ประธานสภาองค์การลูกจ้างอัดช่องโหว่กระทรวงแรงงานช่วยเหลือลูกจ้าง ม.33

ประธานสภาองค์การลูกจ้างอัดช่องโหว่กระทรวงแรงช่วยเหลือลูกจ้าง ม.33

นายชินโชติ แสงสังข์ เป็นประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประกันตนตาม ม.33 ดังนี้

เท่าที่ดูสื่อโซเชี่ยลและเสียงวิพากษ์วิจารย์ ถึงกฏกระทรวงแรงงานที่ออกมาให้โควิด-19 เป็นเหตุสุดวิสัยและให้ผู้ประกันตนตาม ม.33 รับเงินจากกองทุนประกันว่างงาน จาก สปส.ได้ 62 % สังคมส่วนหนึ่งน่าจะเป็นส่วนใหญ่เสียด้วยที่ไม่เข้าใจ ก็แอบชื่นชมกระทรวงแรงงานและ สปส.ว่าออกมาช่วยลูกจ้าง แต่แท้ที่จริงแล้ว นี่คือการกระทืบซ้ำผู้ประกันตนครับ

ผมชื่อชินโชติ แสงสังข์ เป็นประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย หากมีการเสียหายต่อองค์กรหรือบุคคลใด ผมรับผิดชอบทุกคำพูดในไลน์นี้

สมมตินายชินโชติ เงินเดือน 15,000 บาท ถ้าเป็นเหตุสุดวิสัยรับค่าจ้างจากนายจ้าง 75 % = 11,250 บาท ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน แต่ถ้าโควิด-19 เป็นเหตุสุดวิสัย แล้วผลักให้ไปรับกับกองทุนประกันว่างงานของ สปส.62 % = 15,000 x 62 % = 9,300 บาท

Advertisement

ลูกจ้าง ม.33 จะเสียประโยชน์ไป 1,950 บ. แถมกองทุนว่างงานก็จะสึกหรอ นายจ้างก็ไม่ต้องจ่าย 75 % บางคนหัวใสบอกรับจากนายจ้าง 75 % แล้วมารับกับ สปส.อีก 62 % เข้าใจผิดครับ สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับ 62 % ตามกฏกระทรวงฉบับนี้ ต้องไม่ได้รับ 75 % จากนายจ้างเท่านั้น

ในมุมที่จะเกิดขึ้นจริง นายจ้างจะปฏิเสธการจ่าย 75 % แล้วผลักให้ลูกจ้างมารับ 62 % เสียส่วนใหญ่ และจะมีลูกจ้างส่วนใหญ่อีกเหมือนกัน ที่ขี้เกียจรำคาร กับการฟ้องร้องกับนายจ้างเรื่อง 75 % ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน เพราะมันต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งตนเองและครอบครัวก็เริ่มจะไม่มีกิน ก็จะขอใบรับรองการหยุดงานจากผลกระทบโควิด-19 จากนายจ้าง แล้วแห่กันมารับสิทธิ 62 % จากกองทุนว่างงาน สปส.

สปส.และกระทรวงแรงงานมีมาตรการรองรับในการตรวจสอบคุณสมบัติมากน้อยแค่ไหน ถึงช่องว่างช่องโหว่มากมาย แล้วถ้าผู้ประกันตนแห่กันมาใช้บริการสัก 5 ล้านคน ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ 5 ล้าน x 9,300 = 46,500 ลบ. กองทุนว่างงานขณะนี้มีอยู่ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท เมื่อถึงฤดูฟ้าถล่มเลิกจ้างเป็นเบือในช่วงกลาง,ปลาย.และหลังโควิด-19 ลูกจ้างอีกกี่ล้านคนที่ต้องมาเคลมกองทุนว่างงานซึ่งเป็นเงินก้อนสุดท้ายของชีวิตเค้าที่สะสมกันมา ท่านทั้งหลายรองหลับตานึกซิว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตของลูกจ้างเหล่านี้ครับ

Advertisement

ผมเห็นด้วย 100 % ครับที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องถาถมทุกวิถีทาง ที่ต้อง หามาตรการในการช่วยเหลือและพยุงธุรกิจกิจการของผู้ประกอบการให้อยู่ได้ เพราะนายจ้างอยู่ไม่ได้ ลูกจ้างก็อยู่ไม่ได้ครับ และสุดท้ายประเทศชาติเราก็อยู่ไม่ได้ แต่ในแง่ของกองทุนประกันว่างงานของประกันสังคม ทำอย่างนี้ไม่ได้ครับ จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนประกันการว่างานอย่างแน่นอน

สรุป..มันเป็นการมักง่าย ไร้กึ๋น บ้องตื้น ขาดองค์ความรู้ที่แท้จริงในการแก้ปัญหา ไร้สติปัญญา ของคนที่เกี่ยวข้องในการออก กฏกระทรวงฉบับนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image