สรุปผลดำเนินงานด้านเกษตร รัฐบาล “บิ๊กตู่”

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำข้อมูลสรุปการดำเนินงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน

1.การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

1.1 ข้าว เนื่องจากการโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ทำให้เกษตรกรเร่งรอบการผลิตข้าว ไม่คำนึงคุณภาพ ทำให้มีข้าวในสต๊อกปริมาณมาก ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกตกต่ำ เกษตรกรขาดทุน รัฐบาลจึงตั้งคณะทำงานวางแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรขึ้นมา เพื่อกำหนดปริมาณการผลิตข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพ โดยกำกับดูแลการปลูกข้าวไม่ให้ผลผลิตล้นตลาด ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีผลผลิตสูง พันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสำหรับผู้รักสุขภาพ เช่น พันธุ์ กข43 และพันธุ์ข้าวนุ่ม พันธุ์ กข79 ที่ตลาดต้องการ รวมทั้งแนะนำให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับดินและน้ำ โดยใช้ Agri Map Application อีกทั้งจัดการระบายข้าวที่ค้างในสต๊อกให้หมดลง ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกขยับสูงขึ้น เช่น ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิเพิ่มขึ้น จากปี 2557 ราคาตันละ 12,781 บาท ในปี 2557 เป็นตันละ 16,000 บาท ในปี 2562

สำหรับในปีการผลิต 2562/63 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังคงกำหนดปริมาณการผลิตในระดับเดียวกับปีที่
แล้ว โดยกำหนดเป้าหมายพื้นที่ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าว ทั้งปี จำนวน 72.80 ล้านไร่ ผลผลิต 34.63 ล้านตันข้าวเปลือก ทั้งนี้ยังสามารถปรับลดการผลิตข้าวในรอบที่ 2 ไปปลูกพืชอื่น โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้อีก หากสถานการณ์ราคาข้าวอ่อนตัวลง

Advertisement

1.2 ข้าวโพด เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวได้เพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจโครงการรับจำนำข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวตกต่ำ การปรับปริมาณข้าวให้เหมาะสมกับความต้องการ จึงเป็นแนวทางสำคัญตามแผนข้าวครบวงจร ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกที่ปรับเปลี่ยนอาชีพ รัฐบาลจึงมีโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูการทำนา เพื่อปรับสมดุลปริมาณพื้นที่ปลูกข้าว และสร้างรายได้ทดแทน โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต ซึ่งจะสามารถทดแทนการนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศ ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยประสานผู้รับซื้อกำหนดแผนการผลิตและตลาด มีหลักประกันด้านราคารับซื้อ และประกันภัยพิบัติ ส่งผลให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ 82,316 ราย ในพื้นที่ปลูก 724,932 ไร่ มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 2,000 – 3,000 บาท/ไร่ (ราคารับซื้อ 8 บาท/กิโลกรัม ตามราคาประกันของโครงการ) และผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้รับข้าวโพดคุณภาพดีในการแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ต่อไป ทำให้เกษตรกรจะมีความมั่นคงด้านรายได้ นอกจากนั้น การปลูก
ข้าวโพดอาหารสัตว์หลังการปลูกข้าวนาปี ประหยัดน้ำได้ถึง 700 ล้าน ลบม. ต่อรอบการผลิต (4 เดือน) เนื่องจากข้าวโพดอาหารสัตว์ใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าวซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง

ทั้งนี้เป็นโครงการแรกของประเทศที่ไม่ใช้งบประมาณของรัฐเพื่อการแทรกแซงราคา และไม่สร้างภาระงบประมาณภาครัฐ

