คิดเห็นแชร์ : Energy for All

วันนี้ “คิด เห็น แชร์” ขอนำเสนอแนวทางการดูแลด้านพลังงานของไทย ที่ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ถูกเชิญไปบรรยายในหัวข้อ Advancing Inclusive Access to Secure, Affordable and Sustainable Energy Service การเข้าถึงบริการด้านพลังงานที่มั่นคง ราคาเข้าถึงได้ และยั่งยืน ในระหว่างการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 8 (Asian Ministerial Energy Roundtable : AMER 8th) ที่กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เมื่อวันที่ 10 กันยายน      ที่ผ่านมา ไว้ว่า

การเข้าถึงพลังงานที่มั่นคง ราคาเข้าถึงได้ และยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับภูมิภาค เพราะปัจจุบันทั่วโลกกำลังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นของกระแสระดับโลกที่ไม่อาจหยุดยั้งต่อสิ่งที่เราเรียกว่า “ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน” โดยการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขีดของโลกที่ขับเคลื่อนโดยเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่โลกที่เต็มไปด้วยพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน และพลังงานที่ไม่ได้มาจากแหล่งฟอสซิล และการเปลี่ยนผ่านนี้ถูกระบุไว้ในข้อตกลงปารีสในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement on Climate Change) เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.2015

โดยปัจจุบัน สัดส่วนพลังงานของภูมิภาคเอเชียถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อกังวลต่อสภาพแวดล้อมในฐานะประเทศที่ถูกผูกมัดให้เปลี่ยนประเทศให้มีอนาคตพลังงานที่ยั่งยืน เชื่อถือได้ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียนนั้น มีการคาดการณ์ว่าจะใช้พลังงานมากขึ้นกว่าปัจจุบันร้อยละ 54 ในปี ค.ศ.2035 โดยส่วนใหญ่จะมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและจะเพิ่มการพึ่งพาไปที่การนำเข้าพลังงานมากขึ้น

สำหรับประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่โลกพลังงานสะอาด โลกของพลังงานหมุนเวียน เป็นยุคที่ผู้บริโภคกลายเป็นศูนย์กลาง สามารถควบคุมการใช้ไฟฟ้า การผลิต การขาย และทางเลือกแหล่งพลังงานของตนเองได้ ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ (Prosumer)

Advertisement

ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงในตลาดพลังงาน เช่น ความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาน้ำมันโลก ต่อเนื่องกับราคาน้ำมันในประเทศ มาตรการแทรกแซง สงครามการค้า โดยเฉพาะการปฏิวัติของเชลออยล์ ส่งผลต่อตลาดก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดการเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซอย่างมาก ซึ่งการรับมือความท้าทายเหล่านี้ จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณานโยบายและกลยุทธ์ที่นำมาใช้ได้จริงในการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนพลังงานสะอาด การพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านพลังงาน

ในด้านการรับมือนวัตกรรมพลังงานในอนาคตนั้น ผู้กำหนดนโยบายต้องพัฒนาความเข้าใจในโอกาสและความท้าทายต่างๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีที่สร้างความพลักผัน (Disruptive Technology) ในภาคพลังงาน  ให้ดียิ่งขึ้น รัฐบาลควรพัฒนาวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนที่จัดการกับความท้าทายเชิงนโยบายพลังงานหลายประการและติดตามความก้าวหน้าเพื่อบรรจุเป้าหมายระดับชาติ

สำหรับประเทศไทยมองเรื่องความมั่นคง ความยั่งยืน และการเข้าถึงพลังงานขึ้นอยู่กับการบูรณาการเชื้อเพลิงที่สะอาดขึ้น และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน การกระจายการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบพลังงานอัจฉริยะและระบบดิจิทัล

Advertisement

ปัจจุบันไทยกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ Thailand 4.0 ผ่าน BCG Model(Bio-Circular-Green Economy) ที่มีเชื้อเพลิงสะอาดและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนเป็นกระแสหลัก ไทยได้วางยุทธศาสตร์ “พลังงานเพื่อทุกคน” (Energy for All) ซึ่งจะสนับสนุนการเพิ่มรายได้ให้ประชาชน พร้อมกับยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เราต้องปรับปรุงโครงข่ายพลังงานชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวมวล และเชื้อเพลิงชีวภาพผ่านโรงไฟฟ้าชุมชน พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานผ่านการใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีความซับซ้อน ผมต้องขอบคุณบทบาทที่แข็งขันของ International Energy Forum หรือ IEF ซึ่งทำให้การประชุม AMER ยังคงทำหน้าที่เป็นหนึ่งในเวทีระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดสำหรับบรรดารัฐมนตรีที่จะนำเสนอและเน้นย้ำโอกาสอันดีสำหรับทุกคนที่จะหารือในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับภาคพลังงานในปัจจุบันและมีอิทธิพลต่อแนวโน้มการเติบโตทั่วโลก

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image