กรมส่งเสริมการค้าฯพลิกตำรารับมือส่งออกไทยชะลอตัว ชูกลุ่มอาหาร-บริการ

น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯได้ ปรับแผนกลยุทธ์รายสินค้าและบริการรับมือการส่งออกชะลอตัว มุ่งเน้นขยายโอกาสสินค้าและบริการไทยสู่ตลาดโลก ชูธงยุทธศาสตร์ Local to Global  โดยเน้นในกลุ่มสินค้า ดังนี้ 1. สินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร เป็นสินค้าที่สร้างรายได้และความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจพื้นฐานของไทย กรมจะเร่งผลักดันในตลาดหลักและตลาดใหม่ อาทิ  ประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในสหรัฐฯ ผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย นำผู้ประกอบการเข้าร่วมงานสำคัญของโลก เช่น Sial ที่จัดช่วงวันที่  21-25 ตุลาคมนี้ ที่ฝรั่งเศส เร่งเจาะตลาด organic โดยนำผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ มาร่วมพัฒนาสินค้ากับเอสเอ็มอี ไทยก่อนคัดเลือกไปแสดงในงาน Natural Product Expo West ที่สหรัฐฯในเดือนกันยายน ส่วนในประเทศ จะใช้งานแสดงสินค้าอาหาร( Thaifex )ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียเร่งขยายตลาด นอกจากนี้จะผลักดันโครงการ SME Proactiveให้ผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมกิจกรรมทั้งงานแสดงสินค้า รวมถึงกิจกรรมด้านสตาร์ตอัพทั่วโลก ทั้งนี้ จากการประเมินร่วมกับภาคเอกชน ในปี 2561 ไทยจะมียอดส่งออกอาหารรวม 19,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังคงขยายตัว 8%

น.ส.บรรจงจิตต์ กล่าวต่อว่า 2. สินค้าไลฟ์สไตล์ มุ้งเน้นการสร้าง Brand  พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง local to global  ใช้ผลิตผลจากท้องถิ่นสร้างสินค้ามูลค่าสูง ทั้งนี้ สินค้าไลฟ์สไตล์ คิดเป็น 5% ของ มูลค่าส่งออ11,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2561 คาดว่าปีหน้ายังเติบโตได้ดีจาก อานิสสงค์จากเทรดวอร์  โดยคาดว่าสินค้าไทยจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นในสหรัฐฯ ทดแทนสินค้าจีน กิจกรรมที่สำคัญคืองานแสดงสินค้า STYLE ที่จัดจบไปมี ผลการเจรจาธุรกิจ 2,488 ล้านบาท หรือ 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ          

น.ส.บรรจงจิตต์ กล่าวว่า 3.สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศยังคงขยายตัวได้ดีจากการประชุมร่วมกับภาคเอกชนคาดว่าปีนี้กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าจะขยายตัว 5%  มูลค่ารวม 24,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดหลักได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เวียดนาม จีน และอินเดีย โดยมีตลาดเป้าหมายในการขยายการส่งออก ได้แก่ อาเซียน เอเชียใต้ รัสเซียและ CIS และตะวันออกกลาง ที่มีการก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้น กรมมีกำหนดจัดงาน Bangkok RHVAC 2019 & Bangkok E&E 2019 ระหว่างวันที่ 25 – 29 กันยายน 2562 เพื่อแสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย ภายในแนวคิด One Stop Solution ซึ่งเป็นการแสดงความเข้มแข็งตลอดห่วงโซการผลิตรวมไว้ ณ จุดๆเดียว

4.สินค้ายานยนต์และชิ้นส่วน กระทรวงมีนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์มุ่งสู่ S Curve ตลาดที่น่าสนใจในปีหน้า ได้แก่ อาเซียน เอเชียใต้ แอฟริกา ลาตินอเมริกา ส่วนตลาดหลักในอเมริกาอาจจะได้รับผลกระทบจาก NAFTA 2.0 ซึ่งจะเพิ่ม local content จาก 62% เป็น 75% ทั้งนี้ และออสเตรเลียซึ่งน่าจะผลกระทบทางบวกต่อการส่งออกไทย หลังจากที่ออสเตรเลีย ปิด 3 โรงงานประกอบรถยนต์ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ กรมฯจะมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างการค้าสู่ภาคบริการตามนโยบาย 4.0 จากตัวเลขขององค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2560 ไทยส่งออกบริการมูลค่า 75,354 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 19 ของโลก และอันดับที่ 6 ของเอเชีย ธุรกิจบริการที่ไทยมีศักยภาพ อาทิเช่น

