กยท.ชี้ถนนยางทนทานขึ้นอยู่ 3 ปัจจัย ไม่ได้ใช้สูตร’มจพ.’เพราะไม่ได้เป็นกก.กลาง

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)ชี้แจงกรณีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.)กล่าวหาว่า กยท.พิจารณาสูตรผสมยางพาราและซีเมนต์ไม่ถูกต้องว่า ถนนจะมีความแข็งแรงหรือทนทานตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดหรือไม่ขึ้นกับ3 ปัจจัย

1.วัสดุที่ใช้ได้มาตรฐานหรือไม่เช่น น้ำยางผสมสารผสมเพิ่ม(preblend) หรือตัวสารผสมเพิ่ม(สูตรแบบมจพ.)

2. สัดส่วนการผสม ได้แก่ jobmix ซึ่งกำหนดตามชนิดของดินในพื้นที่ที่จะดำเนินการ

3.วิธีการทำถนนได้ตามมาตรฐานหรือไม่เช่นการใช้รถเกรดต้องใช้คนที่มีความชำนาญเพียงพอในการผสมหน้างาน รวมทั้งสภาพขณะที่ทำต้องไม่มีฝนตกด้วย

Advertisement

ในการรับรองนี้ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องใช้น้ำยางพรีเบลนด์(preblend) เพียงอย่างเดียว สามารถใช้แบบที่ ผสมหน้างาน ตามแบบของ มจพ.ก็ได้แต่สารผสมเพิ่มนั้นก็มาผ่านรับรองมาตรฐาน ซึ่ง มจพ.ไม่ได้มาขอยื่นการรับรอง(พยายามติดต่อไปแล้ว)

ในการดำเนินการถ้า มจพ.ยืนยันว่าถนนมี่ทำจากสูตร มจพ.แข็งแรงตามที่ว่าก็สามารถดำเนินการได้แต่ก็ต้องสามารถพิสูจน์หรือยืนยัน ได้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
จะใช้สูตรไหนหรือวิธีการใดถ้าผ่านตามเกณฑ์กำหนดที่ในคู่มือก็สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด

การที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการก็ไม่ใช่ประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพราะ การกำหนดมาตรฐานคู่มือมาจากกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นหน่วยงานกลางอยู่แล้ว คณะกรรมการพิจารณาจึงมาจากหน่วยราชการเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งในขณะนั้นมจพ.เองได้มีการจำหน่ายสารผสมเพิ่มในทางการค้าจึงไม่ได้เข้ามาอยู่ในคณะกรรมการ

Advertisement

อย่างไรก็ตามคู่มือก็ไม่ได้ปิดกั้นวิธีการทำแบบของ มจพ.แต่อย่างไร เพียงแต่ให้ผลที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดเท่านั้นเอง

วันเดียวกัน สำนักงานชลประทานที่ 15 15 โดยโครงการชลประทานกระบี่ สชป.15 ได้ชี้แจงนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานว่า ได้รายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องถนนพาราซอยซีเมนต์ที่ดำเนินการในจังหวัดหวัดกระบี่ บริเวณถนนคันคลองชลประทานฝายคลองน้ำแดง ต.พรุเตียว อ.เขาพนม จ.กระบี่ ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายทหาร และได้ดำเนินการแก้ไขความชำรุดไปแล้วเมื่อช่วงหลังเกิดเรื่องร้องเรียน สำหรับรายละเอียด เรื่องนี้ ทาง สชป.15 จะรีบสรุปและทำหนังสือแจ้ง อีกครั้ง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image