“จุรินทร์” เปิดงานมหกรรมยางพาราบึงกาฬ ลั่นดันราคายางเพิ่ม หนุนส่งออก (ชมคลิป)

บึงกาฬจัดใหญ่ ! จุรินทร์เปิดมหกรรมยางพารา ประกาศดึงราคาขึ้น เพิ่มส่งออก พร้อมจับมือนายกฯประยุทธ์ดันการใช้ยางในหน่วยราชการ

เมื่อเวลา 18:00 น. วันที่ 15 ธ.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2563 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬ โดยมีนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายสุทัศน์ เงินหมื่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านบุนเส็ง ปะทำมะวง รองเจ้าแขวงบอลิคำไซ ท่านเลี่ยว จุ้น หยุน กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น ท่านคมคาย พระวรชัย รองกงสุลใหญ่ สปป.ลาว ณ จังหวัดขอนแก่น นายก อบจ. บึงกาฬ ผู้แทนภาครัฐ เอกชน รวมทั้ง นายกิจ หลีกภัย และคณะ

โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2563 ซึ่งจัดขึ้นได้ทุกปี ซซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ ทั้งในแง่การผลิต การค้า และการพัฒนาในด้านนวัตกรรมยางพาราสูงมาก ถือเป็นผู้นำของภาคอีสาน หรือเมืองหลวงยางพาราภาคอีสานก็ว่าได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ราคายางพารามีความผันผวน แต่ชาวจังหวัดบึงกาฬก็ยังเดินหน้าจัดงานใหญ่เป็นปีที่ 8 เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาต่อยอด โดยเฉพาะด้านองค์ความรู้ที่จะพัฒนา ด้านนวัตกรรมการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนการผลักดันของจังหวัดบึงกาฬในการระบายการใช้น้ำยางพารา ทั้งในการนำไปผลิตหมอน และที่นอนยางพารา นำไปสร้างถนนหนทาง ที่มีแนวคิดนำยางพารามาเป็นส่วนผสม หรือถนนยางพาราแอสฟัลติก (para asphaltic) เป็นการระบายการใช้น้ำยางพาราโดยสนับสนุนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนใช้ยางพารา เป็นแนวทางสำคัญ ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากที่สุด นับเป็นแนวทาง  การแก้ไขปัญหาของยางพาราอย่างยั่งยืน รวมทั้งยังมี การร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศ เช่น จีน ในการลงนามข้อตกลงซื้อยางพารา เป็นต้น จึงนับเป็นการแก้ปัญหาเรื่องราคายางพารา

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ยางเป็นหนึ่งในพืชที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายไว้ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด และยางพารา โดยมีการจ่ายส่วนต่างไปแล้ว 1 พย และ 1 มค งวดสุดท้าย มีนาคม แล้วจะวนไปทุกปี ซึ่งแถลงนโยบายไว้กับรัฐสภา นับจากเวลานี้เกษตรกรจะไม่มีรายได้ทางเดียว แต่จะมีรายได้จากการขายสินค้าเกษตร แต่จะมีรายได้อีกก้อนที่ สอง คือเงินชดเชยส่วนต่าง
ยางแผ่นดิบ กก ละ 60 น้ำยางสด (DRC 100%) ราคา กก.ละ 57 บาท และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา กก.ละ 23 บาท โดยวิธีคิดส่วนต่าง ราคาตลาด ลบ เช่น ประกัน 23 ราคา ตลาด 20 จะมีเงินส่วนต่าง 3 บาท รัฐบาลก็จะชดเชย 3 บาท โดยจะโอนเงินเข้าบัญชี ธกส. ทันที อันนี้คือนโยบายของรัฐบาล

Advertisement

นอกจากนี้ยังมีมาตรการคู่ขนาน ที่รัฐบาลดูแลหลักๆ คือ

1. พยายามดูแลเรื่องการปลูกยางไม่ให้มาก ไม่ให้ล้นตลาด โดยกยท. จะแนะนำให้โค่นต้นยาง 1 แถว ให้ปลูกพืชชนิดอื่นแทน 1 แถว เพื่อให้นำพืชอื่นแซม เพื่อให้เกษตรได้รายได้จากสินค้าเกษตรชนิดอื่นด้วย ได้ด้วยในช่วงเวลาที่ราคายางตกต่ำ
2. ดึงราคายางในประเทศให้มีเสถียร เสถียรภาพโดยเพิ่มการใช้ยาง 2 ส่วน 1 เพิ่มการใช้ยางให้มากขึ้น เช่นชุมนุมสหกรณ์สวนยางบึงกาฬ ไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า เช่น การทำหมอนยาง การทำหมอนสำหรับเด็กในอนาคต ซึ่งเป็นความต้องการของตลาดจีน โดยดึง ต่างประเทศมาลงทุนแปรรูป ส่วนภาครัฐ ส่งเสริม เช่น คมนาคม กลาโหม อบจ. นำยางไปทำถนน สนามฟุตซอล ที่กั้นผิวจราจร ทำเสาหลักกิโลเมตร โดยปี2563 จะเพิ่มการใช้ยางราชการแสนกว่าตันใช้ในส่วนราชการ ทำให้ดูดซับได้มากขึ้น
3. เร่งรัดการส่งออกยางพารา วันนี้ที่เชิญ จีนมาซื้อยางในงานนี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ขอบคุณท่านพินิจ ขอบคุณลูกค้าจีนที่มาซื้อยางของไทย เช่น ตุรกี 20 ล้านใบ มูลค่า หมื่นสองพันล้าน บาทที่ผ่านมาขายยางอินเดีย ภาษีอินเดียแพงมาก 20% ปรากฎ ซื้อยางถึงหนึ่งแสนตัน ที่สำคัญของอินเดียคือไม้ยางที่อินเดียมีอยาคต เซรษฐกิจดี จะสร้างที่อยู่อาศัยให้คนจน ที่ผ่านมาใช้ไม่สัก แต่ไม้ยางจะไปชดเชยไม้สักได้ ซึ้งไม้ยางถือว่ามีอนาคต กลางเดือนมกราคม ผมจะไปอินดดียอีกที่ตุรกิเร่งเจรจา fta อยู่เพื่อช่วยการส่งออกซึ่งเป็นประตูไปสู่ยุโรป เพื่อนำรายได้ทั้งหมดเข้าประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงานมหกรรมยางพาราจังหวัดบึงกาฬ เป็นมหกรรมใหญ่ประจำปีซึ่งมีการจัดแสดง การแข่งขัน การพบปะระหว่างเอกชนและผู้ผลิตภายในงานและยกระดับงานให้ยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปีโดยมีการให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณภาพของยางพาราและเน้นให้เกิดการแปรรูปด้วย โดยก่อนหน้านี้นายจุรินทร์ได้ไปเยี่ยมชมสหกรณ์ชาวสวนยางพาราจังหวัดบึงกาฬซึ่งมีโรงงานทำหมอนยางพาราโดยมีกำลังการผลิตเดือนละกว่า 20,000-30,000 ใบ และสามารถขยายกำลังการผลิตขึ้นได้อีกหากมีออเดอร์

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image