ดิจิเทรนด์ฟอร์เวิร์ด : ทำงานแบบ‘อไจล์’กับองค์กร ในยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

ดิจิเทรนด์ฟอร์เวิร์ด : ทำงานแบบ‘อไจล์’กับองค์กร ในยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

ดิจิเทรนด์ฟอร์เวิร์ด : ทำงานแบบ‘อไจล์’กับองค์กร ในยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

“อไจล์” (Agile) ถ้าแปลตามพจนานุกรม ก็หมายถึง คล่องแคล่ว ว่องไว กระฉับกระเฉง ซึ่งได้กลายเป็นแนวคิดหนึ่งในการทำงานของบริษัทยุคใหม่ ที่เกิดขึ้นจากการที่มีผู้รู้หลากหลายคน หลายคณะได้นำเสนอระเบียบวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบใหม่ของตนเอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือ ไม่เคร่งในระเบียบวิธีมากเกินไปเมื่อเทียบกับรูปแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมานานหลายสิบปี

โดยให้ความสำคัญกับ 1.คนและการมีปฏิสัมพันธ์กัน มากกว่าการทำตามขั้นตอนและเครื่องมือ 2.โปรดักต์ที่นำไปใช้งานได้จริง มากกว่าเอกสารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ 3.ร่วมมือทำงานกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองให้เป็นไปตามสัญญา และ 4.การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง มากกว่าการทำตามแผนที่วางไว้

โดย “อไจล์” เริ่มมีชื่อเสียงเมื่อเทคสตาร์ตอัพอย่างกูเกิล หรือเฟซบุ๊ก ที่ประสบความสำเร็จ บอกว่าพวกเขาทำงานโดยใช้อไจล์

Advertisement

ซึ่งข้อดีของการทำงานในแนวคิด “อไจล์” คือ การไม่มีกำแพงระหว่างฝ่าย เพราะมีความเป็นทีมเดียวกัน เน้นที่การสื่อสารระหว่างกัน ทำให้ลดความไม่เข้าใจลงไป และสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องส่งเรื่องข้ามฝ่าย รวมถึงการที่ค่อยๆ ส่งมอบงานทีละนิดทำให้มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง

สิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจที่ใช้ “อไจล์” ประสบความสำเร็จนั้นมาจากการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า ตั้งแต่ช่วงต้นและต่อเนื่องตลอดการพัฒนา ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สนองตอบต่อตลาดได้รวดเร็วแล้ว ยังสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอีกด้วย ที่สำคัญทีมพัฒนาเองก็ได้ฟีดแบ๊กเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงโปรดักต์ในเวลาที่รวดเร็วอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การใช้ “อไจล์” ในองค์กรขนาดใหญ่หรือองค์กรภาครัฐนั้นค่อนข้างทำได้ยาก ทั้งยังไม่เหมาะกับผู้บริหารที่ยังยึดติดกับโครงสร้างแบบพีระมิด การนำมาใช้อาจต้องการเวลาในการทำให้ทุกคนยอมรับ และองค์กรที่ไม่ใช่สายเทคสตาร์ตอัพ อาจต้องใช้เวลาในการประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานในสายของตัวเอง

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image