เอไอเอสดัน 5G เต็มที่ จับมือ ‘จุฬาฯ-เกษตรศาสตร์’ เตรียมพร้อมบุคลากร หนุนบิซิเนสเคส

เอไอเอสดัน 5G เต็มที่ จับมือ ‘จุฬาฯ-เกษตรศาสตร์’ เตรียมพร้อมบุคลากร หนุนบิซิเนสเคส

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 3 เมษายน นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา “5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ห้องประชุมอาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ด้วยคุณลักษณะเด่นของ 5G ทั้งในเรื่องของความเร็ว การตอบสนองที่เร็วเพิ่มขึ้น ทำให้บริการเกี่ยวกับวิดีโอสตีมมิ่ง วีอาร์ เออาร์ ทำใด้ดีมาก สามารถพัฒนาไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ เกิดขึ้นได้จริง

นายวีรวัฒน์กล่าวว่า ผู้ประกอบการแต่ละรายที่จะให้บริการได้ต้องมีความถี่ 3 ย่าน คือ Low Band, Mid Band และ High Band ต้องมีให้ครบเพื่อให้บริการ ขณะนี้ผู้ประการส่วนใหญ่มีคลื่นความถี่ให้บริการ 50-60 เมกะเฮิรตซ์ การไปถึง 4G ต้องมีถึง 100 เมกะเฮิรตซ์ แต่ราคาสูงมาก แม้เอไอเอสมีมากสุดแล้วแค่ 60 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ต้องมีการลงทุนสถานีฐานเพิ่ม ลงทุนอุปกรณ์เพิ่ม ท่อร้อยสายเพิ่มขึ้น แม้จะลงทุนมาก แต่ถูกว่าย่านความถี่ ผลเสียคือทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้บริการในคลื่นความถี่ที่สูงได้

“อยากให้การก้าวไปสู่ 5G ต้องไม่ซ้ำรอย 4G เพราะผู้ให้บริการต้องใช้เงินลงทุนที่สูง เช่น การไปเช่าท่อร้อยสาย ในกรณีที่ต้องนำสายไฟฟ้าลงดิน ทำให้ผู้ให้บริการต้องไปเช่าแพงกว่าการพาดสายไปตามเสาไฟฟ้าถึง 50 เท่า แม้ กสทช.หักค่าใช้จ่ายได้ แต่ยังน้อยกว่าต้นทุนจ่ายไป” นายวีรวัฒน์กล่าว

Advertisement

นายวีรวัฒน์กล่าวว่า จุดสำคัญของ 5G คือมาตรฐาน คาดว่าจะออกสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า กว่าจะออกมาเป็นอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีมาใช้อีกครึ่งปีเป็นอย่างน้อย ทำให้เต็มที่อีก 1-2 ปี โดยมีการเปรียบเทียบราคาความถี่ 4G และ 5G ซึ่งเป็นข้อมูลจากหัวเว่ย พบว่าของไทยมีราคาแบนด์วิธ ต่อเมกะเฮิรตซ์ 5G คิดเป็น 5.5% ของ 4G เกาหลี 47% ของ 4G สเปน 30% ซึ่งเทียบแล้ว 4G ไทยแพงสุด ถ้าเอามาเฉลี่ย ควรตก 5% ของ 4G เพื่อไม่ให้แพงกว่านี้

นายวีรวัฒน์กล่าวว่า ทั้งนี้ เอไอเอสนับสนุนเรื่อง 5G เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์กับสถานศึกษา นักศึกษา นักคิด นักประดิษฐ์ รวมแล้วได้ถึง 1,000 รายในเอไอเอพี มีการทดลองการใช้ สมาร์ทมิเตอร์ สมาร์ทไลฟ์ รวมถึงรถยนต์ไร้คนขับ และนอกเหนือจากการเตรียมพร้อมเทคโนโลยี มีต้องเตรียมพร้อมบิซิเนสเคสต่างๆ นำไปทดลองในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงเตรียมพร้อมบุคลากร โดยมีการลงนามกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ศรีราชา และนำ 5G ไปทดลองใช้ในด้านต่างๆ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image