‘หอการค้า’ คาดเอกชนยอมจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้น 5-6 บ. ช่วยประคองอัตราการจ้างงาน

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 20 ได้ประชุมครั้งที่ 6/2562 พิจารณาและมีมติการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2562 ในอัตรา 5-6 บาท สูงสุด 336 บาท โดยจะสรุปผลเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ทันประกาศมีผลบังคับใช่ในวันที่ 1 มกราคม 2563

นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 330 บาทต่อวัน ว่า ขณะนี้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ราว 1.0% แต่ละปีเพิ่มขึ้นราว 2-5% การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่ 6-15% เป็นกรอบที่ดำเนินการได้สอดคล้องกับเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต้องพิจารณาความเห็นของไตรภาคี และโดยเฉพาะธุรกิจเอกชน เป็นสำคัญ เพราะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเอกชน ที่รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) มีกำรไลดลง หากปรับขึ้นในช่วง 6-9 บาท เชื่อว่าทำให้เอกชนยอมจ่ายมากขึ้นและจะประคองการจ้างงานน่าจะเป็นผลดี มากกว่าที่จะปรับมากกว่า 10 บาท เพราะถือว่าสูงเกินไปในจังหวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งเอกชนไม่พร้อมจ่าย ทั้งนี้ หากค่าแรงขึ้นต่ำปรับขึ้นมาถึง 340-345 บาทต่อวัน ค่าจ้างรายเดือนจะขึ้นมาถึง 11,000 ต่อเดือน อาจจะกระทบให้ฐานเงินเดือนมนุษย์เงินเดือนขึ้นด้วย อาจจะกระทบให้เกิดการชะลอการจ้างงานและมีการนำระบบอัติโนมัติเข้ามาทดแทนแรงงานเร็วขึ้น

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image