“อุตตม” เล็งชงบอร์ดของบตั้งกองทุนอีอีซีเพิ่มอีก 900ล.

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า ได้ติดตามความก้าวหน้าแต่ละโครงการสำคัญ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ กพอ. ที่จะประชุมวันที่ 23 มกราคม 2562 โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อนุมัติโครงการเพื่อเดินหน้าต่อไป โดยจะขอวงเงินเพิ่มเติมการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อีก 900 ล้านบาท หลังจากได้วงเงินประเดิมไปแล้ว 100 ล้านบาท เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่หรือชุมชน ช่วยเหลือหรือเยียวยา ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบทบจากการพัฒนาอีอีซี ขณะเดียวกัน ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการเขตนวัตกรรมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซีไอ ว่า อยู่ระหว่างปรับปรุงแผนแม่บทอีอีซีไอ เน้นการเกษตรแปรรูป เพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตรเชื่อมโยงไปสู่การวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาเป็นกลไกพัฒนา

นายอุตตมกล่าวว่า ทั้งนี้ ในส่วนของระยะเวลาการดำเนินโครงการ 20 ปี เงินลงทุนภาครัฐ 33,170 ล้านบาท คาดว่า เกิดการลงทุนภาคเอกชน 110,000 ล้านบาท เกิดผลหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยรวม 271,000 ล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนของสถาบันวิทยสิริเมธี ของบมจ.ปตท. ล่าสุดได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกียวโต ทำห้องปฏิบัติการด้านวัสดุสมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในพื้นที่ รวมทั้งการลงทุนของบริษัทอื่นๆ เช่น บริษัท? ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. , บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีซี , บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส หรือบีไอจี

นายอุตตมกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้เสนอให้ตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.โตโยต้า บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา รองรับอุตการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง คาดว่า เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท 2.โตโยต้า เกตเวย์ จ.ฉะเชิงเทรา รองรับการลงทุนยานยนต์อนาคต คาดว่า เงินลงทุน 20,000 ล้านบาท 3.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของบริษัท ดับบลิวเอแชเอ เวนเตจอร์ โฮลดิ้งส์ ถนนบางนา-ตราด จ.ฉะเชิงเทรา รองรับลงทุนหุ่นยนต์ ดิจิตัล และโลจิสติกส์ คาดว่า เงินลงทุน 13,480 ล้านบาท 4.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชลบุรี หรือีอีซีเอ็มดี เป็นแหล่งนวัตกรรมด้านการแพทย์ คาดว่าเงินลงทุน 8,000 ล้านบาท

นายอุตตมกล่าวว่า นอกจากนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองรองรับการพัฒนาอีอีซีไอ ทั้งเรื่องการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค คาดจะดำเนินการก่อสร้างภายในเดือน มกราคม 2562 รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิางแวดล้อมปรับปรุงระบบโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว และปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดและรองรับการพัฒนาเมืองต่อไป

Advertisement

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า เบื้องต้นได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ให้กองทุนเบิกจ่ายได้ 3 ด้าน คือ 1.เพื่อการพัฒนาพื้นที่หรือชุมชน รวมทั้งช่วยเหลือประชาชนที่อาจจะได้รับผลกรดทบจากอีอีซี 2.สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา และให้ทุนการศึกษาแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อีอีซี และ3.ค่าใช้จ่ายอท่นที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการพัฒนา อีอีซี ตามที่ กพอ. กำหนด

เกาะกระแสเศรษฐกิจ กับ Line@มติชนเศรษฐกิจใกล้ตัว

Advertisement

เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image