพ้นจากภาวะที่เรียกว่า “Technical Recession” หรือสถานการณ์ที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจลดลง 2 ไตรมาสติดต่อกันหรือมากกว่าทันที และอาจทำให้ความกังวลเรื่องโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession ในอนาคตลดลงเช่นกัน หากเป็นสถานการณ์ปกติแล้วการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเช่นนี้ ควรที่จะเป็นบวกต่อตลาดการเงิน แต่สถานการณ์นี้อาจกลับเป็นปัจจัยลบต่อตลาดการเงินทั่วโลกได้เช่นกัน

สถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบันเกิดขึ้นจากทั้งฝั่งอุปสงค์ (การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังวิกฤตโควิด-19 เริ่มผ่อนคลาย) ฝั่งอุปทาน (ปัญหาห่วงโซ่อุปทานในหลายๆ อุตสาหกรรม และรวมไปถึงต้นทุนการขนส่งสินค้า) และผลที่เกิดขึ้นจากราคาพลังงานที่ปรับขึ้นแทบทุกประเภท ความพยายามใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวของเฟด (อาทิ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย) เพื่อที่จะกดอัตราเงินเฟ้อลง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจดังที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ที่เรียกว่า The Great Inflation (ช่วงปี ค.ศ.1970-1980) ซึ่งโดยปกติแล้วการใช้มาตรการเช่นนี้ จะไปลดการขยายตัวฝั่งของอุปสงค์ และจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทยอยปรับลดลงตามกลไกของ อุปสงค์-อุปทาน แต่หากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐยังขยายตัวดีกว่าคาด และมีแนวโน้มที่ GDP ใน 3Q65 จะพลิกเป็นบวกในระดับที่ค่อนข้างสูงด้วยแล้ว อาจทำให้เฟดตัดสินใจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นไปอีก กล่าวคือ เฟดอาจตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าคาด และจะกระทบต่อเนื่องไปยัง Valuation ของสินทรัพย์ต่างๆ ในตลาดการเงิน

ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คาดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดสูงสุดจะอยู่ในกรอบ 4.5-4.75% และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะสิ้นสุดไม่เกินเดือนมกราคม 2566 แต่หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังทยอยรายงานออกมาดีกว่าที่คาด อาจส่งผลให้กรอบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด สูงกว่าที่คาดการณ์ได้

Advertisement

เช่นกัน ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงต่อ Valuation ของตลาดหุ้น กล่าวคือ อัตราส่วน PE ของตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่จะถูกกดดันให้ปรับลดลง มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และหากเราสมมุติฐานให้ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนคงที่ ดัชนีตลาดหุ้นจึงมีความเสี่ยงที่จะปรับลดลง นอกจากนี้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะส่งผลกระทบไปยังตลาดการเงินอื่นๆ ด้วย อาทิ ตลาดปริวรรตเงินตราทั่วโลก กล่าวคือ มีโอกาสที่ค่าเงินสกุลต่างๆ (รวมถึงค่าเงินบาท) จะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดี (เกินคาด) ของสหรัฐ จึงอาจกลับกลายเป็นปัจจัยลบที่จะกดดันตลาดการเงินทั่วโลกให้ปั่นป่วนได้ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีนี้ ถือเป็นตลกร้ายของวงการการเงิน กล่าวคือ หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยิ่งออกมาดีเท่าไหร่ ตลาดการเงินทั่วโลกอาจจะยิ่งปั่นป่วนเท่านั้น

กลับมาที่การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ผมประเมินว่าตลาดหุ้นไทย อาจจะกลายเป็น Safe Haven ของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์หลากหลายสถาบัน (รวมถึง บล.เคจีไอฯ) ต่างคาดการณ์ว่า GDP ประเทศไทยปี 2566 จะมีอัตราการเติบโตในระดับที่สูงกว่าปี 2565 เนื่องจากการที่เศรษฐกิจของไทยอิงกับภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก เป็นหลัก ซึ่งน่าจะเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่จะมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อเนื่องได้ในปี 2566 ดังนั้น ความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ ผมประเมินว่าจะเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นไทย สำหรับการลงทุนระยะกลาง (3-6 เดือน) เพราะคาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะมีโอกาส Outperform เหนือตลาดหุ้นประเทศ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image