Advertisement

1.3 ยางพารา ประเทศไทยมีกำลังการผลิตยางพาราเฉลี่ย 4.5 ล้านตันต่อปี แต่ภายในประเทศใช้เพียง 5 แสนต้นต่อปี ที่เหลือ 4 ล้านตัน ส่งออกต่างประเทศ ส่งผลให้ราคายางตกต่ำตามกลไกตลาดโลก รัฐบาลจึงได้ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง อาทิ การส่งเสริมการแปรรูปและเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศ เช่น ถุงมือยาง รองเท้าเครื่องนอน สายพานลำเลียง แผ่นรองรางรถไฟ ท่อยาง อุปกรณ์จราจร บล็อกตัวหนอนสำหรับปูพื้นสนามกีฬา สนามเด็กเล่น และทางเท้า เป็นต้น เพื่อที่จะไม่พึ่งพาการส่งออกเพียงอย่างเดียว พร้อมจัดให้มีมาตรการลดหย่อนภาษีผลิตภัณฑ์จากยางพารา และมาตรการจูงใจให้บริษัทสัญชาติไทยและบริษัทจากต่างประเทศลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ในพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นอกจากนั้น กระทรวงเกษตรฯ ยังได้ดำเนินมาตรการระยะกลางและระยะยาวเพื่อกระตุ้นราคายางโดยเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางภายในประเทศ ที่สำคัญคือ โครงการสร้างถนนผสมยางพารา
1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ความยาวถนนดินลูกรังที่อยู่ในแผนปรับเป็นถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราไร้ฝุ่น ระยะทางยาง 300,000 กิโลเมตร ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะทยอยจัดทำถนนผสมยางแทนถนนลูกรังปีละ 50,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ ถนน 1 กิโลเมตร ใช้ยางพารา 1.3 ตัน จึงคาดว่า ปริมาณการใช้ในโครงการสร้างถนนจะไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านตัน นอกจากนี้ อปท. ยังนำยางพาราไปสร้างสนามกีฬา

ทั้งนี้ยังได้ดำเนินมาตรการปรับลดพื้นที่ปลูกยางพาราที่มีอายุมากให้ผลผลิตน้อยไม่คุ้มค่า โดยมีเป้าหมายลดพื้นที่ปีละ 500,000 ไร่ เพื่อให้ปริมาณการผลิตยางพาราของประเทศมีไม่เกิด 4 ล้านตัน เพื่อรักษาสมดุลอุปสงค์ อุปทาน และราคามีเสถียรภาพ ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวทั้งด้านการเพิ่มความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศ และการปรับลดปริมาณพื้นที่ปลูกทำให้ราคายางพาราปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2561 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.91 บาท เป็นราคา 55.89 บาทต่อ กก. (ณ 4 มิ.ย. 62)

 

1.4 ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ราคาผลปาล์มตกต่ำ และสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ โดยให้กระทรวงพลังงานรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ 160,000 ตัน ในราคา 18 บาท/กก. ต้องรับซื้อจากเกษตรกรในราคา 3.24 บาท/กก.(เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18%) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B 20 สนับสนุนการตั้งศูนย์แบ่งปัน B 100 ทั้งนี้เพื่อลดสต๊อกนน้ำมันปาล์มในระบบ ควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่
1,500 บาท/ไร่ รวม 250,000 ครัวเรือน ซึ่งผลจากมาตรการทำให้สต็อกน้ำมันปาล์มดิบลดลงอยู่ที่ 0.29 ล้านตัน (ใกล้เคียง safety stock มี 0.25 ล้านตัน) ทำให้ราคาผลปาล์มสูงขึ้นเกือบ 3 บาท/กก.

1.5 ไข่ไก่ เนื่องจากปริมาณแม่ไก่ไข่ในประเทศเพิ่มจำนวนมากขึ้นเกินความต้องการบริโภคไข่ไก่ ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำลง เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ประสบปัญหาขาดทุน โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ดังนั้นเพื่อปรับสมดุลอุปสงค์ อุปทานไข่ไก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ได้ปรับสมดุลปริมาณไข่ไก่ให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด โดยประสานความร่วมภาคเอกชนผู้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ปรับลดกำลังการผลิตโดยนำผลผลิตไข่ไก่ส่วนเกินออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เพื่อให้ความต้องการขายไข่ไก่สอดคล้องตลาด ปรับลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง ทั้งอุตสาหกรรม ให้อยู่ที่ประมาณ 50 ล้านตัว ซึ่งจะมีการผลิตไข่ไก่ที่ประมาณ 80% หรือประมาณ 40 ล้านฟอง/วัน
และปรับแผนการนำเข้าปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (GP) และพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ปี 2562 เพื่อรักษาสมดุลราคาไข่ไก่ในปัจจุบันจึงทำให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้นโดยปัจจุบันราคาไข่ไก่อยู่ที่ประมาณ 3 บาท/ฟอง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

