‘กรุงศรี’ คาดจีดีพีปี’63 โตแค่ 2.5% ห่วงเชื่อมั่นวูบทำลงทุนดิ่ง กำลังซื้ออ่อนแอ แนะอัดมาตรการกระตุ้นเพิ่ม(ชมคลิป)

นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ธนาคารคาดการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี2563 จะขยายตัว 2.5% โดยปรับลดลงจากที่คาดไว้ก่อนหน้าที่ 3.5% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมาอย่างต่อเนื่องจากผลกระทบสงครมการค้าที่ทำให้มูลค่าการส่งออกติดลบและส่งผลต่อการลงทุนการจ้างงานคาดว่าจีดีพีปี 2562 จะขยายตัวแค่ 2.4% มูลค่าส่งออกติดลบ 2.5% โดยประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้นและเริ่มเห็นประเทศต่างๆ มีการอัดเงินเข้ามาในระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความต้องการสินค้าและผลดีจากการย้ายฐานการผลิตจากสงครามการค้า คาดส่งออกขยายตัว 1.5% แต่ต้องติดตามเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหากความเชื่อมั่นลดลงเรื่อยจะยิ่งทำให้นักลงทุนและผู้ประกอบการชะลอการลงทุนกระทบต่อจ้างงานลดการบริโภคลดลงทำให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอลงได้ซึ่งคาดการณ์การลงทุนเอกชนขยายตัว 3.3% ขณะที่การลงทุนรัฐยังต้องติดตามว่าอิกจะมาเร็วเพียงใดคาดขยายตัว 3.0% ส่วนการบริโภคขยายตัว 3.5% การอุปโภคภาครัฐขยายตัวที่ 2.4% ทั้งนี้แนวโน้มการท่องเที่ยวคาดว่าจะปรับดีขึ้นคาดจำนวนนักท่องเที่ยว 41.6 ล้านคน

ภาพเศรษฐกิจไทยยังสลัวๆยอมรับว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลงแต่โชคดีที่เรารู้ตัวว่าเราเดินลงไปเรื่อยๆ ทำให้ยังมีเวลาปรับตัวไม่เหมือนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ไม่รู้มาก่อนว่าจะเกิดขึ้นเป็นการเดินตกท่อไม่รู้ตัวปรับตัวไม่ได้ขณะนี้เศรษฐกิจไทยแค่ชะลอตัวไม่ได้ถดถอยแต่ความเสี่ยงที่จะถดถอยมีมากขึ้น ซึ่งจากการประเมินความเสี่ยงเกิดการถดถอยในช่วงไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 27% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 18% ซึ่งหากถึง 40% จะเป็นระดับที่เศรษฐกิจถดถอยเพื่อดูแลเศรษฐกิจนโยบายการเงินและนโยบายการคลังยังมีช่องว่างที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และเชื่อว่าภาครัฐตะมีมาตรการกระตุ้นออกมาเนื่องจากหนี้สาธารณะอยู่ที่ 42% ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% แต่ไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อนายสมประวิณกล่าว

นายสมประวิณกล่าวว่า สำหรับมาตรการการกระตุ้นด้วยนโยบายการคลังจะเห็นผลเร็วแต่ต้องใช้ในในจังหวะเวลาที่เหมาะสมตรงกลุ่มเป้าหมาย และปริมาณเงินเพียงพอให้เม็ดเงินเกิดการหมุนลงไปในระบบเศรษฐกิจมองว่าอาจจะกระตุ้นกลุ่มคนที่ยังมีกำลังซื้อ เช่น ชนชั้นกลาง ลูกจ้างประจำ ผ่านนโยบายที่สนับสนุนการใช้จ่ายหรือนโยบายด้านภาษี เช่น คืนภาษีหรือลดภาษี ณ ที่จ่ายด้านดอกเบี้ยนโยบายการเงินคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะลดดอกเบี้ยลงไปอยู่ที่ 1.00% ในช่วงต้นปี 2563 เพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจและจะมีการทำนโยบายการเงินแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ให้สิทธิบางกลุ่มได้รับดอกเบี้ยถูกและเข้าถึงทางการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้านค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการลดดอกเบี้ยนโยบายจากแรงกดดันการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงคาดเกินดุลที่ 3.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินบาทสิ้นปีอยู่ที่ 30.00 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image