กรมชลคาดมีน้ำใช้แค่สิงหาคมนี้เท่านั้น!!

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทานเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ในปี2554/2555 ในลุ่มเจ้าพระยามีน้ำใช้การได้ปริมาณ 18,000 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ซึ่งเราได้ระบายน้ำออกไป 14,000 ล้านลบ.ม. เนื่องจากในปี 2554 เกิดน้ำท่วมหนักจึงเกิดความตกใจต้องระบายน้ำออกไปมาก เพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำ และสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคอุตสาหกรรม ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวนาปรังในขณะนั้นอยู่ที่ 11 ล้านไร่ ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำมาก โดยในปีการผลิต 2555/2556 ก็ยังมีพื้นที่นาปรัง 11 ล้านไร่ ตามมาด้วยปีการผลิต 2556/2557 ที่มีพื้นที่ทำนาปรัง 9 ล้านไร่ ทั้งนี้การปลูกข้าวนาปรังจำนวนมากนั้นเป็นผลมาจากรัฐบาลในขณะนั้นมีโครงการ รับจำนำข้าวเปลือกในราคาที่สูง จูงใจให้เกษตรกรปลูกข้าวกันมากจึงใช้น้ำมากขึ้นด้วย ส่งผลให้ปี2556/2557มีน้ำใช้การเหลืออยู่ที่ 8,153 ล้านลบ.ม.

“ใน ปี 53 -54 มีฝนตกมาก เรามีน้ำใช้การได้ในเขื่อน 10,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งำด้มีการระบายร้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตร และรักษาระบบนิเวศน์ 8,000 ล้านลบ.ม. พอปี 54 -55 หลังจากเกิดภาวะน้ำท่วมขึ้น ทำให้ต้องระบายน้ำในเขื่อนออก 14,000 ล้านลบ.ม. จาก 18,000 ล้านลบ.ม. เพื่อลดความกังวลของสังคม เมื่อถึงปี 55 – 56 เรากลับมามีน้ำใช้การได้ 10,000 ล้านลบ.ม. ก่อนที่จะมีน้ำต้นุนน้อยลงอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี 56 – 57 ที่มีน้ำเหลือ 8,000 ล้านลบ.ม. และเหลือ 6,000 ล้านลบ.ม. ในปีปัจจุบัน” นายสุเทพกล่าว

สำหรับวันที่ 1พฤศจิกายน 2558 หรือเรียกว่าช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา เรามีน้ำใช้การได้อยู่ที่ 4,247 ล้านลบ.ม. และเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 มีน้ำใช้การได้อยู่ที่ 3,432 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็น เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำใช้การได้ 975 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 7% เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การได้ 1,693 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 18% เขื่อนแควน้อย มีน้ำใช้การได้ 318 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 34% และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีน้ำใช้การได้ 448 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 47% โดยในวันที่ 1พฤษภาคม 2559 ได้คาดว่าปริมาณน้ำใช้การจะอยู่ที่ 1,590 ล้านลบ.ม. สามารถใช้ได้ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2559 เฉพาะเพื่อการอุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศ เพียงพอที่จะป้องกันความเสี่ยงช่วงรอยต่อช่วงหน้าแล้งไปฤดูฝน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image