2.การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร

ตั้งแต่ปี 2542 มีสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้ 468,558 ราย วงเงินเป็นหนี้ 58,823 ล้านบาท แต่ตลอดระยะนับ 19 ปี กองทุนฯ สามารถจัดการหนี้ได้เพียง 29,000 กว่าราย มูลหนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ โดยคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ เข้าไปทำหน้าที่เจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างเกษตรกรลูกหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ สามารถปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่เกษตรกรที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์โดยซื้อหนี้มาเป็นของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 1,518 ราย วงเงินเป็นหนี้รวม 642 ล้านบาท และเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้ร้องขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจรจากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เจรจาสำเร็จและนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 ให้กับลูกหนี้ที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 จำนวน 36,605 ราย คิดเป็นยอดหนี้เงินต้น 6,382 ล้านบาท และดอกเบี้ย 3,829 ล้านบาท โดยเงินต้นครึ่งหนึ่งให้เกษตรกรผ่อนจ่ายตามกรอบเวลาไม่เกิน 15 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยที่อัตรา MRR-3 และเมื่อเกษตรกรผ่อนจนหมดแล้ว ธกส.จะพิจารณายกดอกเบี้ยที่พักไว้ให้ ส่วนเงินต้นที่เหลืออยู่อีกครึ่งก็ให้เกษตรกรมาปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ดัง
นั้นเมื่อพิจารณาผลงานแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเป็นหนี้สินตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนฯ ตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2543 มานั้น จึงถือได้ว่าเป็นรัฐบาลแรกที่ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ได้อย่างเป็นระบบโดยไม่เสียวินัยการเงินการคลังของประเทศ

นอกจากนั้น ยังปรับแก้ไขสาระสำคัญของร่างกฎหมายกองทุนฟื้นฟู ฯ คือ กำหนดให้การชำระหนี้แทนเกษตรกร ทั้งทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันและบุคคลค้ำประกันได้กำหนดวิธีการในการชำระหนี้แทนเกษตรกรกรณีบุคคลค้ำประกันให้ชัดเจนโดยให้กองทุนชำระหนี้แทนได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อให้สามารถขยายขอบเขตการชำระหนี้ให้ครอบคลุมเกษตรกรที่มีปัญหามากยิ่งขึ้น

3.การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในแล้ง

เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของการเกษตร อีกทั้งเมื่อเกิดภัยพิบัติฝนแล้ง น้ำท่วมจะเกิดปัญหาและความเสียหายต่อผลผลิต และรายได้ของเกษตรกร ดังนั้นเพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำ สามารถเก็บกักน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมและเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในฤดูแล้ง กระทรวงเกษตร ฯ จึงได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากร
น้ำของประเทศ โดยในห้วง 5 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ และสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 2.7 ล้านไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 4.49 ล้านไร่ และครัวเรือนรับประโยชน์ 1,371,547 ครัวเรือน ซึี่งเพิ่มขึ้นถึง 3.6 เท่าเมื่อเทียบกับก่อนที่รัฐบาลนี้จะเข้ามาบริหาร

นอกจากนั้นรัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อการป้องกันน้ำท่วมและฝนแล้ง โดยจัดให้มีศูนย์
ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ เพื่อเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการได้ทันท่วงที ส่งผลให้ความเสียหายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กรณีฝนตกหนักบริเวณลุ่มน้ำเพชรบุรี และกรณีพายุโซนร้อนปาบึกบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ โดยเฝ้าระวังเตรียมการพร่องน้ำและขยายพื้นที่ระบายน้ำท่วมขังจากฝนตกหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรเทาความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สินของประชาชน

