“กรุงศรีฯ” ปรับลดจีดีพีปีนี้โตแค่ 1.5% ผลจากภัยแล้ง งบประมาณล่าช้าและโควิด-19

นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทางฝ่ายวิจัยได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2563 ใหม่จากเดิมที่เคยคาดการณ์อยู่ที่ 2.5% มาอยู่ที่ 1.5% เนื่องมาจากปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ประกอบด้วย การพิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 เลื่อนออกไปยาวนานกว่าที่คาด การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 และการทวีความรุนแรงของปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงกว่าเดิม

นายสมประวิณกล่าวต่อว่าทั้งนี้ความล่าช้าของการผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 รัฐบาลคาดว่างบประมาณปี 2563 น่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ภายในสิ้นเดือนมีนาคม ความล่าช้าเกือบสองไตรมาสในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563(สิ้นสุดเดือนกันยายน) โดยเฉพาะงบลงทุน วิจัยกรุงศรีจึงปรับลดมูลค่าการลงทุนของโครงการลงทุนโครงสร้างพื ้นฐานลง 1.51 แสนล้านบาท คิดเป็น 0.9% ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ความล่าช้าของการผ่านร่างงบประมาณไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการเลื่อนการลงทุนของภาครัฐเท่านั้น แต่ยังมีผลเชิงลบต่อการลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ซึ่งอาจซ้ำเติมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซาอยู่แล้ว

นายสมประวิณกล่าวว่า ส่วนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 มีผลกระทบของต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง โดยคาดว่าจะทำให้การเติบโตของ จีดีพี ไทย ต่ำกว่าประมาณการเดิม 0.4% โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต การท่องเที่ยวซบเซา และผลกระทบต่อรายได้ จากการศึกษาพบว่า ผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวจะแตะระดับสูงสุดในไตรมาส 1 ปี 2563ในขณะที่ผลกระทบต่อการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตจะสูงสุดในไตรมาส 2 ปี 2563 โดยคาดว่าการส่งออกจะลดลง 0.8% จากประมาณการเดิมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง 30.8% และ 13.1% ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2563 ตามลำดับ โดยภาพรวมคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัว 4-5% ในปี 2563 ขณะที่ปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกว่าคาดจะส่งผลกระทบต่อจีดีพี ในปี 2563 ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 0.3% ปัญหาภัยแล้งมีแนวโน้มลากยาวถึงเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมแล้ว ยังกระทบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจผ่านความเชื่อมโยงกัน อาทิ เช่น ธุรกิจปุ๋ยทางการเกษตร ธุรกิจโรงสีข้าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image