Advertisement

น.ส.บรรจงจิตต์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังเน้น ธุรกิจร้านอาหารไทย ปัจจุบันมีร้าน Thai Select ทั่วโลก จำนวน 1,351 ร้าน เป็นแบบ  Premium 265 ร้าน แบบ Thai Select 1,086 ร้าน กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้ง อเมริกา ยุโรป เอเชีย ทั้งนี้ ร้านอาหารไทย เป็นช่องทางการผลักดันสินค้าอาหาร เครื่องตกแต่งร้านอาหาร วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวไทย ธุรกิจบริการ ก่อสร้าง/ตกแต่ง รวมถึง เครื่องประดับตกแต่งในอาคาร โรงแรม ห้างสรรพสินค้า  โดยเฉพาะธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจ Eventตลอดจนธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (ธุรกิจแลนด์สเคปหรือจัดสวน) กรมเร่งนำผู้ประกอบการเจาะโครงการขนาดใหญ่ เช่น World Expo 2020 (ดูไบ) และOlympic 2020 (โตเกียว) นอกจากนี้กรมใช้กลยุทธ์ในการเจาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาเซียน เอเชียใต้ และแอฟริกา

รวมถึงธุรกิจบริการ Digital Content ตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ไทยต่อปีมีมูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท หรือ 727 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 2.6 หมื่นล้านบาท หรือ 788 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2561 อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยปัจจัยการเติบโตมาจากการขยายตัวของสื่อดิจิทัลและด้านการผลิตของภาค อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ตลาดสำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอาเซียน โดยกรมร่วมมือกับกระทรวงวัฒนธรรมต่อยอดการตลาด และเข้าร่วมงานแสดงสินค้า 15 งาน เช่น งาน AFM ในสหรัฐ Canes Film และงาน Documentary ใน ฝรั่งเศส และการ Matching ใน ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น อาเซียน เป็นต้น

น.ส.บรรจงจิตต์ กล่าวว่า  ธุรกิจบริการ เสริมความงาม และการแพทย์(Wellness)  รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องและสมุนไพร  มีรายได้จากต่างชาติ ไม่ต่ำกว่า 136,500 ล้านบาท (4,136  ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าสปามีมูลค่าตลาด ประมาณ 1,300 ล้านบาท หรือ 40 ล้านเหรียญสหร้ฐฯ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Wellness ของเอเชีย กรมมีแนวทางส่งเสริมในรูปแบบบูรณาการ เช่น ส่งเสริมธุรกิจสปาพร้อมสมุนไพร ครีมนวด เครื่องประดับตกแต่งสปา   ส่งเสริมธุรกิจมวยไทย พร้อมน้ำมันมวย สมุนไพร อาหารเสริม อุปกรณ์เครื่องใช้   กรมทำงานใกล้ชิดกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตร ในด้านการตลาด ปีหน้าจะมุ่งเน้นตลาดที่มีโอกาส ได้แก่ จีน CLMV ตะวันออกกลาง แอฟริกา

Advertisement

 “ ได้สั่งการทูตพาณิชย์ทั่วโลกจับตาผลกระทบ/โอกาส จากสงครามการค้าโดยเฉพาะในจีน และสหรัฐฯ โดยให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เร่งพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ติดตามผลกระทบเป็นรายสินค้า/รายบริษัท นอกจากนี้กรมจะร่วมหารือกับภาคเอกชนเพื่อประเมินสถานการณ์ส่งออกไตรมาส 4 และปี 2562 เพื่อจะได้หามาตรการรองรับเป็นรายกลุ่มสินค้าหากได้รับผลกระทบต่อไป “ น.ส.บรรจงจิตต์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image