4.นมโรงเรียน

เนื่องจากที่ผ่านมา การบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) ในโรงเรียน มีความไม่เป็นธรรมเกิดข้อร้องเรียนของผู้เกี่ยวข้อง อีกทั้งเกิดปัญหานมล้น นมบูด เด็กนักเรียนไม่ได้ดื่มนมครบตามจำนวนวัน รัฐบาลจึงได้ให้ กระทรวงเกษตรฯ ทบทวนกลไกในการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนทั้งระบบ โดยเน้นการกระจายอำนาจการจัดสรรโควตาลงกลุ่มพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเกิดความเป็นธรรมในการบริหารจัดการนมโรงเรียน บูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และลดปัญหาการมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยยึดหลัก เด็กนักเรียนได้ดื่มนมครบ นมมีคุณภาพ ตรงเวลา ซึ่งผลการจัดส่งนมให้โรงเรียนในปีการศึกษา 2562 สามารถส่งนมได้ครบทุกจังหวัดแล้ว 49,734 โรงเรียน ครอบคลุมจำนวนนักเรียน 7,418,889 คน คิดเป็นน้ำนมดิบ 1,078.09 (ตัน/วัน)

5.โรคพิษสุนัขบ้า

จากปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า และมีประชาชนเสียชีวิต เนื่องจากปัญหาปริมาณวัคซีนไม่เพียงพอ
และไม่มีคุณภาพ ดังนั้นเพื่อสร้างความมั่นใจในชีวิตของประชาชนและควบคุม กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศ กระทรวงเกษตรฯ ได้ประสานความร่วมมือกับ มท., อปท., สธ. ปรับระบบให้ อปท. จัดซื้อวัคซีนจากผู้แทนจำหน่ายที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยให้เจ้าหน้าที่ของ อปท มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้มีปริมาณวัคซีนเพียงพอ รวมทั้งกรมปศุสัตว์มีโครงการติดตามประเมินภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าและคุณภาพวัคซีนอย่างใกล้ชิด ทำให้สุนัขที่ได้รับการฉีดวัคซีนมีภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่สามารถคุ้มโรคได้ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล นอกจากนั้นยังได้จัดให้มีศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดเพิ่มมากขึ้น เพื่อดูแลสุนัขไร้เจ้าของได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการดูแลสุขภาพปลอดโรค ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตและอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงได้

6.การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU)

จากปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง มีการทำประมงที่มากเกินกำลังของธรรมชาติ มีการลักลอบใช้เครื่องมือที่ผิดกฏหมาย ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตสัตว์น้ำลดลงและเกิดปัญหารายได้ของชาวประมงในอนาคต ดังนั้นในช่วงปี58–62 รัฐบาลได้เร่งแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและบังคับใช้อย่างเข้มงวด จัดระบบบริหารจัดการเรือประมงและทรัพยากรออกใบอนุญาต ควบคุมจำนวนเรือให้ถูกกฎหมาย ส่งผลให้สหภาพยุโรปปลดใบเหลืองของประเทศไทย และภาพลักษณ์ของการประมงไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาครัฐปี 2558 – 2559 โดยมีเรือประมงจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถออกทำการประมงได้ตามกฏหมายใหม่ รัฐบาลจึงกำหนดเงื่อนไขในการช่วยเหลือชาวประมง โดยต้องเป็นเจ้าของเรือ และไม่ใช้เรือไปกระทำผิดกฏหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.การประมง พ.ร.บ.เจ้าท่า พ.ร.บ.ป้องและปรามปรามการค้ามนุษย์ จำนวน 570 ลำ โดยในปีงบประมาณ 2562 รัฐได้จ่ายค่าเยียวยาไปแล้ว 252 ลำ ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการเบิกจ่ายต่อเนื่องจากปี 2562 และ 2563 ทั้งนี้ จากมาตรการต่างๆ ได้ส่งผลให้ทรัพยากรประมงในประเทศเพิ่มขึ้นในปี 2561 ประมาณ 199,400 ตัน (ปี 2561 จำนวน 1.4944 ล้านตัน และปี 2560 จำนวน 1.295 ล้านตัน)

7.การแก้ไขปัญหาสารเคมีเกษตร และการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์

จากปัญหาการควบคุมการห้ามใช้สารเคมีอันตราย ซึ่งในระหว่างที่จะห้ามการใช้พาราควอต คณะกรรมวัตถุ
อันตราย ได้มีแนวทางได้เสนอแนะให้กรมวิชาการเกษตรมีมาตรการควบคุมกำกับดูแลให้มีการใช้สารอย่างถูกต้องปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายทั้งกับเกษตรกร ประชาชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมาตรการที่เข้มงวดเหล่านี้ กระทรวงเกษตรฯ โดย กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการออกกฎหมาย (ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 5 ฉบับ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (หลังวันที่ 20 ตุลาคม 2562) ผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย เกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่นสารเคมี ผู้ขาย ผู้นำเข้า หรือผู้ผลิต และพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องปฏิบัติตามมาตรการขึ้นทะเบียน ผ่านการอบรม และขออณุญาตใช้หรือครอบครอง และมีใบอนุญาตให้บริการพ่นสารเคมี รวมทั้งผลักดันการศึกษาวิจัยหาสารหรือวิธีการทดแทนการใช้ 3 สาร จัดทำระบบฐานข้อมูลผู้นำเข้า ผลิต จำหน่ายและเกษตรกรผู้ใช้ ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และฝึกอบรมเกษตรกรผู้ใช้ 3 สาร เป้าหมาย 1.563 ล้านคน อบรมผู้รับจ้างพ่นและผู้พ่นที่เป็นลูกจ้าง 50,000 คน

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งเสริมการผลิตสินค้า GAP และอินทรีย์ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตอาหาร
ปลอดภัย (Food Safety) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพโดยมีสินค้าพืชผักและผลไม้ที่ผ่านการรับรอง GAP รวม 154,011 แปลง คิดเป็นพื้นที่ 754,811 ไร่ ทั้งนี้ มีการส่งออกกว่า 331,656 ตัน มูลค่าการส่งออก 10,474 ล้านบาท และมีเกษตรกรที่ผ่านการรับรองเกษตรอินทรีย์ จำนวน 652,570 ไร่ ซึ่งการบริการตรวจและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรนั้น ได้ปรับระบบการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้บริการโดยการสร้าง Q อาสา ร่วมกับมหาวิทยาลัยด้านการเกษตร 8 แห่ง พัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมผู้ตรวจประเมิน ร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจรับรองและการออ

8.การจัดสรรที่ดินทำกิน (คทช สปก)

จากปัญหาการรุกพื้นที่ป่าไม้และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ และปัญหาความเหลื่อมล้ำด้าน
ทรัพยากรที่ดิน เกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มีการครอบครองที่ดินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รัฐบาลจึงมีนโยบายในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการดำเนินของ กระทรวงเกษตรฯ ภายใต้ คทช. มีการรับมอบพื้นที่เพื่อดำเนินการการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตั้งแต่ปี 2558 – 2562 โดยได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพแล้ว 126 พื้นที่ ใน 58 จังหวัด และได้มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งน้ำแล้ว 20 พื้นที่ ใน 7 จังหวัด เป็นพื้นที่ทั้งหมด 14,126 ไร่ เพื่อให้เกษตรกร 1,484 ราย สามารถทำอาชีพได้อย่างมั่นคง

สามารถยึดคืนที่ดิน ส.ป.ก.ที่ครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 36/2559 แล้ว 443,889 ไร่ ดำเนินการจัดที่ดินแล้วรวม 301,802 ไร่ (ตามข้อ 9(1) จัดให้ชุม ชนตามนโยบายรัฐบาล คทช. 33,443 ไร่ และข้อ 9(2) จัดให้ผู้ถือครองเดิมหรือกระจายสิทธิ ตามกฎหมาย ส.ป.ก. 268,359 ไร่) ส.ป.ก.ใช้หลักการบูรณาการในการพัฒนาพื้นที่โดยจัดทำ MOU ระหว่าง 9 หน่วยงาน ได้แก่ ส.ป.ก. กรมชลประทาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ทำให้ เกษตรกร/ผู้ยากไร้และไม่มีที่ดินทำกินได้รับสิทธิการทำประโยชน์ในที่ดินทำกิน ได้รับการ พัฒนาอาชีพและโครงสร้างพื้นฐาน โดย ส.ป.ก.ได้เข้าปรับพื้นที่ 10,945 ไร่ ก่อสร้างถนนสาย หลัก/สายซอยกว่า 120 กิโลเมตร และร่วมกับกรมชลประทานในการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ คทช.แล้ว 13 แห่ง สร้างบ่อบาดาลแล้ว 31 บ่อ ร่วมกับ พอช. สร้างบ้านพักให้กับเกษตรกรแล้ว 859 หลัง สร้างอาคารที่ทำการสหกรณ์ โดย กรมส่ง
เสริมสหกรณ์แล้ว 6 แห่ง ทั้งนี้ ได้นำนโยบายของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาใช้เป็นหลักในการพัฒนาพื้นที่ โดยยึดตลาดนำการผลิต ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวสามารถรายได้ให้กับเกษตรกรโดยเฉลี่ยปีละ 93,130 บาท/ครัว เรือน ซึ่งสูงกว่ารายได้ทางการเกษตรสุทธิของทั้งประเทศ นับว่าเป็นการสร้างความมั่นคงและ คุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้

สำหรับการจัดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีผลการจัดที่ดินทำกินรวม 36.08 ล้าน ไร่ แบ่งเป็นที่
เกษตรกรรม 35.21 ล้านไร่ ที่ชุมชน 0.38 ล้านไร่ และที่เอกชน 0.49 ล้านไร่ โดย จัดให้เกษตรกรแล้ว 2.87 ล้านราย

9.บทบาทสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร

จากการที่ระบบการการผลิตและการค้ามีการแข่งขันสูง เกษตรกรรายย่อยจึงต้องรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อ
รอง โดยรวมตัวเป็นสหกรณ์ ผลิตและทำการตลาดครบวงจร จนสามารถขยายขนาดของธุรกิจที่สามารถแข่งขันได้ในตลาด กระทรวงเกษตรฯ จึงพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรและสมาชิก โดยพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์ใน 4 ด้าน ได้แก่ เพิ่มศักยภาพในการให้บริการสมาชิก เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเงิน การยกระดับการควบคุมภายใน และส่งเสริมการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล โดยปัจจุบัน มีจำนวนสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งในระดับสหกรณ์ชั้น 1 และ 2 คิดเป็นร้อยละ 78 ของสหกรณ์ทั้งหมด

ส่งผลให้ในปัจจุบันสหกรณ์ภาคการเกษตรกว่า 1,573 แห่ง มีศักยภาพในการรวบรวมและรับซื้อผลผลิต
การเกษตรที่สำคัญของเกษตรกรสมาชิก เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น โดยมีปริมาณการรวบรวมมากกว่า 5.53 ล้านตัน/ปี มีสหกรณ์ 718 แห่ง สามารถจัดการด้านคุณภาพและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ปริมาณรวมกว่า 1.103 ล้านตัน/ปี มีสหกรณ์กว่า 55 แห่ง มีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรส่งออกไปยังต่างประเทศกว่า 28 ประเทศ ผลผลิตจำหน่ายรวม 45,869.05 ตัน มูลค่า 1,888.52 ล้านบาท

ผลลัพธ์จากการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาสหกรณ์ในระยะเวลา 5 ปี ส่งผลให้ปัจจุบันมีสมาชิกสหกรณ์รวมทั้งสิ้น 11.57 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 จำนวน 0.10 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 0.87) สหกรณ์มีทุนดำเนินงานรวม 3.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 จำนวน 0.69 ล้านล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 28.28) และมีปริมาณธุรกิจรวม 2.52 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2558 จำนวน 0.29 ล้านล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 13.21)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image